ความดันปกติ VS ความดันสูง VS ความดันต่ำ

ความดันปกติ ความดันสูง ความดันต่ำ | ต่างกันยังไง? ค่าเท่าไหร่ปกติ? ค่าเท่าไหร่สูง? ค่าเท่าไหร่ต่ำ? ความดันสูงควรทำยังไง? ความดันต่ำควรทำยังไง?

ความดัน | Blood Pressure

Blood Pressure (BP) = ความดัน / ความดันโลหิต / ความดันเลือด

ความดันโลหิต คือ ตัวเลขที่ใช้วัดค่าแรงดันของเลือดที่เกิดจากการบีบตัวของหัวใจเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย หน่วยเป็น “มิลลิเมตรปรอท / mmHg” ซึ่งมีทั้งหมด 2 ค่า คือ

  • ค่าบน / ค่าแรก | แรงดันโลหิตตอนที่หัวใจบีบตัวเต็มที่
  • ค่าล่าง / ค่าหลัง | แรงดันโลหิตตอนที่หัวใจคลายตัวเต็มที่

เส้นเลือดทั่วร่างกายของเราถ้าเอามาต่อเป็นเส้นตรงแล้วจะมีความยาว ประมาณ 160,000 กิโลเมตรเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ถ้าขับรถวนรอบโลก 1 รอบ จะมีระยะทางทั้งหมด ประมาณ 40,000 กิโลเมตร เท่ากับว่าเส้นเลือดทั่วร่างกายเรา จะมีความยาวเทียบเท่ากับขับรถวนรอบโลก ประมาณ 4 รอบ

  • เส้นเลือด = สายยาง | ตอนเด็กเราจะมีเส้นเลือดใหม่ที่นุ่มนิ่มยืดหยุ่นก็เหมือนสายยางเส้นใหม่ แต่พอเราอายุมากขึ้น สายยางที่ผ่านการใช้งานมาแล้วก็มักจะเริ่มมีบาดแผล ข้างในเริ่มมีคราบสกปรกไปติด ข้างนอกเริ่มกรอบ-ปริ-ขาดความยืดหยุ่น
  • หัวใจ = ปั๊มน้ำ | ตอนเด็กเราก็มีปั๊มน้ำใหม่ ทำงานราบลื่นสมบูรณ์ดี พออายุมากขึ้น ผ่านการใช้งานไป ก็เริ่มเสื่อมโทรม ทำงานไปดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ติดๆ ขัดๆ บ้าง

การดูแลร่างกายให้มีสุขภาพสมบูรณ์สูงสุด คือ

  • หัวใจ | แข็งแรง มีประสิทธิภาพ มีพลังงานเพียงพอในการทำงานตลอดเวลา (Coenzyme Q10)
  • หลอดเลือด | ยืดหยุ่น ข้างในโล่ง ไม่มีคราบสกปรก
  • เลือด | มีสารอาหารเพียงพอ ไหลคล่อง ไม่หนืด

ความดัน | ควรวัดที่บ้าน

ควรมีเครื่องวัดความดันแบบอัตโนมัติ (Automatic Blood Pressure Monitor) เอาไว้วัดความดันตัวเองที่บ้านแทนการไปวัดที่โรงพยาบาล เพราะปัจจัยต่างๆ เหล่านี้มีผลต่อความดันที่เปลี่ยนแปลง

  • ตื่นเต้น
  • โมโห
  • กลัว
  • วิตกกังวล
  • เครียด
  • ตกใจ
  • ใส่หน้ากากอนามัย
  • เดินขึ้นบันได
  • อดอาหาร อดน้ำ

White Code Hypertension คือ วัดความดันโลหิตที่โรงพยาบาลหรือคลีนิกสูงกว่าวัดที่บ้าน

ความดัน | วิธีวัดความดันด้วยตัวเอง

  1. ก่อนวัดความดัน 1 ชั่วโมง ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ ชา ทุกประเภท
  2. ใส่เสื้อผ้าให้สบาย ไม่รัดแน่นจนเกินไป
  3. ขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ ให้เรียบร้อย
  4. จัดท่าทางการนั่งให้สบาย เครื่องวัดความดันบนโต๊ะ นั่งเก้าอี้มีพนักพิง สองขาวางพื้น วางแขนโต๊ะ
  5. นั่งผ่อนคลายร่างกาย สมอง อารมณ์ ก่อนวัด 5 นาที
  6. ใช้แขนข้างที่ไม่ถนัดวัดความดัน
  7. ระหว่างวัดความดันทำตัวนิ่งๆ ไม่พูด ไม่ขยับตัวทุกอวัยวะ
  8. วัดความดันเช้า-กลางวัน-เย็น แล้วจดบันทึกเอาไว้

