Dopamine โดปามีน = สารสื่อประสาท + ฮอร์โมน
Dopamine หรือ โดปามีน หรือ โดพามีน | คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับความรัก? จะเกิดอะไรขึ้นถ้าร่างกายมีมากเกินไป? จะเกิดอะไรขึ้นถ้าร่างกายมีน้อยเกินไป? วิธีทำให้ร่างกายมีสมบูรณ์ทำยังไง?
Dopamine | คือ
โดปามีน คือ สารสื่อประสาท และ ฮอร์โมน
สารสื่อประสาท | เป็นรางวัลให้กับสมองใน “ระบบการให้รางวัลของสมอง หรือ Brain Reward System” เพื่อให้ความรู้สึก “พึงพอใจ” หรือ “มีความสุข” เมื่อได้รับสิ่งกระตุ้น และจะทำให้เกิด “ความต้องการ” ที่จะได้รับสิ่งนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก
ฮอร์โมน | เป็นหนึ่งในฮอร์โมนกลุ่มแคทีโคลามีน (Catecholamine) ที่ร่างกายใช้ในการตอบสนองเมื่อได้รับการกระตุ้น เช่น ตกใจ กลัว ตื่นเต้น ทำให้ต้องตัดสินใจว่าจะ “สู้หรือหนี / Fight or Flight”
นอกเหนือจากนั้นแล้วโดปามีนยังเกี่ยวข้องกับการทำงานต่างๆ ของร่างกาย ดังนี้
- การเคลื่อนไหว
- ความจำ
- การไหลเวียนโลหิต
- ระบบย่อยอาหาร
- อารมณ์
- การเรียนรู้
- สมาธิ
- การควบคุมกล้ามเนื้อ
- การตอบสนองต่อความเครียด
- การนอนหลับ
Dopamine | ฮอร์โมนแห่งความรัก
โดปามีนจะถูกหลั่งออกมาเมื่อเกิดความรู้สึกตกหลุมรักใครสักคน
ความรัก (Love) คือ หนึ่งในปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้ชีวิตมนุษย์ดำเนินต่อไปได้ ไม่ต่างอะไรจากอาหาร เซ็กซ์ ความสัมพันธ์และการยอมรับ เมื่อเกิดความรู้สึกรักใครสักคนจะทำให้เกิดความรู้สึกดี มีความสุข อยากอยู่ใกล้ และเมื่อห่างกันก็คิดถึงอยากเจออีก
Dopamine | มากเกินไปหรือน้อยเกินไป
ความสมดุลพอดีมีอยู่ในทุกเรื่องรวมถึงระดับของโดปามีนด้วย การมีมากเกินไปหรือน้อยเกินไปมีผลเกี่ยวข้องกับโรคทางจิตเภท (Schizophrenia) และโรคทางระบบประสาท (Neurological Diseases)
มากเกินไป
- โรคอ้วน (Obesity)
- การเสพย์ติด (Addiction)
- การคลั่งไคล้ (Mania)
- การหลงผิด (Delusions)
น้อยเกินไป
- โรคพาร์กินสัน (Pakinson)
- โรคสมาธิสั้น (ADHD : Attention Deficit Hyperactivity Disorder)
- อาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome)
- โรคซึมเศร้า (Depression)
Dopamine | วิธีสร้างแบบธรรมชาติ
Gut-Brain Axis | ลำไส้กับสมองมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน สื่อสารต่อกันและกัน ส่งผลซึ่งกันและกัน การทำงานของลำไส้ก็มีผลต่อสมอง และการทำงานของสมองก็มีผลต่อลำไส้ เรียกได้ว่าทั้ง 2 อวัยวะมีการเชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออก ลำไส้ถูกเปรียบเทียบว่าเป็นสมองที่ 2 ของร่างกาย เพราะว่า 50% ของ Dopamine ในร่างกาย ถูกผลิตที่ลำไส้
- รับประทานโปรตีนให้ครบตามที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน (กินโปรตีน วันละเท่าไหร่)
- รับประทานไขมันอิ่มตัวให้น้อยลง
- รับประทานพรีไบโอติกและโพรไบโอติก
- ออกกำลังกายให้หลากหลาย พอดี และสม่ำเสมอ
- นอนหลับให้มีคุณภาพ (วิธีนอนหลับ 5 ข้อ ทำให้นอนหลับลึกและยาวตลอดคืน)
- ฝึกบริหารจิตใจและร่างกายให้สัมพันธ์กัน
วัตถุดิบสร้างโดปามีน
Dopamine Action | อาหารเสริมโดพามีนเกรดการแพทย์ มีรายละเอียด ดังนี้
ส่วนประกอบ
- Mucuna Pruriens = 50mg
- L-Tyrosine = 200mg
- Coenzyme Q10 = 50mg
- Thiamine (Vitamin B1) = 25mg
- Pyridoxine HCl (Vitamin B6) = 25mg
- Methylcobalamin (Vitamin B12) = 0.1mg
- R-Lipoic Acid = 10mg
สภาพแวดล้อมสร้างโดปามีน
Good Gut คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG : Partially Hydrolyzed Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ
ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้
- FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
- Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
- GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
- Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
- VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
- HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
- KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว
มีงานวิจัยเฉพาะของ PHGG (Partially Hydrolyzed Guar Gum) ทั้งในหลอดทดลอง ในสิ่งมีชีวิต และในมนุษย์ ว่ามีคุณประโยชน์ต่างๆ ดังนี้
- มีส่วนช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
- มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรง
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วน
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องผูก
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องเสีย
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน (IBS: Irritable Bowel Sysdrome)
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD: Inflammatory Bowel Disease)
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
- มีส่วนช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
- มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ
- มีส่วนช่วยเพิ่มกรดไขมันสายสั้น (SCFAs: Short-Chain Fatty Acids) ในลำไส้
- มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด
- มีส่วนช่วยลดค่าดัชนีน้ำตาล (GI: Glycemic Index)
- มีส่วนช่วยลดความโหยหลังจากมื้ออาหาร
- มีส่วนช่วยลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย
- มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C: Hemoglobin A1C)
ละลายน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ดื่มวันละ 1 ซอง