โรคกระดูกพรุน | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน

โรคกระดูกพรุน หรือ Osteoporosis คือ โรคที่เกิดจากความหนาแน่นและมวลของกระดูกลดลง จนทำให้เกิดกระดูกเสื่อม กระดูกบาง กระดูกผิดรูป และมีโอกาสแตกหักได้ง่าย ในผู้ป่วยบางรายโรคกระดูกพรุนมีผลให้ส่วนสูงลดลงเนื่องจากกระดูกสึกแล้วยุบลง ผลจากโรคกระดูกพรุนคือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก เนื่องจากกระดูกมีความสามารถรับน้ำหนักลดลงถึงแม้ว่าจะใช้ชีวิตปกติเหมือนเดิม

นายแพทย์ปาลพัทธ อนันต์พิพัฒน์กิจ | ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ จะมาไขข้อสงสัยในทุกๆ มิติของภาวะกระดูกพรุนที่คนส่วนใหญ่อยากรู้ และสิ่งที่คนส่วนใหญ่ควรที่จะต้องรู้

ทุกเรื่องเกี่ยวกับ แคลเซียม (Calcium) ที่คนทั่วไปควรรู้

โรคกระดูกพรุน | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน
นพ. ปาลพัทธ อนันต์พิพัฒน์กิจ | ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์

โรคกระดูกพรุน | อาการ

กระดูกพรุนไม่มีอาการอะไรแสดงออกมาทางร่างกายที่ทำให้รู้ตัวเลย จะรู้ตัวอีกทีก็ตอนที่มีภาะวะแทรกซ้อนเข้ามาแล้ว เช่น กระดูกหักหรือกระดูกยุบ เจ้าตัวถึงจะรู้ตัวว่าตัวเองเป็นโรคกระดูกพรุนอยู่ เลยถูกขนานนามว่าเป็นภัยเงียบที่ซ่อนอยู่รอเวลาเปิดตัว

ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ปี2561 | พบว่าคนไทยมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ถึง 90% และ 1 ใน 3 ของผู้หญิงที่อายุเกิน 60 ปี และ 1 ใน 5 ของผู้ชายที่อายุเกิน 60 ปี มีปัญหากระดูกพรุนอยู่ และที่สําคัญที่สุด 90% ของคนที่เป็นโรคกระดูกพรุนไม่รู้ตัวเองว่ากำลังเป็นโรคอยู่

ข้อมูลจากมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ | ถ้ามีภาวะกระดูกพรุนแล้วไม่ได้รักษาจะมีโอกาสเกิดกระดูกหักได้ โดยพบว่าคนที่มีกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนมีโอกาสที่จะเกิดการหักซ้ําได้อีกถึง 50% สําหรับคนที่มีกระดูกสะโพกหัก มีโอกาสเสียชีวิตได้ถึง 20% ในระยะเวลา 1 ปี และถ้ารอดชีวิตจําเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือในการดําเนินชีวิตประจําวันอีกถึง 60%

มองกันที่ภายนอก ไม่มีใครรู้เลยว่ากำลังเป็นโรคกระดูกพรุนอยู่ !!!

แคลเซียม ยี่ห้อไหนดี | วิธีเลือกซื้อและวิธีกิน

โรคกระดูกพรุน | สาเหตุ

ภาวะกระดูกพรุนเกิดได้จากหลายสาเหตุที่ทําให้มวลกระดูกลดลง โดยเกิดร่วมกันกับโครงสร้างกระดูกที่เปลี่ยนแปลง โดยมีดังนี้

  1. อายุที่มากขึ้น
  2. ฮอร์โมนที่ลดลง โดยเฉพาะเพศหญิงหลังหมดประจําเดือน
  3. ประวัติกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนของคนในครอบครัว
  4. การไม่ออกกําลังกาย
  5. การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ
  6. ได้รับสารอาหารไม่ครบตามที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน โดยเฉพาะแคลเซียม
  7. ภาวะน้ําหนักตัวน้อยเกินไป
  8. โรคบางโรค เช่น โรคไทรอยด์ฮอร์โมนสูง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  9. การกินยารักษาโรค เช่น ยากันชัก ยาสเตอรอยด์

ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ข้างต้น ทำให้มวลกระดูกลดลง ยิ่งมีปัจจัยเสี่ยงมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงมาก บางอย่างเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้…ก็ต้องปล่อยไปตามธรรมชาติ บางอย่างเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้…ถ้าควบคุมให้ไม่มีได้ ก็ยิ่งดี

แคลเซียม กินตอนไหน? กินวันละเท่าไหร่?

โรคกระดูกพรุน | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน
กระดูกพรุน (Osteoporosis)

โรคกระดูกพรุน | รักษา

อย่างแรกต้องเข้าไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษา โดยแผนการรักษาจะขึ้นกับหลายๆ ปัจจัย เช่น โรคประจําตัว อายุ เพศ โดยหลักๆ จะมีอยู่ 2 ส่วน คือ

  1. การรักษาโดยการใช้ยา | เป็นหน้าที่ของหมอเฉพาะทางวินิจฉัยและวางแผนการรักษา
  2. การรักษาโดยการไม่ใช้ยา | เป็นหน้าที่ของคนไข้ที่จะปฎิบัติตัวในแต่ละวัน

