โรคเบาหวาน | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน
โรคเบาหวาน หรือ Diabetes Mellitus คือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติได้ แล้วพอระดับน้ำตาลในเลือดสูงถึงระดับนึง (~220 mg/dL) น้ำตาลจะต้องถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ทำให้น้ำปัสสาวะมีรสหวาน เลยเป็นที่มาของคำว่า “โรคเบาหวาน“
- เบา = ปัสสาวะ
- หวาน = รสหวาน
ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ปี 2564 พบว่าคนไทยเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้น ~300,000 คนต่อปี มีผู้ป่วยรวม ~4.4 ล้านคน มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 47,596 ล้านบาท ต่อปี และยังเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา เช่น
- ความดันสูง
- หัวใจและหลอดเลือด
- หลอดเลือดสมอง
- ไตเสื่อม
เบาหวานชนิดที่ 2 VS เบาหวานชนิดที่ 1
โรคเบาหวาน | อาการ
ระยะแรก | ไม่มีอาการอะไรแสดงออกมาทางร่างกายเลย จะสังเกตความผิดปกติได้จากการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและระดับน้ำตาลในเลือดสะสมเท่านั้น
ระยะปานกลาง | เริ่มมีอาการแสดงออกมาทางร่างกายแต่ก็ยังไม่ชัดเจนนัก เช่น มีปื้นดำบริเวณข้อพับ (Acanthosis Nigricans) เป็นผิวหนังย่นคล้ายขี้ไคลที่ขัดยังไงก็ไม่ออก ไม่ค่อยมีแรง หิวน้ำบ่อย ปากแห้ง
ระยะรุนแรง | หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย กินบ่อยแต่ก็ไม่ค่อยมีแรง น้ำหนักลดลง การมองเห็นเริ่มมีปัญหา ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด ปลายนิ้วมือนิ้วเท้าเริ่มซีด-ม่วง-ดำ มีอาการชาตามปลายมือปลายเท้า ความดันสูงขึ้น ผิวแห้ง ติดเชื้อบ่อย เป็นแผลแล้วหายช้า
เบาหวาน น้ำตาลเท่าไหร่? | เกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานจะดูจาก 4 อย่าง คือ
- ระดับน้ำตาลในเลือด หลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง | เกิน 126 mg/dL
- ระดับน้ำตาลสะสม | เกิน 6.5 mg%
- อาการที่แสดงออกทางร่างกาย + ระดับน้ำตาลในเลือดตอนไหนก็ได้ | เกิน 200 mg/dL
- ดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม แล้วเจาะดูระดับน้ำตาลในเลือดหลังดื่ม 2 ชั่วโมง | เกิน 200 mg/dL
โรคเบาหวาน | สาเหตุ
- อ้วนลงพุง | มีไขมันในช่องท้องเยอะ (Viscerol Fat) สร้างสารการอักเสบมากขึ้น
- กินน้ำตาลเยอะ | รับประทานอาหาร-ขนม-เครื่องดื่ม ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง ในปริมาณเยอะ
- กินผลไม้รสหวานเยอะ | รับประทานผลไม้ที่มีน้ำตาลฟรุกโตสในปริมาณสูง ไขมันพอกตับ อ้วนลงพุง
- กินจุกจิก | รับประทานอาหาร-ขนม-เครื่องดื่ม-ผลไม้ ตลอดเวลา แทบไม่มีเวลาหยุดเลย
- กินอิ่มจุก | รับประทานอาหาร-ขนม-เครื่องดื่ม จนอิ่มเกินไป เกินกว่าที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
- กินมื้อดึกบ่อย | รับประทานก่อนนอนเป็นประจำ ร่างกายไม่ได้เอาไปใช้ก็เอาไปเก็บเป็นไขมันสะสม
- ดื่มเหล้าเบียร์มาก | ตับอ่อนอักเสบ ผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ลดลง เก็บน้ำตาลเข้าเซลล์ได้ลดลง
- ผลข้างเคียงจากยา | กลุ่มสเตียรอยด์, กลุ่มสแตติน (Statin), กลุ่มยาขับปัสสาวะ (HCTZ)
- อายุมากขึ้น | ตับอ่อนเสื่อมลง ผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยลง เก็บน้ำตาลเข้าเซลล์ได้ลดลง
- การตั้งครรภ์ | ฮอร์โมนแปรปรวนช่วงตั้งครรภ์ส่งผลต่อการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน
โรคเบาหวาน | รักษา
เป้าหมายของการรักษาโรคเบาหวาน คือ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดตามมาหลังจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือการรับประทานยาในปริมาณเยอะ รวมถึงสุขภาพโดยรวมไม่ให้แย่ลงไปเรื่อยๆ ไม่ใช่จะดูแค่ระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเดียวเท่านั้น
ทัศนคติของคนไข้ว่าแค่กินยาอย่างเดียวแล้วจะหาย เป็นหน้าที่ของหมอรักษาไป ส่วนตัวเองจะใช้ชีวิตตามที่ตัวเองชอบเหมือนเดิมต่อไป แบบนี้ไม่หายแน่นอน !!!