ความดัน | เช้า-กลางวัน-เย็น

ธรรมชาติแล้วความดันกลางวันจะสูงกว่ากลางคืนเพราะเป็นช่วงที่ร่างกายมักจะมีกิจกรรมทางกายและตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา และตอนเช้าจะมีความดันสูงที่สุดเพื่อกระตุ้นทำให้ร่างกายตื่นตัว พร้อมที่จะไปใช้ชีวิตประจำวัน กลางวันลดลงมา เย็นลดลงมา เพื่อให้พร้อมเข้าสู่สภาวะพักของร่างกายก็คือการนอนนั่นเอง

ความดัน | เด็ก-ผู้ใหญ่-ผู้สูงอายุ

ธรรมชาติแล้วความดันเด็กจะต่ำที่สุด แล้วค่อยๆ เพิ่มตามอายุที่มากขึ้น ผู้สูงอายุจะมีความดันสูงที่สุด

ความดันปกติ | Normal Blood Pressure

อย่าดูแค่ตัวเลขความดันที่วัดได้เท่านั้น !!! ควรพิจารณาควบคู่กับความรู้สึกของเจ้าของร่างกายด้วย

ความดันสูงมาก160-179และ / หรือ100-109พบแพทย์ด่วน
ความดันสูงปานกลาง140-159และ / หรือ90-99พบแพทย์
ความดันสูงเล็กน้อย130-139และ / หรือ85-89เริ่มดูแลตัวเอง
ความดันปกติ120-129และ80-84ปกติ
ความดันที่ดี91-119และ61-79สมบูรณ์สูงสุด
ความดันต่ำเล็กน้อย81-90และ / หรือ56-60เริ่มดูแลตัวเอง
ความดันต่ำปานกลาง71-80และ / หรือ46-55พบแพทย์
ความดันต่ำมาก61-70และ / หรือ36-45พบแพทย์ด่วน
ความดันโลหิตที่ใช้อ้างอิงในผู้ใหญ่ (JNC : The Joint National Committee)
ความดันปกติ VS ความดันสูง VS ความดันต่ำ
ค่าความดันโลหิตมาตรฐาน

ความดันสูง | High Blood Pressure

ผลกระทบของความดันสูง (Hypertenstion) ต่อสุขภาพมี 2 ระยะ คือ

  • เฉียบพลัน | หลอดเลือดในสมองแตก อัมพฤกษ์ อัมพาต นอนติดเตียงไปตลอดชีวิต
  • เรื้อรัง | หัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง น้ำท่วมปอด ไตเสื่อม ไตวาย ฟอกไต

ความดันสูง | อาการ

คนส่วนใหญ่ที่มีความดันสูงมักจะไม่มีอาการอะไร แต่อาจจะมีบางส่วนที่แสดงออก ดังนี้

  1. ปวดหัว
  2. หายใจสั้นและถี่
  3. เลือดกำเดาไหล

ความดันสูง | สาเหตุ

  1. รับประทานมากเกินความจำเป็น
  2. รับประทานน้ำตาลมากเกินไป โดยเฉพาะน้ำตาลทรายและน้ำเชื่อมข้าวโพด
  3. ไม่ออกกำลังกาย
  4. รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
  5. เครียดมากเกินไป
  6. ปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ
    • หลอดเลือด
    • ไทรอยด์
    • ไต
    • ต่อมหมวกไต
    • หยุดหายใจขณะนอนหลับ

ความดันสูง | รักษา

  1. ลดน้ำหนักให้รูปร่างสมส่วน ไม่อ้วนเกินไป-ไม่ผอมเกินไป
  2. รับประทานอาหาร แดช ไดเอท (DASH Diet)
  3. ออกกำลังกายโดยเน้นแบบคาร์ดิโอ (หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ)
  4. บริหารความเครียดให้เหมาะสม ไม่เครียดมากเกินไป มีความเครียดเชิงบวก
  5. บริหารอารมณ์ให้สงบนิ่ง ไม่ตื่นเต้น ไม่หวาดกลัว
  6. รับประทานแมกนีเซียม (Magnesium) เสริมถ้าจำเป็น
  7. รับประทานกรดอะมิโนอาร์จินีน (Arginine) เสริมถ้าจำเป็น
  8. ทำคีเลชั่น (Chelation) เสริมถ้าจำเป็น
  9. รับประทานยาลดความดันถ้าทำทุกอย่างข้างต้นแล้วความดันยังคงสูงอยู่

ความดันสูง | ป้องกัน

  1. ควบคุมรูปร่างให้สมส่วน
  2. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  4. นอนหลับให้มีคุณภาพ
  5. อุจจาระทุกวันอย่างน้อยวันละ 1 รอบ
  6. บริหารอารมณ์และความคิดให้สงบนิ่ง
ความดันปกติ VS ความดันสูง VS ความดันต่ำ
ความดันปกติ VS ความดันสูง VS ความดันต่ำ

