Calcium L-Threonate แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต | ดูดซึมดีที่สุดแต่ไม่ใช่ทุกอย่าง

Calcium L-Threonate หรือ แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต หรือ แคลเซียมข้าวโพด คือ แคลเซียมรูปแบบที่ถูกยอมรับในปัจจุบันว่ามีความสามารถในการดูดซึมดีที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นทุกอย่างของการสร้างกระดูกและฟัน เป็นเพียงแค่วัตถุดิบที่ดีอย่างนึงเท่านั้น ยังมีวัตถุดิบอื่นๆ และปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการสร้างกระดูก

ทุกเรื่องเกี่ยวกับ แคลเซียม (Calcium) ที่คนทั่วไปควรรู้

Calcium L-Threonate ดูดซึมดีที่สุดแต่ไม่ใช่ทุกอย่าง
แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต (Calcium L-Threonate)

Calcium L-Threonate | คืออะไร?

แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต คือ รูปแบบนึงของแคลเซียมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อรักษาภาวะโรคกระดูกพรุน จึงมีคุณสมบัติเด่นคือสามารถแตกตัวและดูดซึมได้ดีที่สุดในบรรดาแคลเซียมในรูปแบบต่างๆ นอกจากนั้นแล้วยังมีกรดแอล-ทรีโอนิก (L-Threonic Acid) ซึ่งเป็นรูปแบบนึงของวิตามินซี (Vitamin-C) ที่เป็นสารสำคัญในการสร้างคอลลาเจนในเนื้อกระดูก ทำให้ในระยะหลังๆ เริ่มเป็นที่นิยมในท้องตลาด ไม่ว่าจะเพื่อการรักษาหรือเพื่อการป้องกัน

เป็นแคลเซียมอินทรีย์ที่สกัดมาจากธรรมชาติ คือ ข้าวโพด ทำให้เป็นธรรมชาติและปลอดภัย มีโมเลกุลเล็ก ละลายน้ำได้ดี ไม่ตกตะกอนเป็นนิ่วในไต และไม่ทำให้ท้องผูก

โรคกระดูกพรุน | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน

Calcium L-Threonate | เทียบกับรูปแบบอื่น

แคลเซียม คือ แร่ธาตุที่จะไม่อยู่โดดเดี่ยว มักจะมีสารอื่นๆ มาอยู่ร่วมด้วยเสมอ ซึ่งมีผลต่อทั้งปริมาณ การแตกตัว การดูดซึม และการกระจายตัวไปในส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งมีหลายรูปแบบมาก ไม่ว่าจะเป็น

  1. แคลเซียม คาร์บอเนต (Calcium Carbonate)
  2. แคลเซียม ฟอสเฟต (Calcium Phosphate)
  3. แคลเซียม แลคเตต (Calcium Lactate)
  4. แคลเซียม แอสคอร์เบต (Calcium Ascorbate)
  5. แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต (Calcium L Threonate)
  6. แคลเซียม ซิเตรต (Calcium Citrate)
  7. แคลเซียม ซิเตรต มาเลต (Calcium Citrate Malate)
  8. แคลเซียม กลูโคเนต (Calcium Gluconate)

แต่ผมจะเลือกเฉพาะรูปแบบของแคลเซียมเด่นๆ และหาง่ายในท้องตลาดมาเปรียบเทียบให้เห็น ดังนี้

กระดูกหัก | ควรกินอะไร ห้ามกินอะไร รักษากี่เดือน

Calcium L-Threonate ดูดซึมดีที่สุดแต่ไม่ใช่ทุกอย่าง
Calcium Carbonate VS Calcium Citrate VS Calcium L-Threonate

แคลเซียม คาร์บอเนต | เป็นรูปแบบของแคลเซียมที่มีมากที่สุดในท้องตลาด สกัดมาจากหินปูน มีสัดส่วนแคลเซียมสูงถึง 40% ควรกินพร้อมมื้ออาหารเพราะจะทำให้แตกตัวได้ดีที่สุด นอกจากนั้นแล้วยังต้องการวิตามินดี (Vitamin-D) เพื่อเป็นสารร่วมในการดูดซึมที่ลำไส้เล็ก

สุดท้ายร่างกายจะได้รับแคลเซียมเข้าไปในกระแสเลือด 10% จากที่กินเข้าไป

แคลเซียม ซิเตรต | เป็นรูปแบบของแคลเซียมที่มีน้อยลงมาในท้องตลาด เกิดจากการสังเคราะห์ขึ้นมา มีสัดส่วนแคลเซียม 21% ต้องกินพร้อมมื้ออาหารเท่านั้นเพราะจำเป็นต้องอาศัยน้ำย่อยในการทำให้แตกตัวในกระเพาะอาหาร นอกจากนั้นแล้วไม่จำเป็นต้องมีวิตามินดี (Vitamin-D) เพื่อทำให้ดูดซึมที่ลำไส้เล็ก