- เริ่มเป็นโรคเบาหวาน กินยา 1 ตัว
- อีก 5 ปีข้างหน้า เพิ่มยาเป็น 2 ตัว
- อีก 10 ปีข้างหน้า เพิ่มยาเป็น 3 ตัว
- อีก 15 ปีข้างหน้า เปลี่ยนเป็นยาฉีด
- อีก 20 ปีข้างหน้า ฟอกไต
หัวใจของการรักษาโรคเบาหวาน คือ พฤติกรรมที่ทำในแต่ละวัน หมอที่ดีที่สุดคือตัวคุณเอง ไม่ใช่ยา
- เลือกกินคาร์โบไฮเดรตที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Glycemic Index) และกินแต่พอดี (Glycemic Load)
- ข้าว | กินแต่พอดี
- ข้าวกล้อง
- ข้าวกล้องงอก
- ข้าวซ้อมมือ
- ข้าวไรซ์เบอร์รี่
- ข้าว กข 43
- ขนมปังโฮลวีท | กินได้นิดหน่อย
- ผลไม้ | กินแต่พอดี กินทั้งลูก อย่าเอามาคั้นแยกกากแล้วกินเฉพาะน้ำ
- แอปเปิ้ล
- ส้ม
- ฝรั่ง
- เชอร์รี่
- แกนสับปะรด
- ข้าว | กินแต่พอดี
- เพิ่มการกินกากใยอาหาร (Fiber) เข้าไปทุกมื้ออาหาร
- ผัก
- ผักกินใบ | เน้นกินให้มากที่สุด
- ผักกินก้าน | เน้นกินรองลงมา
- ผักกินหัว | กินให้น้อยที่สุด
- ถั่ว
- เห็ด
- เต้าหู้
- ธัญพืช
- ผัก
- เลิกกินน้ำตาลเกือบทุกประเภท ถ้าอยากกินจริงๆ ให้เลือกเป็นหญ้าหวานหรือหล่อฮังก๊วย
- เรียงลำดับการกิน กินผักก่อนเสมอ ข้าวเนื้อสัตว์ตาม ขนมหวานหรือผลไม้เป็นอย่างสุดท้าย
- กินอาหารเป็นมื้อ อย่ากินจุกจิก หยุดกินของว่าง มีเวลาหยุดกินระหว่างมื้อ
- ควบคุมช่วงเวลาการกินให้น้อยกว่าช่วงเวลาหยุดกิน (IF : Intermittent Fasting)
- ไม่ค่อยมีกิจกรรมทางกาย | กินแค่ 2 มื้อ 08.00 / 15.00
- มีกิจกรรมทางกาย | กินแค่ 3 มื้อ 08.00 / 12.00 / 16.00
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอและหลากหลาย
- บริหารกล้ามเนื้อ
- บริหารหัวใจและหลอดเลือด
- บริหารความยืดหยุ่นและข้อต่อ
- ลดพุง ลดไขมันในช่องท้อง ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมกับส่วนสูง (BMI = 23)
- บริหารความเครียดให้เหมาะสม
- หมั่นสังเกตอาการแทรกซ้อนจากเบาหวาน
- ตา | การมองเห็นชัดเจนดีไหม
- ไต | ตรวจเลือดดูค่าการทำงานของไต โปรตีนรั่วมาทางปัสสาวะ
- หัวใจ | ความดันโลหิตยังปกติดีไหม
- สมอง | ปากเบี้ยว ชาครึ่งซีก พูดไม่ชัด ให้รีบดื่มน้ำเปล่าแล้วพาไปโรงพยาบาล
- แขนขา | นิ้วมือนิ้วเท้ามีสีอะไร มีแผลไหม บวมไหม
- ยารักษาโรคเบาหวานเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ขึ้นกับหมอที่รักษาจะพิจารณาตามเงื่อนไขแต่ละคนไป
- ชนิดกิน
- Metformin
- หน้าที่ | นำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์กล้ามเนื้อมากขึ้น ลดการสร้างกลูโคสที่ตับ
- ผลข้างเคียงที่ควรระวัง | คลื่นไส้ อาเจียน ไม่อยากอาหาร ขาดวิตามินบี 12
- Sulfonylurea
- หน้าที่ | กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อน
- ผลข้างเคียงที่ควรระวัง | น้ำตาลตกบ่อย กินเป็นเวลานานเสี่ยงตับอ่อนเสื่อม ไตเสื่อม
- Pioglitazone
- หน้าที่ | เอาน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์ไขมัน
- ผลข้างเคียงที่ควรระวัง | อ้วนขึ้น ไขมันสะสมเพิ่มขึ้น เท้าบวม
- DPP-4 Inhibitors
- หน้าที่ | กระตุ้นทำให้ฮอร์โมน GLP-1 อยู่นานขึ้น ฮอร์โมนอินซูลินหลั่งมากขึ้น
- ผลข้างเคียงที่ควรระวัง | เวียนศรีษะ ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน
- SGLT2 Inhibitors
- หน้าที่ | เอาน้ำตาลส่วนเกินขับออกทางปัสสาวะ
- ผลข้างเคียงที่ควรระวัง | ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะง่ายขึ้น ต้องดื่มน้ำเปล่ามากๆ
- Metformin
- ชนิดฉีด
- Insulin
- หน้าที่ | นำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์ ลดระดับน้ำตาลในเลือด
- ผลข้างเคียงที่ควรระวัง | อ้วนง่าย ไตรกลีเซอร์ไรด์สูงขึ้น ผิวหนังบริเวณที่ฉีดหนาขึ้น
- GLP-1 Agonist
- หน้าที่ | กระตุ้นการสร้างเซลล์ที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินตับอ่อน ช่วยลดน้ำหนัก
- ผลข้างเคียงที่ควรระวัง | คลื่นไส้ อาเจียน ไม่อยากอาหาร น้ำตาลตกหน่อยๆ
- Insulin
- ชนิดกิน
อาหารเสริม เบาหวาน | ควรกินอะไร? ไม่ควรกินอะไร?
