น้ำตาลในเลือดสูง | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน

น้ำตาลในเลือดสูง หรือ Hyperglycemia คือ ภาวะที่ร่างกายมีปริมาณน้ำตาลในเลือดมากเกินกว่าความต้องการใช้งาน และร่างกายไม่สามารถเอาน้ำตาลเข้าไปเก็บเป็นพลังงานสำรองตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ ทำให้น้ำตาลค้างอยู่ในเลือดมากเกินไป เป็นพิษต่อหลอดเลือดและเป็นอาหารของเชื้อโรค

  • FBS | 100 mg/dL ขึ้นไป
  • HbA1C | 5.7 mg% ขึ้นไป

ค่าน้ำตาลในเลือด | ต่ำ VS ปกติ VS สูง

น้ำตาลในเลือดสูง | อาการ

  1. หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย
  2. หิวบ่อย กินบ่อยแต่ก็ไม่ค่อยมีแรง
  3. น้ำหนักลดลง
  4. การมองเห็นเริ่มมีปัญหา ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด
  5. มีอาการชาตามปลายมือปลายเท้า ปลายนิ้วมือนิ้วเท้าเริ่มซีด-ม่วง-ดำ
  6. ความดันสูงขึ้น
  7. ผิวแห้ง
  8. ติดเชื้อบ่อย เป็นแผลแล้วหายช้า

โรคเบาหวานที่มีอันตรายที่สุดคือ โรคแทรกซ้อนที่ตามมา

น้ำตาลในเลือดสูง | สาเหตุ

  1. อ้วนลงพุง | มีไขมันในช่องท้องเยอะ (Viscerol Fat) สร้างสารการอักเสบมากขึ้น
  2. กินน้ำตาลเยอะ | รับประทานอาหาร-ขนม-เครื่องดื่ม ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง ในปริมาณเยอะ
  3. กินผลไม้รสหวานเยอะ | รับประทานผลไม้ที่มีน้ำตาลฟรุกโตสในปริมาณสูง ไขมันพอกตับ อ้วนลงพุง
  4. กินจุกจิก | รับประทานอาหาร-ขนม-เครื่องดื่ม-ผลไม้ ตลอดเวลา แทบไม่มีเวลาหยุดเลย
  5. กินอิ่มจุก | รับประทานอาหาร-ขนม-เครื่องดื่ม จนอิ่มเกินไป เกินกว่าที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
  6. กินมื้อดึกบ่อย | รับประทานก่อนนอนเป็นประจำ ร่างกายไม่ได้เอาไปใช้ก็เอาไปเก็บเป็นไขมันสะสม
  7. การตั้งครรภ์ | ฮอร์โมนแปรปรวนช่วงตั้งครรภ์ส่งผลต่อการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน

เบาหวานชนิดที่ 2 VS เบาหวานชนิดที่ 1

น้ำตาลในเลือดสูง | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน
Hyperglycemia | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน

น้ำตาลในเลือดสูง | รักษา

  1. เลือกกินคาร์โบไฮเดรตที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Glycemic Index) และกินแต่พอดี (Glycemic Load)
    • ข้าว | กินแต่พอดี
      • ข้าวกล้อง
      • ข้าวกล้องงอก
      • ข้าวซ้อมมือ
      • ข้าวไรซ์เบอร์รี่
      • ข้าว กข 43
    • ขนมปังโฮลวีท | กินได้นิดหน่อย
    • ผลไม้ | กินแต่พอดี กินทั้งลูก อย่าเอามาคั้นแยกกากแล้วกินเฉพาะน้ำ
      • แอปเปิ้ล
      • ส้ม
      • ฝรั่ง
      • เชอร์รี่
      • แกนสับปะรด
  2. เพิ่มการกินกากใยอาหาร (Fiber) เข้าไปทุกมื้ออาหาร
    • ผัก
      • ผักกินใบ | เน้นกินให้มากที่สุด
      • ผักกินก้าน | เน้นกินรองลงมา
      • ผักกินหัว | กินให้น้อยที่สุด
    • ถั่ว
    • เห็ด
    • เต้าหู้
    • ธัญพืช
  3. เลิกกินน้ำตาลเกือบทุกประเภท ถ้าอยากกินจริงๆ ให้เลือกเป็นหญ้าหวานหรือหล่อฮังก๊วย
  4. เรียงลำดับการกิน กินผักก่อนเสมอ ข้าวเนื้อสัตว์ตาม ขนมหวานหรือผลไม้เป็นอย่างสุดท้าย
  5. กินอาหารเป็นมื้อ อย่ากินจุกจิก หยุดกินของว่าง มีเวลาหยุดกินระหว่างมื้อ
  6. ควบคุมช่วงเวลาการกินให้น้อยกว่าช่วงเวลาหยุดกิน (IF : Intermittent Fasting)
    • ไม่ค่อยมีกิจกรรมทางกาย | กินแค่ 2 มื้อ 08.00 / 15.00
    • มีกิจกรรมทางกาย | กินแค่ 3 มื้อ 08.00 / 12.00 / 16.00
  7. ออกกำลังกายสม่ำเสมอและหลากหลาย
    • บริหารกล้ามเนื้อ
    • บริหารหัวใจและหลอดเลือด
    • บริหารความยืดหยุ่นและข้อต่อ
  8. ลดพุง ลดไขมันในช่องท้อง ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมกับส่วนสูง (BMI = 23)
  9. บริหารความเครียดให้เหมาะสม

เบาหวานกินอะไรได้บ้าง | ควรกินอะไร? ไม่ควรกินอะไร?

น้ำตาลในเลือดสูง | ป้องกัน

  1. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
    • Glycemic Index ต่ำ และ Glycemic Load ต่ำ
    • โปรตีนจากพืชเป็นหลัก จากสัตว์เป็นรอง
    • ควบคุมสมดุล Omega-3 ต่อ Omega-6
    • Intermittent Fasting ให้เหมาะสม
    • กินพอดีอิ่มให้เป็นนิสัย อย่ากินอิ่มจุกจนเป็นนิสัย
    • ดื่มน้ำเปล่าที่มีแร่ธาตุสม่ำเสมอทั้งวัน
  2. อุจจาระทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 รอบ
  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอและหลากหลาย
  4. กลางวันตื่นตัว กลางคืนนอนหลับ
  5. บริหารอารมณ์ให้นิ่งสงบ

เบาหวาน หายได้ไหม | 3 วิธีรักษาให้หายขาด ไม่กินยา

อาหารเสริมช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด

Wellness Hub – Good Gut

Good Gut คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG : Partially Hydrolyzed Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ

ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้

  • FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
  • Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
  • GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
  • Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
  • VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
  • HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
  • KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว

มีงานวิจัยเฉพาะของ PHGG (Partially Hydrolyzed Guar Gum) ทั้งในหลอดทดลอง ในสิ่งมีชีวิต และในมนุษย์ ว่ามีคุณประโยชน์ต่างๆ ดังนี้

  1. มีส่วนช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
  2. มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรง
  3. มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วน
  4. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องผูก
  5. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องเสีย
  6. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน (IBS: Irritable Bowel Sysdrome)
  7. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD: Inflammatory Bowel Disease)
  8. มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
  9. มีส่วนช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
  10. มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ
  11. มีส่วนช่วยเพิ่มกรดไขมันสายสั้น (SCFAs: Short-Chain Fatty Acids) ในลำไส้
  12. มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด
  13. มีส่วนช่วยลดค่าดัชนีน้ำตาล (GI: Glycemic Index)
  14. มีส่วนช่วยลดความโหยหลังจากมื้ออาหาร
  15. มีส่วนช่วยลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย
  16. มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C: Hemoglobin A1C)

ละลายน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ดื่มวันละ 1 ซอง

Similar Posts