สุดท้ายร่างกายจะได้รับแคลเซียมเข้าไปในกระแสเลือด 50% จากที่กินเข้าไป

แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต | เป็นรูปแบบของแคลเซียมที่มีน้อยที่สุดในท้องตลาด สกัดมาจากข้าวโพด มีสัดส่วนแคลเซียมประมาณ 15-20% ไม่จำเป็นต้องกินพร้อมมื้ออาหาร สามารถกินตอนไหนก็ได้ เพราะแตกตัวดีที่สุด นอกจากนั้นแล้วไม่จำเป็นต้องมีวิตามินดี (Vitamin-D) เพื่อทำให้ดูดซึมที่ลำไส้เล็ก

สุดท้ายร่างกายจะได้รับแคลเซียมเข้าไปในกระแสเลือด 95% จากที่กินเข้าไป

Calcium L-Threonate | อยู่ผิดที่มีปัญหา

ร่างกายต้องการแร่ธาตุแคลเซียมในทุกๆ วันก็จริง แร่ธาตุแคลเซียมสำคัญและจำเป็นสำหรับร่างกายก็จริง แต่ถ้าแคลเซียมเข้าไปในร่างกายแล้วไปอยู่ผิดที่แทนที่จะกลายเป็นผลดีกลับกลายเป็นผลเสีย

การเดินทางของแคลเซียมซึ่งได้รับจากภายนอกร่างกายจนเข้าไปในร่างกาย มีดังนี้

  1. ได้รับจากอาหารตามธรรมชาติหรืออาหารเสริม
  2. กลืนเข้าปาก
  3. เข้าไปแตกตัวที่กระเพาะอาหาร
  4. ดูดซึมเข้าร่างกายที่ลำไส้เล็ก
  5. เข้าสู่ร่างกายผ่านกระแสเลือด
  6. แทบจะทั้งหมดควรเข้าไปเก็บที่กระดูกและฟัน มีเหลือเล็กน้อยอยู่ในกระแสเลือดเพื่อเอาไว้ใช้งาน

แคลเซียมถึงแม้จะสำคัญและจำเป็นสำหรับร่างกาย แต่ถ้าไปอยู่ผิดที่ก็จะกลายเป็นโทษทันที เราต้องการให้แคลเซียมแทบจะทั้งหมดไปอยู่ในกระดูกและฟัน (99%) และแคลเซียมอีกนิดหน่อยไปอยู่ในกระแสเลือด (1%) แต่เราไม่ต้องการให้แคลเซียมไปเกาะที่ผนังของหลอดเลือดเพราะจะทำให้หลอดเลือดแข็งตัว เปรียบเหมือนสายยางที่ตากแดดจนแข็ง-กรอบ พร้อมที่จะปริแตกได้ตลอดเวลา

การตรวจหาแคลเซียมหรือหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Calcium Score) คือ การตรวจปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan) ใช้เวลาตรวจน้อย และให้ความแม่นยำสูง

การตรวจหาแคลเซียมหรือหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ จึงเป็นการดูปริมาณแคลเซียมที่เกาะภายในผนังหลอดเลือดแดง เพื่อใช้บอกแนวโน้มของโอกาสในการที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ว่ามีมากน้อยเพียงใด ก่อนที่จะมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูง

แคลเซียม ยี่ห้อไหนดี | วิธีเลือกซื้อและวิธีกิน

Calcium L-Threonate | ปัจจัยในการสร้างกระดูก

แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต คือ รูปแบบของแคลเซียมที่ดูดซึมดีที่สุดก็จริง แต่ไม่ใช่ทั้งหมดของการดูแลสุขภาพร่างกาย เราต้องพยายามทำให้แคลเซียมที่ดูดซึมดีที่สุดแล้วเข้าไปเก็บในกระดูกและฟัน พยายามรักษากระดูกและฟันให้แข็งแรงอยู่ตลอดเวลา

แคลเซียม กินตอนไหน? กินวันละเท่าไหร่?

