Brain Reward System | ระบบการให้รางวัลของสมอง

Brain Reward System / Brain Reward Circuit หรือ ระบบการให้รางวัลของสมอง คืออะไร? ถ้ามีการตอบสนองที่มากเกินไปจะเกิดอะไรขึ้น? ถ้ามีการตอบสนองที่น้อยเกินไปจะเกิดอะไรขึ้น?

Brain Reward System | ระบบการให้รางวัลของสมอง
Brain Reward System | ระบบการให้รางวัลของสมอง

Brain Reward System | คืออะไร?

ปี 1953 | James Olds นักวิทยาจิตวิทยาชาวอเมริกาและ Peter Milner นักประสาทวิทยาชาวแคนาดา ได้ค้นพบระบบสมองการให้รางวัลของสมอง ซึ่งก็คือระบบการให้ความรู้สึก “พึงพอใจ” หรือ “มีความสุข” เมื่อได้รับสิ่งกระตุ้น และจะทำให้เกิด “ความต้องการ” ที่จะได้รับสิ่งนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก

สิ่งกระตุ้น | ปัจจัยภายนอกร่างกาย มีตั้งแต่สิ่งที่เป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับสิ่งมีชีวิต และระดับที่สูงกว่า ไม่ว่าจะเป็น อาหาร ความสัมพันธ์ เซ็กซ์ เกมส์ การพนัน น้ำตาล ยาเสพย์ติด การยอมรับ

รางวัล | โดปามีน (Dopamine) เป็นสารสื่อประสาทในสมองที่หลั่งออกมาเมื่อสิ่งกระตุ้นได้รับการตอบสนอง ผลลัพธ์เลยทำให้เกิดความรู้สึกพึงพอใจ-มีความสุข

Brain Reward System | มากเกินไป-น้อยเกินไป

มนุษย์ควรมีสิ่งกระตุ้นและการให้รางวัลในระดับที่พอดีเพื่อให้ชีวิตดำเนินต่อไปได้ ถ้าไม่มีเลยก็ชีวิตไม่มีความสุข แต่ถ้ามีมากเกินไปก็กลายเป็นเสพย์ติด

น้อยเกินไป = ไม่มีความสุข

พอดี = รางวัล

มากเกินไป = เสพย์ติด

การทดลองในหนู | มีการฝังตัวกระตุ้นเล็กๆ ในสมองของหนูส่วน Septum และ Nucleus Accumbens แล้วพ่วงเข้ากับคันโยกเพื่อให้หนูสามารถกดเองได้ พบว่าหนูมีการกดคันโยกนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก มากถึง 2,000 ครั้ง/ชั่วโมง

การทดลองในมนุษย์ | มีการฝังตัวกระตุ้นเล็กๆ ในสมองของผู้ป่วยด้านจิตเวช แล้วพ่วงเข้ากับปุ่มกดเพื่อให้สามารถกดเองได้ พบว่าผู้ป่วยอธิบายความรู้สึกหลังจากกดปุ่มว่ารู้สึกดี มีความสุข คล้ายกับการถึงจุดสุดยอดเมื่อมีการร่วมเพศ

การทำงานของสมองด้านความพึงพอใจและการเสพย์ติด

Brain Reward System | โดปามีนและลำไส้

Gut-Brain Axis | ลำไส้กับสมองมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน สื่อสารต่อกันและกัน ส่งผลซึ่งกันและกัน การทำงานของลำไส้ก็มีผลต่อสมอง และการทำงานของสมองก็มีผลต่อลำไส้ เรียกได้ว่าทั้ง 2 อวัยวะมีการเชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออก

ลำไส้ถูกเปรียบเทียบว่าเป็นสมองที่ 2 ของร่างกาย เพราะว่า

  1. ลำไส้เป็นแหล่งผลิตสารสื่อประสาทมากกว่า 30 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่สามารถพบได้ที่ระบบประสาทส่วนกลาง เช่น Acetylecholine, Dopamine และ Serotonin โดยที่
    • 90% ของ Serotonin ในร่างกาย ถูกผลิตที่ลำไส้
    • 50% ของ Dopamine ในร่างกาย ถูกผลิตที่ลำไส้
  2. ในสมองมีเซลล์ประสาท (Neuron) ~100,000 ล้านเซลล์ ในลำไส้มีเซลล์ประสาท ~500 ล้านเซลล์ ซึ่งมากกว่าไขสันหลัง (Spinal Cord) หรือระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nervous System)
  3. ในลำไส้มีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย เชื้อรา และอื่นๆ โดยที่จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งมีผลต่อสุขภาพโดยรวมทั่วร่างกาย สิ่งมีชีวิตทั้งหมดมีปริมาณล้านล้านตัว น้ำหนักรวม ~1.5 กิโลกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับน้ำหนักสมอง

อาหารเสริมสำหรับแหล่งผลิตโดปามีน

Wellness Hub – Good Gut

Good Gut คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG : Partially Hydrolyzed Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ

ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้

  • FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
  • Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
  • GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
  • Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
  • VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
  • HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
  • KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว

มีงานวิจัยเฉพาะของ PHGG (Partially Hydrolyzed Guar Gum) ทั้งในหลอดทดลอง ในสิ่งมีชีวิต และในมนุษย์ ว่ามีคุณประโยชน์ต่างๆ ดังนี้

  1. มีส่วนช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
  2. มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรง
  3. มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วน
  4. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องผูก
  5. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องเสีย
  6. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน (IBS: Irritable Bowel Sysdrome)
  7. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD: Inflammatory Bowel Disease)
  8. มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
  9. มีส่วนช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
  10. มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ
  11. มีส่วนช่วยเพิ่มกรดไขมันสายสั้น (SCFAs: Short-Chain Fatty Acids) ในลำไส้
  12. มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด
  13. มีส่วนช่วยลดค่าดัชนีน้ำตาล (GI: Glycemic Index)
  14. มีส่วนช่วยลดความโหยหลังจากมื้ออาหาร
  15. มีส่วนช่วยลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย
  16. มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C: Hemoglobin A1C)

ละลายน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ดื่มวันละ 1 ซอง

Similar Posts