คนไข้บางรายอาจจะจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อการรักษา ในขณะที่คนไข้บางรายอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อการรักษา ทั้งหมดนี้เป็นหน้าที่ของแพทย์เฉพาะทางในการประเมินและวางแผน แต่สิ่งที่เหมือนกันทั้ง 2 วิธี คือคนไข้จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในแต่ละวัน เพื่อสนับสนุนทำให้เกิดการสร้างเนื้อกระดูกขึ้นมา ลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการสลายกระดูก และลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกหัก ซึ่งทั้งหมดมีดังนี้

  1. ได้รับสารอาหารหลัก 5 หมู่ ให้เพียงพอในแต่ละวัน
  2. โดยเฉพาะแคลเซียม ปริมาณ 1,000-1,500 มิลลิกรัม/วัน
  3. ออกกำลังกายสร้างเสริมกล้ามเนื้อเพื่อมารองรับแรงจากการใช้งานในแต่ละวัน
  4. ออกกำลังกายสร้างความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อเพื่อมารองรับการทรงตัวจากการใช้ชีวิตประจำวัน
  5. ระมัดระวังกิจกรรมทางกายที่อาจจะทำให้พลัดตกหกล้ม
  6. ลดการสูบบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ

กระดูกหัก | ควรกินอะไร ห้ามกินอะไร รักษากี่เดือน

โรคกระดูกพรุน | ป้องกัน

เนื่องจากโรคกระดูกพรุนไม่มีอาการอะไรแสดงออกมาเลย ยกเว้นมีภาวะแทรกซ้อนอย่างกระดูกหักเกิดขึ้นแล้ว เราถึงจะรู้ว่าตัวเองเป็นโรคกระดูกพรุน การดูจากภายนอกไม่มีใครสามารถรู้ได้เลยว่าเป็นหรือไม่เป็นโรคกระดูกพรุนอยู่ เพราะฉะนั้นอย่างแรกที่แนะนำคือการเข้าไปหาแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจร่างกายดูว่าเป็นโรคกระดูกพรุนอยู่หรือเปล่า โดยจะมีขั้นตอนตั้งแต่การซักประวัติส่วนตัว คนในครอบครัว ตรวจร่างกาย และตรวจมวลกระดูกเพื่อดูความแข็งแรง โดยข้อบ่งชี้ในการตรวจมีดังนี้

  1. ผู้หญิงที่มีอายุ ตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป
  2. ผู้ชายที่มีอายุ ตั้งแต่ 70 ปี ขึ้นไป
  3. ผู้หญิงที่ประจำเดือนหมด ก่อนอายุ 45 ปี
  4. ผู้ที่คนในครอบครัวมีภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน

ถ้าผลตรวจออกมาว่ายังไม่เป็นโรคกระดูกพรุน หรือคนที่ยังไม่ได้ตรวจ ทั้งหมดสามารถดูแลตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสนับสนุนทำให้กระดูกแข็งแรง ลดความเสี่ยงต่างๆ ที่ทำให้กระดูกเสื่อม กระดูกบาง และกระดูกพรุน ดังนี้

  1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยออกกำลังกายแบบที่มีแรงกระแทกบ้าง
  2. ได้รับสารอาหารให้เพียงพอในแต่ละวัน โดยเฉพาะโปรตีน แคลเซียม และวิตามินดี
  3. ลด-ละ-เลิก การสูบบุหรี่
  4. ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ น้ำอัดลม
  5. ลดการกินอาหารรสเค็มจัด
  6. พยายามรักษาโรคประจำตัวให้หายขาด อย่าให้ต้องมีกินยาอะไรเป็นประจำถ้าไม่จำเป็นจริงๆ
  7. พิจารณาใช้ฮอร์โมนเสริมจากภายนอกในผู้หญิงหมดประจำเดือนบางราย

การป้องกัน คือ การรักษาที่ดีที่สุด

Sarcopenia | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน

BeCal – บีแคล

อาหารเสริมแคลเซียมอย่างดี

BeCal คือ อาหารเสริมแคลเซียมที่ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ

แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต (Calcium L-Threonate) คือ รูปแบบของแคลเซียมที่สกัดมาจากข้าวโพด ทำให้สามารถดูดซึมได้ดีกว่าแคลเซียมแบบทั่วๆ ไป มากถึง 9 เท่า นอกจากนั้นแล้วยังมีส่วนผสมอื่นๆ ที่ช่วยทำให้แคลเซียมเข้าไปที่กระดูกและฟัน ดังนี้

  • แมกนีเซียม (Magnesium) | ช่วยพาแคลเซียมเข้ากระดูกและฟัน ช่วยทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย-ลดตะคริว
  • วิตามินดีสาม (Vitamin D-3) | ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในกระเพาะอาหาร ช่วยลดความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุ
  • วิตามินเคสอง (Vitamin K-2) | ช่วยพาแคลเซียมที่เกาะหลอดเลือดเข้าสู่กระดูก ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน
  • วิตามินซี (Vitamin C) | ช่วยเพิ่มการสร้างคอลลาเจน ช่วยยับยั้งการสลายของกระดูก
  • แมงกานีส (Manganese) | ช่วยทำให้กระดูกพัฒนาและแข็งแรง
  • วิตามินบี (Vitamin B) | ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง ลดความเสี่ยงในการเกิดกระดูกพรุน
  • โบรอน (Boron) | ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน

สามารถทานเวลาไหนก็ได้ เพราะไม่อึดท้อง ไม่ท้องผูก ไม่จำเป็นต้องใช้กรดในกระเพาะอาหาร

Youtube : โรคกระดูกพรุน | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน

Similar Posts