Calcium – แคลเซียม | กินตอนไหน? กินวันละเท่าไหร่?

แคลเซียม กินตอนไหน | วิธีรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมให้ได้รับประโยชน์สูงสุด

แคลเซียม กินตอนไหน | วิธีรับประทาน

แคลเซียม คือ แร่ธาตุที่จะไม่อยู่โดดเดี่ยว มักจะมีสารอื่นๆ มาอยู่ร่วมด้วยเสมอ ซึ่งมีผลต่อทั้งปริมาณ การแตกตัว การดูดซึม และการกระจายตัวไปในส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งมีหลายรูปแบบมาก ไม่ว่าจะเป็น

  1. แคลเซียม คาร์บอเนต (Calcium Carbonate)
  2. แคลเซียม ฟอสเฟต (Calcium Phosphate)
  3. แคลเซียม แลคเตต (Calcium Lactate)
  4. แคลเซียม แอสคอร์เบต (Calcium Ascorbate)
  5. แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต (Calcium L Threonate)
  6. แคลเซียม ซิเตรต (Calcium Citrate)
  7. แคลเซียม ซิเตรต มาเลต (Calcium Citrate Malate)
  8. แคลเซียม กลูโคเนต (Calcium Gluconate)

แต่จะมีอยู่ 3 รูปแบบเด่นและหาซื้อง่ายตามท้องตลาด คือ

Carbonate

  • แคลเซียมคาร์บอเนต
  • สกัดจากหินปูน
  • ควรกินพร้อมอาหาร

Citrate

  • แคลเซียมซิเตรต
  • สังเคราะห์ขึ้นมา
  • ต้องกินพร้อมอาหาร

L-Threonate

  • แคลเซียมแอล-ทรีโอเนต
  • สกัดจากข้าวโพด
  • กินตอนไหนก็ได้

แคลเซียม ยี่ห้อไหนดี | วิธีเลือกซื้อและวิธีกิน

แคลเซียม กินตอนไหน? กินวันละเท่าไหร่?
เปรียบเทียบแคลเซียมในรูปแบบหลัก

แคลเซียม กินตอนไหน | กินวันละเท่าไหร่

ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 หรือ Thai RDI: Dietary Reference Intake for Thais 2020 ซึ่งจัดทำโดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข คือ

  • อายุ 0-5 เดือน | 210 มิลลิกรัม/วัน
  • อายุ 6-11 เดือน | 260 มิลลิกรัม/วัน
  • อายุ 1-3 ปี | 500 มิลลิกรัม/วัน
  • อายุ 4-8 ปี | 800 มิลลิกรัม/วัน
  • อายุ 9-18 ปี | 1,000 มิลลิกรัม/วัน
  • อายุ 19-50 ปี | 800 มิลลิกรัม/วัน
  • อายุ 51-70 ปี | 1,000 มิลลิกรัม/วัน
  • อายุมากกว่า 70 ปี | 1,000 มิลลิกรัม/วัน
  • หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร | 1,000 มิลลิกรัม/วัน สำหรับมารดาที่อายุน้อยกว่า 18 ปี และ 800 มิลลิกรัม/วัน สำหรับมารดาที่อายุ 19-50 ปี

เราต้องได้รับแคลเซียมจากภายนอกเข้าไปเท่านั้นเพราะร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้ ซึ่งก็มีอยู่แค่ 2 ทาง คือ อาหารตามธรรมชาติและอาหารเสริม แต่ให้เน้นอาหารตามธรรมชาติก่อนอาหารเสริม

ทุกเรื่องเกี่ยวกับ แคลเซียม (Calcium) ที่คนทั่วไปควรรู้

แคลเซียม กินตอนไหน? กินวันละเท่าไหร่?
วิธีรับประทานอาหารเสริมแคลเซียม

แคลเซียม กินตอนไหน | ผลข้างเคียง

แคลเซียมถึงแม้จะสำคัญและจำเป็นสำหรับร่างกาย แต่ถ้าไปอยู่ผิดที่ก็จะกลายเป็นโทษทันที เราต้องการให้แคลเซียมแทบจะทั้งหมดไปอยู่ในกระดูกและฟัน (99%) และแคลเซียมอีกนิดหน่อยไปอยู่ในกระแสเลือด (1%) แต่เราไม่ต้องการให้แคลเซียมไปเกาะที่ผนังของหลอดเลือดเพราะจะทำให้หลอดเลือดแข็งตัว

กินแคลเซียมต้องทำให้แคลเซียมเข้าไปเก็บที่กระดูก ไม่ใช่ไปเกาะหลอดเลือด !!!

การตรวจหาแคลเซียมหรือหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Calcium Score) คือ การตรวจปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan) เป็นการดูปริมาณแคลเซียมที่เกาะภายในผนังหลอดเลือดแดง เพื่อใช้บอกแนวโน้มของโอกาสในการที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ว่ามีมากน้อยเพียงใด ก่อนที่จะมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูง

Calcium L-Threonate ดูดซึมดีที่สุดแต่ไม่ใช่ทุกอย่าง

แคลเซียม กินตอนไหน | เก็บยังไง

ความร้อน อากาศ ความชื้น” เป็นตัวแปรที่ทำให้ทุกอย่างเสื่อมสภาพเร็ว รวมถึงอาหารเสริมแคลเซียมด้วย

  • แบบขวด | ปิดฝาให้สนิท ดีที่สุดเก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา ถ้าไม่สะดวกเก็บที่แห้ง-เย็น-ไม่โดนแดด
  • แบบแผง | ใส่ในกล่อง ดีที่สุดเก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา ถ้าไม่สะดวกเก็บที่แห้ง-เย็น-ไม่โดนแดด

โรคกระดูกพรุน | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน

อาหารเสริมแคลเซียมเกรดพรีเมียม

BeCal – บีแคล

BeCal คือ อาหารเสริมแคลเซียมที่ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ

แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต (Calcium L-Threonate) คือ รูปแบบของแคลเซียมที่สกัดมาจากข้าวโพด ทำให้สามารถดูดซึมได้ดีกว่าแคลเซียมแบบทั่วๆ ไป มากถึง 9 เท่า นอกจากนั้นแล้วยังมีส่วนผสมอื่นๆ ที่ช่วยทำให้แคลเซียมเข้าไปที่กระดูกและฟัน ดังนี้

  • แมกนีเซียม (Magnesium) | ช่วยพาแคลเซียมเข้ากระดูกและฟัน ช่วยทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย-ลดตะคริว
  • วิตามินดีสาม (Vitamin D-3) | ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในกระเพาะอาหาร ช่วยลดความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุ
  • วิตามินเคสอง (Vitamin K-2) | ช่วยพาแคลเซียมที่เกาะหลอดเลือดเข้าสู่กระดูก ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน
  • วิตามินซี (Vitamin C) | ช่วยเพิ่มการสร้างคอลลาเจน ช่วยยับยั้งการสลายของกระดูก
  • แมงกานีส (Manganese) | ช่วยทำให้กระดูกพัฒนาและแข็งแรง
  • วิตามินบี (Vitamin B) | ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง ลดความเสี่ยงในการเกิดกระดูกพรุน
  • โบรอน (Boron) | ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน

สามารถทานเวลาไหนก็ได้ เพราะไม่อึดท้อง ไม่ท้องผูก ไม่จำเป็นต้องใช้กรดในกระเพาะอาหาร

แคลเซียม กินตอนไหน? กินวันละเท่าไหร่?
Vitamin K2 | วิตามินเคสอง

Vitamin K2 หรือ วิตามินเคสอง คือ วิตามินสำคัญและจำเป็นในหลายปฎิกิริยาในร่างกาย การพร่องไปของวิตามินชนิดนี้สัมพันธ์กับโรคเสื่อมทั้งหลาย

Pharma Nord | อาหารเสริมวิตามินเคสองเกรดการแพทย์ มีรายละเอียด ดังนี้

ส่วนประกอบ

  1. K2 VITAL 5% MCT Oil = 1.5mg

ประโยชน์

  1. มีส่วนช่วยทำให้ป้องกันริ้วรอยและชะลอการเสื่อมชรา
  2. มีส่วนช่วยทำให้ลดการแข็งตัวของหลอดเลือดเนื่องมาจากแคลเซียม
  3. มีส่วนช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสมดุล
  4. มีส่วนช่วยทำให้ประสิทธิภาพในการออกกำลังกายสูงขึ้น
  5. มีส่วนช่วยทำให้ลดอาการถุงน้ำในรังไข่หลายใบ
  6. มีส่วนช่วยทำให้เพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเทอโรน
  7. มีส่วนช่วยทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไต
  8. มีส่วนช่วยทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง
  9. มีส่วนช่วยทำให้สมองทำงานสมบูรณ์และชะลอการเสื่อมชราของสมอง

ขนาดบรรจุ | 150 เม็ด

Similar Posts