Probiotic – โพรไบโอติก – โปรไบโอติก | คืออะไร? ช่วยอะไร?

โพรไบโอติก โปรไบโอติก โพรไบโอติค โปรไบโอติค ทั้งหมดนี้สะกดต่างกันแต่ความหมายเป็นอันเดียวกัน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Probiotic

โพรไบโอติก | คืออะไร

ปี 1907 Elie Metchnikoff นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ได้ตั้งข้อสังเกตระหว่างที่กำลังทำงานอยู่ในประเทศบัลแกเรียว่าทำไมประชากรประเทศนี้ถึงมีอายุยืนยาวกว่าที่อื่น เลยทำการศึกษาและพบว่ามีพฤติกรรมบางอย่างที่อาจจะสัมพันธ์กันกับอายุที่ยืนยาวขึ้น (Lifespan) โดยเค้าพบว่าชาวบัลแกเรียมักจะรับประทานโยเกิร์ตเป็นประจำทุกวัน เค้าเลยไปศึกษาในส่วนประกอบของโยเกิร์ตจนพบว่ามีจุลินทรีย์ชนิดนึงที่ชื่อว่า Lactobacillus bulgaricus ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกันกับอายุที่ยืนยาวขึ้นของชาวบัลแกเรีย

Probiotic คือ จุลินทรีย์มีชีวิตที่อาศัยอยู่ในร่างกาย เป็นจุลินทรีย์ที่ดีมีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการทำงานของสมอง (Gut-Brain Axis) ระบบภูมิต้านทาน และระบบย่อยอาหาร

โพรไบโอติก | ประโยชน์

  1. มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานทำงานเป็นปกติ
  2. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบ
  3. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน
  4. มีส่วนช่วยป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูก
  5. มีส่วนช่วยป้องกันและบรรเทาอาการท้องเสีย
  6. มีส่วนช่วยทำให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง
  7. มีส่วนช่วยทำให้การทำงานของอารมณ์และสมองราบลื่น (Dopamine / Serotonin)
  8. มีส่วนช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานเป็นปกติ
  9. มีส่วนช่วยทำให้ลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย
  10. มีส่วนช่วยรักษาสมดุลจุลินทรีย์ ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเสียสมดุล (Dysbiosis)
โพรไบโอติก Probiotic | คืออะไร? ช่วยอะไร?
10 อาหารธรรมชาติที่มีโพรไบโอติก

โพรไบโอติก | อาหารธรรมชาติ

  1. นมเปรี้ยว
  2. โยเกิร์ต
  3. ชีสบางประเภท เช่น เชดด้า, มอสซาเรลล่า และกูวด้า
  4. เทมเป้
  5. แอปเปิ้ลไซเดอร์
  6. ซุปมิโซะ
  7. คีเฟอร์
  8. กิมจิ
  9. คอมบูชา
  10. นัตโตะ
  11. ข้าวหมาก

โพรไบโอติก | อาหารเสริม

ด้วยความรู้วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด รวมถึงเทคโนโลยีการผลิตที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ในปัจจุบันมนุษย์เรามีทางเลือกในการรับประทานโพรไบโอติกมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องรับประทานจากอาหารตามธรรมชาติเท่านั้น โดยมีการศึกษา วิจัย ทดลอง เพาะเลี้ยง และรวบรวม เอาเฉพาะโพรไบโอติกสายพันธุ์ที่ต้องการออกมาบรรจุในรูปแบบของอาหารเสริม ยกตัวอย่างเช่น

  1. Bifidobacterium animalis ssp. lactis HN019
  2. Bifidobacterium longum
  3. Lactobacillus paracasei Lpc-37
  4. Lactobacillus acidophilus La-14
  5. Bifidobacterium infantis
  6. Lactobacillus acidophilus
  7. Lactobacillus casei
  8. Lactobacillus paracasei
  9. Lactobacillus rhamnosus
  10. Lactobacillus rhamnosus GG