โรคเบาหวาน | ป้องกัน
- รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
- Glycemic Index ต่ำ และ Glycemic Load ต่ำ
- โปรตีนจากพืชเป็นหลัก จากสัตว์เป็นรอง
- ควบคุมสมดุล Omega-3 ต่อ Omega-6
- Intermittent Fasting ให้เหมาะสม
- กินพอดีอิ่มให้เป็นนิสัย อย่ากินอิ่มจุกจนเป็นนิสัย
- ดื่มน้ำเปล่าที่มีแร่ธาตุสม่ำเสมอทั้งวัน
- อุจจาระทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 รอบ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอและหลากหลาย
- กลางวันตื่นตัว กลางคืนนอนหลับ
- บริหารอารมณ์ให้นิ่งสงบ
อาหารเสริมโรคเบาหวานเกรดการแพทย์
AGEs Block | อาหารเสริมลดสารเร่งชราสำหรับท่านที่มีน้ำตาลในเลือดสูงเกรดการแพทย์ มีส่วนประกอบ ดังนี้
- Benfotiamine (Vitamin B1) = 100mg
- Pyridoxamine (Vitamin B6) = 100mg
- Methylcobalamin (Vitamin B12) = 200 mcg
- Cinnamon Bark Extract = 100mg
- R-Lipoic Acid = 25mg
- 5-MTHF = 0.5mg
- Chromium Rice Chelate 2% = 0.05mg
- Vitamin D3 = 400IU
Good Gut คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG : Partially Hydrolyzed Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ
ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้
- FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
- Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
- GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
- Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
- VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
- HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
- KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว
Wellness Hub – CoQ10 อาหารเสริมที่คิดค้นและพัฒนาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
อาหารเสริมเกรดการแพทย์ (Nutraceutical) เป็นโคเอ็นไซม์ คิวเท็น ที่สกัดมาจากธรรมชาติ มีคุณภาพสูง ความบริสุทธิ์สูง ความเข้มข้นสูง ปริมาณสูง ร่างกายดูดซึมได้ดี สุดท้ายเพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ได้มีประสิทธิภาพสูงสุด มีให้เลือก 2 แบบ คือ
- CoQ10
- CoQ10 Plus NADH
NADH คือ อนุพันธ์ของสาร NAD+ (Nicotinamide Adenine Dinucleotide) ซึ่งทำให้เซลล์มีสุขภาพดีและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไมโตคอนเดรีย
Bio Active Lipids | อาหารเสริมน้ำมันปลาเกรดการแพทย์ มีส่วนประกอบ ดังนี้
- Concentrated fish-omega3 triglycerides = 1000mg
- equiv. Eicosapentaenoic acid (EPA) = 360mg
- equiv. Docosahexaenoic acid (DHA) = 240mg
Digest | อาหารเสริมเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารเกรดการแพทย์มีส่วนประกอบ คือ
- Amylase = 7,200U
- Protease = 1,800U
- Lactase = 1,200U
- Lipase = 300U
- Cellulase = 60U
- Bromelain = 120GDU
- Pepsin 1:3000 NF = 50mg
- Trypsin = 12,500IU
Res-V-eratrol Plus | อาหารเสริมเรสเวอราทรอลเกรดการแพทย์ มีส่วนประกอบ ดังนี้
- Refined Rice Bran Oil = 770mg
- Niacinamide = 10mg
- Grape Skin Extract = 125mg
- Pine Bark Extract = 30mg
- Grape Seed Extract = 30mg