Glycemic Load VS Glycemic Index

Glycemic Load VS Glycemic Index | เหมือนกันยังไง? ต่างกันยังไง? อะไรดีกว่ากัน?

Glycemic Index | ดัชนีน้ำตาล

Glycemic Index หรือ GI หรือ ดัชนีน้ำตาล คือ ตัวเลขค่านึงที่บอกว่าอาหารในแต่ละชนิดมีความสามารถในการปล่อยน้ำตาลกลูโคส (Glucose) ออกมาเร็วแค่ไหน

  • ค่าต่ำ (0-55) แปลว่า ค่อยๆ ปล่อยน้ำตาลออกมาช้าๆ ทีละนิดๆ
  • ค่าปานกลาง (56-69) แปลว่า ปล่อยน้ำตาลออกมากลางๆ ไม่ช้าไม่เร็ว
  • ค่าสูง (70-100) แปลว่า ปล่อยน้ำตาลออกมาเร็วมาก

น้ำตาลฟรุ๊กโตส (Fructose) ถึงแม้จะมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low GI) แต่ก็ไม่ดีกับสุขภาพมากนัก ควรกินพร้อมกากใยอาหาร กินหลังมื้ออาหารทันที และกินนิดหน่อย พบได้มากในผลไม้ที่มีรสหวาน

Glycemic Load | ดัชนีน้ำตาลถ่วงน้ำหนัก

Glycemic Load หรือ GL หรือ ดัชนีน้ำตาลถ่วงน้ำหนัก คือ ตัวเลขค่านึงที่บอกว่าอาหารในแต่ละชนิดมีความสามารถในการปล่อยน้ำตาลเข้าร่างกายมากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับปริมาณหน่วยบริโภค

  • ค่าต่ำ (0-10) แปลว่า น้ำตาลทั้งหมดที่เข้าร่างกายมีปริมาณน้อย
  • ค่าปานกลาง (11-19) แปลว่า น้ำตาลทั้งหมดที่เข้าร่างกายมีปริมาณปานกลาง
  • ค่าสูง (20 ขึ้นไป) แปลว่า น้ำตาลทั้งหมดที่เข้าร่างกายมีปริมาณมาก

Glycemic Load คำนวณมาจาก Glycemic Index

GL = GI x ปริมาณหน่วยเป็นกรัม / 100

GL จะไม่ได้วัดแค่มิติเดียวเหมือน GI แต่จะวัดเทียบกับปริมาณด้วย ทำให้มีความละเอียดสูงกว่า ดีกว่า มีคุณภาพมากกว่า เพราะจะบอกทั้งปริมาณและคุณภาพของคาร์โบไฮเดรตในอาหารแต่ละชนิดมากน้อยขนาดไหน

ตารางอาหาร Glycemic Load เทียบกับ Glycemic Index

Glycemic Load VS Glycemic Index
ตารางเปรียบเทียบ GI GL ในอาหาร

อ้างอิงข้อมูลจาก SELF Nutrition Data

Glycemic Index VS Glycemic Load

GI

  • ดัชนีน้ำตาล
  • ค่าที่บอกว่าน้ำตาลกลูโคสออกมาเร็วแค่ไหน
  • เน้นวัดคุณภาพ
  • คนส่วนใหญ่รู้จัก
  • มีค่าตั้งแต่ 0 – 100
  • Low GI | <= 55
  • Medium GI | 56-69
  • High GI | >= 70

GL

  • ดัชนีน้ำตาลถ่วงน้ำหนัก
  • ค่าที่บอกว่าร่างกายรับน้ำตาลเข้าไปเท่าไหร่
  • วัดทั้งคุณภาพและปริมาณ
  • คนส่วนใหญ่มองข้าม
  • มีค่าตั้งแต่ 0 ขึ้นไปไม่มีที่สิ้นสุด
  • Low GL | <= 10
  • Medium GL | 11-19
  • High GL | >= 20
Glycemic Load VS Glycemic Index
Glycemic Load VS Glycemic Index

สรุป

ดูค่า GI ก่อน และดูค่า GL ตาม” อย่าดูแค่ค่าใดค่าเดียวเท่านั้น !!!

GI ต่ำไม่ได้แปลว่า GL จะต่ำ และ GL ต่ำก็ไม่ได้แปลว่า GI จะต่ำเหมือนกัน ต้องดูทั้ง 2 ค่าควบคู่กันไปเสมอ แต่ต้องดูค่า GI ก่อนเสมอ เพราะว่ามันหมายถึงคุณภาพก่อนแล้วค่อยดูปริมาณ เช่น

  • ชานมไข่มุกหวานน้อย (GI ต่ำ) แต่ดื่มวันละ 3 แก้ว (GL สูง) สุดท้ายก็ไม่ดีกับสุขภาพ
  • ข้าวกล้อง (GI ต่ำ) แต่รับประทานครั้งละ 3 ทัพพี (GL สูง) สุดท้ายก็ไม่ดีกับสุขภาพ
  • ส้ม (GI ต่ำ) แต่รับประทานครั้งละ 0.5 กิโลกรัม (GL สูง) สุดท้ายก็ไม่ดีกับสุขภาพ

อาหารเสริมช่วยลด GI และ GL

Wellness Hub – Good Gut

Good Gut คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG : Partially Hydrolyzed Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ

ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้

  • FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
  • Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
  • GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
  • Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
  • VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
  • HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
  • KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว

มีงานวิจัยเฉพาะของ PHGG (Partially Hydrolyzed Guar Gum) ทั้งในหลอดทดลอง ในสิ่งมีชีวิต และในมนุษย์ ว่ามีคุณประโยชน์ต่างๆ ดังนี้

  1. มีส่วนช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
  2. มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรง
  3. มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วน
  4. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องผูก
  5. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องเสีย
  6. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน (IBS: Irritable Bowel Sysdrome)
  7. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD: Inflammatory Bowel Disease)
  8. มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
  9. มีส่วนช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
  10. มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ
  11. มีส่วนช่วยเพิ่มกรดไขมันสายสั้น (SCFAs: Short-Chain Fatty Acids) ในลำไส้
  12. มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด
  13. มีส่วนช่วยลดค่าดัชนีน้ำตาล (GI: Glycemic Index)
  14. มีส่วนช่วยลดความโหยหลังจากมื้ออาหาร
  15. มีส่วนช่วยลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย
  16. มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C: Hemoglobin A1C)

ละลายน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ดื่มวันละ 1 ซอง

Glycemic Load VS Glycemic Index
Wellness Hub – AGEs Block

AGEs Block | อาหารเสริมลดสารเร่งชราสำหรับท่านที่มีน้ำตาลในเลือดสูงเกรดการแพทย์ มีส่วนประกอบ ดังนี้

  1. Benfotiamine (Vitamin B1) = 100mg
  2. Pyridoxamine (Vitamin B6) = 100mg
  3. Methylcobalamin (Vitamin B12) = 200 mcg
  4. Cinnamon Bark Extract = 100mg
  5. R-Lipoic Acid = 25mg
  6. 5-MTHF = 0.5mg
  7. Chromium Rice Chelate 2% = 0.05mg
  8. Vitamin D3 = 400IU

Similar Posts