Probiotic ยี่ห้อไหนดี | วิธีเลือกซื้อและวิธีกิน

โพรไบโอติก Probiotic | คืออะไร? ช่วยอะไร?
โพรไบโอติค | Probiotic

โพรไบโอติก | กินตอนไหน

จากอาหารตามธรรมชาติ (Natural Foods) | สามารถรับประทานได้ตามวิธีการปรุงอาหารได้เลย ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะรับประทานเป็นมื้ออาหารอยู่แล้ว

จากอาหารเสริม (Supplements) | หลีกเลี่ยงการรับประทานพร้อมกับยารักษาโรค ให้รับประทานก่อนหรือหลังรับประทานยารักษาโรค 2 ชั่วโมง หรือรับประทานก่อนนอน 2 ชั่วโมง

โพรไบโอติก | กินเท่าไหร่

สมาคมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวของสหรัฐอเมริกา (AAFP : American Family Physician) แนะนำว่าเด็กควรได้รับโพรไบโอติก 5-10 พันล้านตัวต่อวัน และผู้ใหญ่ควรได้รับโพรไบโอติก 10-20 พันล้านตัวต่อวัน

แต่สิ่งที่สำคัญและมีผลมากกว่า คือ พรีไบโอติก !!!

จุลินทรีย์ที่ดีถ้ารับประทานเข้าไปแล้วเจอสภาพแวดล้อมในลำไส้ที่ไม่ดี ไม่น่าอยู่ ไม่เอื้ออำนวยต่อการอยู่อาศัยก็ไม่สามารถมีชีวิตต่อได้ เพราะฉะนั้นควรรับประทานผักและผลไม้ให้ได้ 400 กรัมต่อวัน

โพรไบโอติก | ผลข้างเคียง

เนื่องจากในร่างกายมีจุลินทรีย์มากมายหลากหลายชนิด การรับประทานโพรไบโอติกไม่ว่าจากอาหารตามธรรมชาติหรืออาหารเสริมอาจจะส่งผลต่อการแพ้ ปวดท้องเล็กน้อย ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อ เกิดลมในท้องเยอะ

โดยเฉพาะสำหรับคนที่กำลังมีปัญหาสุขภาพ แนะนำให้ควรไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ยกตัวอย่างเช่น

  1. อยู่ในช่วงกำลังรักษาตัวหลังผ่าตัด
  2. อยู่ในภาวะที่ภูมิต้านทานต่ำหรือระบบภูมิต้านทานมีปัญหา
  3. กำลังป่วยหรือกำลังรักษาโรคร้ายแรง

อาหารเสริมโพรไบโอติก

Wellness Hub – Synbiotic

Synbiotic | อาหารเสริมซินไบโอติก (Synbiotic) เกรดการแพทย์มีส่วนประกอบ คือ

  1. Bifidobacterium Lactis = 2.75 Billion CFU
  2. Bifidobacterium Longum = 2.5 Billion CFU
  3. Lactobacillus Plantarum 299 v = 5 Bilion CFU
  4. Lactobacillus Rhamnosus = 2.5 Bilion CFU
  5. Lactobacillus Paracasei = 2 Bilion CFU
  6. Lactobacillus Acidophilus = 2 Billion CFU
  7. Lactobacillus Reuteri = 1.75 Bilion CFU
  8. Lactobacillus Helveticus = 1 Billion CFU
  9. Lactobacillus Casei = 3.5 Bilion CFU
  10. Streptococcus Thermophilus = 2 Bilion CFU
  11. Inulin = 30.50%
  12. Fiber = 30.50%
  13. Galactooligosacharide GOS = 30.50%
Wellness Hub – Good Gut

Good Gut คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG : Partially Hydrolyzed Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ

ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้

  • FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
  • Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
  • GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
  • Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
  • VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
  • HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
  • KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว

Similar Posts