พรีไบโอติก Prebiotic | คือ-ประโยชน์-กินตอนไหน

พรีไบโอติก หรือ Prebiotic | คืออะไร? ประโยชน์คืออะไร? อาหารตามธรรมชาติมีอะไรบ้าง? อาหารเสริมมีอะไรบ้าง? กินตอนไหน? กินวันละเท่าไหร่? ผลข้างเคียงมีอะไรบ้าง?

พรีไบโอติก | คืออะไร

Prebiotic คือ กากใยอาหาร (Dietary Fiber) ชนิดนึง ที่มีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ไม่สามารถย่อยสลายได้
  2. ย่อยสลายได้ด้วยการหมักของจุลินทรีย์ที่ดีในร่างกาย
  3. กระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดีในร่างกาย

พรีไบโอติกทุกชนิดเป็นส่วนนึงของกากใยอาหาร แต่กากใยอาหารทุกชนิดไม่ได้เป็นพรีไบโอติก (Prebiotic is ONLY a subset of Dietary Fiber)

พรีไบโอติก | ประโยชน์

  1. มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานทำงานเป็นปกติ
  2. มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
  3. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  4. มีส่วนช่วยบรรเทาอาการท้องผูก
  5. มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วน
  6. มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
  7. มีส่วนช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุได้ดีขึ้น
10 อันดับ อาหารตามธรรมชาติที่มีพรีไบโอติกสูง

พรีไบโอติก | อาหารธรรมชาติ

อาหารตามธรรมชาติที่มีสัดส่วนพรีไบโอติกสูงเมื่อเทียบตามน้ำหนัก 10 อันดับ โดยอ้างอิงจากนิตยสาร The Journal of Nutrition ปีที่ 129 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนกรกฎาคม ปี 1999 ได้ดังนี้

  1. รากชิคอรี่ | มีสัดส่วนพรีไบโอติก = 64.6%
  2. แก่นตะวัน | มีสัดส่วนพรีไบโอติก = 31.5%
  3. ฟันสิงโต | มีสัดส่วนพรีไบโอติก = 24.3%
  4. กระเทียม | มีสัดส่วนพรีไบโอติก = 17.5%
  5. ต้นหอมญี่ปุ่น | มีสัดส่วนพรีไบโอติก = 11.7%
  6. หัวหอม | มีสัดส่วนพรีไบโอติก = 8.6%
  7. หน่อไม้ฝรั่ง | มีสัดส่วนพรีไบโอติก = 5.0%
  8. รำข้าวสาลี | มีสัดส่วนพรีไบโอติก = 5.0%
  9. แป้งข้าวสาลี | มีสัดส่วนพรีไบโอติก = 4.8%
  10. กล้วย | มีสัดส่วนพรีไบโอติก = 1.0%

พรีไบโอติก | อาหารเสริม

ด้วยความรู้วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด รวมถึงเทคโนโลยีการผลิตที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ในปัจจุบันมนุษย์เรามีทางเลือกในการรับประทานพรีไบโอติกมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องรับประทานจากอาหารตามธรรมชาติเท่านั้น โดยมีการสกัดเอาเฉพาะพรีไบโอติกออกมาบรรจุในรูปแบบของอาหารเสริม รวมทั้งมีการวิจัยและพัฒนาแยกออกมาของพรีไบโอติกแต่ละชนิด ดังนี้

  1. Pectin
  2. Inulin
  3. Beta-Glucan
  4. FOS (Fructooligosaccharides)
  5. XOS (Xylooligosaccharide)
  6. GOS (Galacto-Oligosaccharides)
  7. PHGG (Partially Hydrolyzed Guar Gum)

พรีไบโอติก ยี่ห้อไหนดี | วิธีเลือกซื้อและวิธีกิน

พรีไบโอติก Prebiotic | คือ-ประโยชน์-กินตอนไหน
พริไบโอติก (Prebiotic) | คือ-ประโยชน์-กินตอนไหน

พรีไบโอติก | กินตอนไหน

จากอาหารตามธรรมชาติ (Natural Foods) | สามารถรับประทานได้ตามวิธีการปรุงอาหารได้เลย ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะรับประทานเป็นมื้ออาหารอยู่แล้ว

จากอาหารเสริม (Supplements) | หลีกเลี่ยงการรับประทานพร้อมกับยารักษาโรคเพราะจะทำให้การดูดซึมตัวยาลดลง ให้รับประทานก่อนหรือหลังรับประทานยารักษาโรค 2 ชั่วโมง หรือถ้าไม่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD) หรือภาวะจุลินทรีย์ในลำไส้เล็กเจริญเติบโตมากผิดปกติ (SIBO) ควรรับประทานก่อนนอน 2 ชั่วโมง

