อินซูลิน – Insulin | คืออะไร? ทำหน้าที่อะไร? หลั่งตอนไหน?

อินซูลิน หรือ Insulin คือ ฮอร์โมนชนิดนึงที่สร้างมาจากตับอ่อน ทำหน้าที่เอาน้ำตาลในเลือดเข้าไปเก็บในเซลล์ มีความเกี่ยวข้องกับโรคที่คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็น เช่น

  • อ้วนลงพุง
  • เบาหวาน
  • ความดันสูง
  • ไตเสื่อม
  • เส้นเลือดสมองตีบ
  • เส้นเลือดหัวใจตีบ

ฮอร์โมนอินซูลินสร้างมาจากโปรตีนทำให้สามารถละลายน้ำได้ เป็นฮอร์โมนนึงในกลุ่มที่ส่งเสริมการสร้างกล้ามเนื้อ (Anabolic Hormone) เป็นฮอร์โมนที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตไปข้างหน้า (Growth Factor)

ฮอร์โมน คือ คำสั่งที่มีอยู่ในร่างกาย ถ้าคำสั่งนั้นสมบูรณ์ดี ร่างกายก็สมบูรณ์ดี แต่ถ้าคำสั่งนั้นมีปัญหา สั่งงานไปแล้วเซลล์ไม่ทำงานตามคำสั่ง ร่างกายก็จะมีปัญหา

ฮอร์โมนอินซูลินทำหน้าที่เป็นคำสั่งให้เซลล์เก็บน้ำตาลเข้าไป เปรียบเทียบเหมือนกุญแจที่ไขเปิดประตูเซลล์เพื่อให้น้ำตาลสามารถเข้าไปได้ ลองนึกภาพดูว่าถ้ากุญแจที่เปิดประตูบ้านเรามีปัญหา เสียบเข้าไปแล้ว หมุนแล้ว แต่ประตูไม่ยอมเปิด เราก็เข้าบ้านไม่ได้ เซลล์เราถ้ากุญแจมีปัญหาก็จะเป็นแบบนั้น ภาวะตรงนี้เรียกว่าภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance) คือการที่ฮอร์โมนอินซูลินหลั่งออกมา แต่เซลล์ไม่ยอมทำตามคำสั่ง ดื้อด้านอยู่แบบนั้น

Glycemic Load VS Glycemic Index

อินซูลิน Insulin | คืออะไร? ทำหน้าที่อะไร? หลั่งตอนไหน?
ฮอร์โมนอินซูลิน = กุญแจเปิดประตูเซลล์เพื่อเอาน้ำตาลกลูโคสเข้าไป

อินซูลิน | หน้าที่

ฮอร์โมนอินซูลินจะทำหน้าที่เอาน้ำตาลออกจากกระแสเลือด ทำยังไงก็ได้ไม่ให้มีน้ำตาลในเลือดมากเกินไป เพราะน้ำตาลเป็นพิษต่อหลอดเลือด เป็นอาหารของเชื้อโรค เป็นวัตถุดิบของสารเร่งความแก่

  1. กล้ามเนื้อ | เอากรดอะมิโนไปสร้างเป็นกล้ามเนื้อ
  2. ไขมัน | เอาน้ำตาลไปสร้างเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  3. ไกลโคเจน | เอาน้ำตาลไปสร้างเป็นพลังงานสำรองในตับและกล้ามเนื้อ

Advanced Glycation End Products | สารเร่งความแก่

อินซูลิน | สร้างจากตับอ่อน

ตับอ่อนจะมีพื้นที่สำหรับผลิตฮอร์โมน ~2% โดยจะมีเซลล์อยู่ 3 ชนิดที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน คือ

  • Beta Cell | ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน
  • Alpha Cell | ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนกลูคากอน
  • Delta Cell | ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนโซมาโตสแตติน
อินซูลิน Insulin | คืออะไร? ทำหน้าที่อะไร? หลั่งตอนไหน?
Insulin Hormone | คืออะไร? ทำหน้าที่อะไร? หลั่งตอนไหน?

อินซูลิน | หลั่งตอนไหน

ฮอร์โมนอินซูลินจะหลั่งตอนที่มีน้ำตาลในเลือด นั่นก็คือหลังจากที่รับประทานอาหาร-ขนม-เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาร์โบไฮเดรต ถ้าน้ำตาลเข้าเลือดเร็ว-อินซูลินก็หลั่งเร็ว ถ้าน้ำตาลเข้าเลือดเยอะ-อินซูลินก็หลั่งเยอะ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ คือ

  • กินถั่ว-ธัญพืช | น้ำตาลเข้าเลือดทีละนิด อินซูลินก็หลั่งทีละนิด
  • กินข้าวกล้อง | น้ำตาลเข้าเลือดทีละนิด อินซูลินก็หลั่งทีละนิด
  • กินน้ำอัดลม | น้ำตาลเข้าเลือดเร็ว อินซูลินก็หลั่งเร็ว
  • กินกาแฟดำ | ไม่มีน้ำตาลเข้าเลือดเลย อินซูลินก็ไม่หลั่งเลย

น้ำตาล” ที่ทำลายสุขภาพน้อยที่สุด?

อินซูลิน | เบาหวาน

โรคเบาหวาน หรือ Diabetes Mellitus คือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติได้ แล้วพอระดับน้ำตาลในเลือดสูงถึงระดับนึง (~220 mg/dL) น้ำตาลจะต้องถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ทำให้น้ำปัสสาวะมีรสหวาน เลยเป็นที่มาของคำว่า “โรคเบาหวาน

  • เบา = ปัสสาวะ
  • หวาน = รสหวาน

สาเหตุที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ก็เพราะว่า

  • ภาวะดื้อต่ออินซูลิน | ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมาเพียงพอแล้ว แต่ไม่สามารถทำงานได้
  • อินซูลินไม่เพียงพอ | ตับอ่อนไม่สามารถในการผลิตฮอร์โมนอินซูลินให้เพียงพอกับความต้องการได้

โรคเบาหวาน | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน

อาหารเสริมช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

Wellness Hub – Good Gut

Good Gut คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG : Partially Hydrolyzed Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ

ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้

  • FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
  • Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
  • GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
  • Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
  • VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
  • HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
  • KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว

มีงานวิจัยเฉพาะของ PHGG (Partially Hydrolyzed Guar Gum) ทั้งในหลอดทดลอง ในสิ่งมีชีวิต และในมนุษย์ ว่ามีคุณประโยชน์ต่างๆ ดังนี้

  1. มีส่วนช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
  2. มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรง
  3. มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วน
  4. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องผูก
  5. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องเสีย
  6. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน (IBS: Irritable Bowel Sysdrome)
  7. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD: Inflammatory Bowel Disease)
  8. มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
  9. มีส่วนช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
  10. มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ
  11. มีส่วนช่วยเพิ่มกรดไขมันสายสั้น (SCFAs: Short-Chain Fatty Acids) ในลำไส้
  12. มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด
  13. มีส่วนช่วยลดค่าดัชนีน้ำตาล (GI: Glycemic Index)
  14. มีส่วนช่วยลดความโหยหลังจากมื้ออาหาร
  15. มีส่วนช่วยลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย
  16. มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C: Hemoglobin A1C)

ละลายน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ดื่มวันละ 1 ซอง

Similar Posts