ความดันต่ำ | Low Blood Pressure

ผลกระทบของความดันต่ำ (Hypotension) ต่อสุขภาพมี 2 ระยะ คือ

  • เฉียบพลัน | วูบ หน้ามืด ช็อก หมดสติ หกล้ม บาดเจ็บ กระดูกหัก
  • เรื้อรัง | หัวใจเต้นเร็ว ทำงานหนัก บาดเจ็บ สมองช้า ขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต

ความดันต่ำ | อาการ

อาการที่ร่างกายมักแสดงออกถ้าสมองได้รับเลือดไม่เพียงพอเพราะความดันต่ำ ดังนี้

  1. เวียนหัว หน้ามืด เป็นลม
  2. อ่อนล้า อ่อนแรง เพลีย ไม่มีพลัง
  3. ตาเบลอ มองอะไรไม่ชัด
  4. หายใจเร็วและตื้น
  5. รู้สึกเหนื่อย เชื่องช้า ซึม
  6. สมองช้า ขาดสมาธิ พูดไม่รู้เรื่อง
  7. คลื่นไส้ อาเจียน

ความดันต่ำ | สาเหตุ

ความดันต่ำอาจจะเกิดได้จากหมายสาเหตุ ดังนี้

  1. ลุกขึ้นยืนเร็วเกินไป
  2. เสียเลือดมาก
    • ประจำเดือน
    • บริจาคเลือด
    • อุบัติเหตุ
  3. ขาดน้ำ
  4. อากาศที่ร้อนเกินไปหรือหนาวเกินไป
  5. กำลังตั้งครรภ์ช่วง 6 เดือนแรก
  6. ผลข้างเคียงของยา สมุนไพร หรืออาหารเสริมบางชนิด
  7. ปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ
    • ระบบประสาทส่วนกลาง
    • หัวใจ
    • ปอด
    • ระบบภูมิต้านทาน

ความดันต่ำ | รักษา

ระหว่างที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกำลังหาสาเหตุที่แท้จริงของความดันต่ำ การรักษาทั่วไปแบบกว้างๆ คือ

  1. เพิ่มเลือดในร่างกาย เพิ่มน้ำในร่างกาย
  2. ทำให้หลอดเลือดตีบเล็กลง
  3. ใส่ถุงเท้า ถุงมือ ผ้ารัดแขน รัดน่อง

ความดันต่ำ | ป้องกัน

  1. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  3. ดื่มน้ำสะอาดที่มีแร่ธาตุสม่ำเสมอตลอดทั้งวัน
  4. รับประทานแร่ธาตุเหล็กจากอาหารธรรมชาติเมื่อต้องเสียเลือดมาก (Fenton Reaction)
    • ผักโขม
    • ถั่วเลนทิล ถั่วชิกพี ถั่วพี ถั่วดำ ถั่วขาว ถั่วแดง
    • เมล็ดฟักทอง
    • ควินัว
    • เต้าหู้
    • ดาร์คช็อกโกแลต
    • เลือด ตับ เครื่องในสัตว์
  5. ระมัดระวังในการเปลี่ยนท่าทางร่างกาย
  6. นอนหลับให้มีคุณภาพ
  7. อุจจาระทุกวันอย่างน้อยวันละ 1 รอบ
  8. ก่อนรับประทานยา สมุนไพร หรืออาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

อาหารเสริมช่วยควบคุมความดัน

Wellness Hub – Prebiotic

Prebiotic คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG: Partially Hydrolyzed Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ

ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้

  • FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
  • Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
  • GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
  • Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
  • VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
  • HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
  • KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว
Chela Mag | อาหารเสริมคีลาแม็ก

Chela Mag | อาหารเสริมแร่ธาตุแมกนีเซียม ในรูปแบบคีเลต ซึ่งเป็นรูปแบบที่ดูดซึมดีที่สุด

ส่วนประกอบ

  1. Chelated Magnesium = 100mg

ประโยชน์

  1. มีส่วนช่วยทำให้นอนหลับดีขึ้น
  2. มีส่วนช่วยปรับสมดุลกรด-ด่างในร่างกาย
  3. มีส่วนช่วยทำให้หัวใจทำงานได้ดี
  4. มีส่วนช่วยทำให้การหดตัวของกล้ามเนื้อทำงานได้ดี
  5. มีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพการออกกำลังกาย
  6. มีส่วนช่วยทำให้อาการซึมเศร้าดีขึ้น
  7. มีส่วนช่วยป้องกันโรคไมเกรน
  8. มีส่วนช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง
  9. มีส่วนช่วยทำให้อาการวิตกกังวลดีขึ้น

ขนาดบรรจุ | 500 เม็ด

Similar Posts