อะไรบ้าง…ที่ทำลายกระดูก

  • น้ำอัดลม กาแฟ ชา เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ | น้ำอัดลม-กาแฟ-ชา-เหล้า-เบียร์-ไวน์ เครื่องดื่มทั้งหมดเหล่านี้จะค่อยๆ ย่อยสลายกระดูกให้บางลง
  • น้ำรีเวอร์สออสโมซิส | น้ำรีเวอร์สออสโมซิส (RO: Reverse Osmosis) คือ น้ำที่สะอาดเกินไป ไม่มีแร่ธาตุอะไรหลงเหลืออยู่แล้ว ไม่ต่างอะไรกับน้ำกลั่น ซึ่งทุกคนก็รู้ดีว่าน้ำกลั่นไม่สามารถเอามาดื่มได้ เอาไปใช้เติมแบตเตอรี่รถยนต์ได้เท่านั้น น้ำรีเวอร์สออสโมซิสก็เหมือนกัน ถ้าดื่มเข้าไปจะค่อยๆ สลายกระดูกออกมา ทำให้กระดูกบางลงทีละนิดๆ
  • อาหารรสเค็มสูง | เกลือโซเดียม (Sodium) ที่อยู่ในอาหารรสเค็มสูง จะเข้าไปกร่อนแคลเซียมในกระดูกทำให้กระดูกค่อยๆ บางลง
  • เครียดมากเกินไป | ความเครียดเชิงลบ ความเครียดที่มากเกินไป จะเข้าไปย่อยสลายกระดูกออกมาทีละนิดๆ

อะไรบ้าง…ที่บำรุงกระดูก

  • อาหารหลักครบตามที่ร่างกายต้องการทุกวัน | อาหารหลัก 7 หมู่ (คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ น้ำ โพรไบโอติค) คือ สิ่งที่ร่างกายต้องการทุกวันเพื่อเอาไปเป็นวัตถุดิบในการสร้างเซลล์ใหม่
  • แคลเซียม | แคลเซียม คือ แร่ธาตุหลักของกระดูก ร่างกายต้องการได้รับทุกวัน
  • แมกนีเซียม | แมกนีเซียม คือ แร่ธาตุที่จะช่วยพาแคลเซียมให้เข้าไปที่กระดูก ลำพังแคลเซียมอย่างเดียวจะเข้าไปกระดูกลำบาก ต้องอาศัยแร่ธาตุอื่นร่วมด้วย
  • วิตามินดี | วิตามินดีช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในกระเพาะอาหาร
  • โบรอน | แร่ธาตุโบรอน สำคัญและจำเป็นที่จะช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูก
  • วิตามินซี | วิตามินซี คือ ตัวแปรร่วมนึงที่ช่วยทำให้ร่างกายสร้างคอลลาเจนในกระดูก
  • นอนหลับให้มีคุณภาพ | นอกเหนือจากโภชนาการที่ดีแล้วการนอนหลับที่ดีก็เป็นอีกปัจจัยนึงที่จะทำให้ร่างกายสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนเซลล์เก่าที่มีปัญหาได้ดี
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ | การใช้งานร่างกายอย่างสม่ำเสมอเป็นการกระตุ้นทำให้กระดูกแข็งแรง

อาหารเสริมแคลเซียมอย่างดี

BeCal – บีแคล

BeCal คือ อาหารเสริมแคลเซียมที่ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ

แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต (Calcium L Threonate) คือ รูปแบบของแคลเซียมที่สกัดมาจากข้าวโพด ทำให้สามารถดูดซึมได้ดีกว่าแคลเซียมแบบทั่วๆ ไป มากถึง 9 เท่า นอกจากนั้นแล้วยังมีส่วนผสมอื่นๆ ที่ช่วยทำให้แคลเซียมเข้าไปที่กระดูกและฟัน ดังนี้

  • แมกนีเซียม (Magnesium) | ช่วยพาแคลเซียมเข้ากระดูกและฟัน ช่วยทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย-ลดตะคริว
  • วิตามินดีสาม (Vitamin D-3) | ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในกระเพาะอาหาร ช่วยลดความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุ
  • วิตามินเคสอง (Vitamin K-2) | ช่วยพาแคลเซียมที่เกาะหลอดเลือดเข้าสู่กระดูก ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน
  • วิตามินซี (Vitamin C) | ช่วยเพิ่มการสร้างคอลลาเจน ช่วยยับยั้งการสลายของกระดูก
  • แมงกานีส (Manganese) | ช่วยทำให้กระดูกพัฒนาและแข็งแรง
  • วิตามินบี (Vitamin B) | ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง ลดความเสี่ยงในการเกิดกระดูกพรุน
  • โบรอน (Boron) | ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน

สามารถทานเวลาไหนก็ได้ เพราะไม่อึดท้อง ไม่ท้องผูก ไม่จำเป็นต้องใช้กรดในกระเพาะอาหาร

Youtube : Calcium L. Threonate ดูดซึมดีที่สุดแต่ไม่ใช่ทุกอย่าง

Similar Posts