พรีไบโอติก | กินเท่าไหร่

องค์การอนามัยโลก (WHO: World Health Organization) มีการประมาณว่าการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งของประชากรโลกกว่า 5.2 ล้านคน เป็นผลมาจากการบริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้กินผักและผลไม้ วันละ 400 กรัมต่อวัน ซึ่งจากผลสำรวจสถานการณ์การกินผักและผลไม้ในประเทศไทย ปี 2562 โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่ามีคนไทยเพียงร้อยละ 37.5 หรือประมาณ 4 ใน 10 คน กินผักผลไม้เพียงพอตามเกณฑ์แนะนำในแต่ละวัน ขณะที่เด็กวัยเรียนเพียง 2-3 คน จาก 10 คนเท่านั้นที่กินผักและผลไม้เพียงพอ

แสดงว่าคนไทยมากกว่า 50% รับประทานพรีไบโอติกไม่เพียงพอในแต่ละวันแน่นอน !!!

จากการศึกษาที่มีในปัจจุบัน สำหรับคนปกติแนะนำให้รับประทาน 4-5 กรัมต่อวัน สำหรับคนที่มีปัญหาระบบขับถ่ายเพิ่มปริมาณขึ้นเป็น 2 เท่า สำหรับคนที่เพิ่งรับประทาน มีปัญหาท้องอืด หรือมีปัญหาลมในท้องเยอะ ให้ลดปริมาณลงครึ่งนึง

พรีไบโอติก | ผลข้างเคียง

สำหรับคนที่เพิ่งรับประทานพรีไบโอติก เป็นโรคลำไส้แปรปรวน หรือในบางคนอาจจะเจอปัญหา ดังนี้

  1. ท้องอืด
  2. ท้องผูก
  3. ท้องเสีย
  4. ลมในท้องเยอะ

แนะนำให้ลองลดปริมาณลงครึ่งนึงก่อน ค่อยๆ ปรับตัว แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านทางเดินอาหารและตับเพื่อหาสาเหตุและรักษา

อาหารเสริมพรีไบโอติก (Prebiotic)

Wellness Hub – Prebiotic

Wellness Hub – Prebiotic คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG: Partially Hydrolyzed Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ

ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้

  • FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
  • Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
  • GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
  • Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
  • VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
  • HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
  • KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว

มีงานวิจัยเฉพาะของ PHGG (Partially Hydrolyzed Guar Gum) ทั้งในหลอดทดลอง ในสิ่งมีชีวิต และในมนุษย์ ว่ามีคุณประโยชน์ต่างๆ ดังนี้

  1. มีส่วนช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
  2. มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรง
  3. มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วน
  4. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องผูก
  5. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องเสีย
  6. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน (IBS: Irritable Bowel Sysdrome)
  7. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD: Inflammatory Bowel Disease)
  8. มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
  9. มีส่วนช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
  10. มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ
  11. มีส่วนช่วยเพิ่มกรดไขมันสายสั้น (SCFAs: Short-Chain Fatty Acids) ในลำไส้
  12. มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด
  13. มีส่วนช่วยลดค่าดัชนีน้ำตาล (GI: Glycemic Index)
  14. มีส่วนช่วยลดความโหยหลังจากมื้ออาหาร
  15. มีส่วนช่วยลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย
  16. มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C: Hemoglobin A1C)

ละลายน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ดื่มวันละ 1 ซอง

อาหารเสริมพรีไบโอติก (Prebiotic)

Beta Glucan | เบต้า กลูแคน

Beta Glucan (เบต้า กลูแคน) คือ กากใยอาหาร (Dietary Fiber) ชนิดละลายน้ำ ซึ่งพบมากในเมล็ดธัญพืช ยีสต์ และเห็ด

ประโยชน์ต่างๆ มีดังนี้

  1. มีส่วนช่วยทำให้อาการแพ้ดีขึ้น
  2. มีส่วนช่วยทำให้โรคหอบหืดดีขึ้น
  3. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบ
  4. มีส่วนช่วยทำให้อาการเหนื่อยล้าเรื้อรังดีขึ้น
  5. มีส่วนช่วยทำให้อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังดีขึ้น
  6. มีส่วนช่วยทำให้โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ดีขึ้น
  7. มีส่วนช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
  8. มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
  9. มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานแข็งแรง
Youtube : พรีไบโอติก Prebiotic | คือ-ประโยชน์-กินตอนไหน

Similar Posts