Anti Aging | ภาษาคนธรรมดาที่ไม่ใช่หมอ

เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (Anti-Aging and Regenerative Medicine) คืออะไร? เกี่ยวกับอะไร? ดียังไง? ลองมาฟังภาษาคนธรรมดาที่ไม่ใช่กันดูครับ

ภาษาไทย

เวชศาสตร์ = ศาสตร์หรือวิชาในการรักษาโรค

ชะลอวัย = ชะลอหรือยับยั้งทำให้ช้าลง

ฟื้นฟูสุขภาพ = ทำให้สุขภาพดีขึ้นมาอีกครั้ง

ภาษาอังกฤษ

Anti = ยับยั้ง (อเมริกัน อ่านว่า แอนทาย / อังกฤษ อ่านว่า แอนตี้)

Aging = การแก่ชรา การเสื่อมถอยของร่างกาย

Regenerative = ทำให้เกิดขึ้นใหม่ สร้างใหม่

Medicine = การแพทย์

เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ หมายถึง การแพทย์อย่างนึงที่สนใจว่าจะทำยังไงให้ยับยั้งการเสื่อมถอยของร่างกาย ชะลอการแก่ชราของร่างกายให้ช้าลง

Anti Aging | การเสื่อมของร่างกาย

โดยที่ลงไปสนใจศึกษาส่วนที่เล็กที่สุดของร่างกาย ก็คือ เซลล์ เพราะเมื่อส่วนที่เล็กที่สุดทำงานสมบูรณ์ดีแล้ว ร่างกายที่เป็นส่วนประกอบของเซลล์หลายเซลล์ก็จะทำงานสมบูรณ์ดีไปด้วย

เปรียบเทียบให้เห็นภาพมากขึ้น สมมติว่าร่างกายเหมือนรถยนต์คันนึง ทุกคนจะได้รับรถยนต์ใหม่ป้ายแดงทันทีที่เกิดมาจากท้องแม่ สิ่งที่คนทุกคนเหมือนกันคือได้รับรถยนต์ใหม่แต่สิ่งที่ไม่เหมือนกันคือ “ยี่ห้อ” และ “รุ่น” ของรถยนต์ที่เราจะได้ เราไม่สามารถเลือกได้ว่าจะได้รถแบบไหน-ยี่ห้อไหน-รุ่นอะไร เพราะขึ้นกับพ่อแม่เรา บางคนเกิดมาผิวขาวบางคนเกิดมาผิวดำ บางคนเกิดมาผมตรงบางคนเกิดมาผมหยิก ตรงนี้คือสิ่งที่เราเลือกไม่ได้ เรียกว่า “กรรมพันธุ์” เราไม่มีสิทธิ์เลือกได้เลยว่าจะได้มาแบบไหน

แต่สิ่งที่ทุกคนได้มาเหมือนกัน คือ ความเป็นรถยนต์คันใหม่ ใหม่เอี่ยมป้ายแดงเลย

ทันทีที่เราเริ่มหายใจเองได้ตอนนั้นเราจะเริ่มสตาร์ทเครื่องของรถยนต์ที่เราได้มาทันที และหลังจากนั้นเป็นต้นไป รถยนต์ของเราจะไม่ดับเครื่องอีกเลย จะมีแต่เร่งเครื่องหรือเบาเครื่องเท่านั้น เครื่องยนต์ของเราจะสตาร์ทไว้ตลอดเวลาจนกว่าเราจะเสียชีวิต เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพเข้ามามีบทบาทตรงระหว่างที่เราใช้ชีวิตนี่แหละครับ

เวชศาสตร์ชะลอวัย | 3 เรื่องที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด

เสื่อมทุกวัน ทุกนาที

ทุกคนได้รับรถยนต์คันใหม่ก็เหมือนเราได้รับร่างกายใหม่ตอนเกิด รถยนต์จะเริ่มใช้งานทันทีที่หายใจก็เหมือนเราเริ่มใช้ร่างกายเราตั้งแต่เกิด รถยนต์เติมน้ำมันอะไรเข้าไปก็เหมือนเรากินอะไรเข้าไปในร่างกาย รถยนต์ขับทุกวันก็เหมือนเราขยับร่างกายเราทุกวัน รถยนต์จอดอยู่เฉยๆ ก็เหมือนเรานอนแช่เป็นผักอยู่บนเตียง รถยนต์ออกไปวิ่งบนถนนโล่งบ้าง-ถนนขรุขยะบ้าง ก็เหมือนเราออกกำลังกายร่างกาย-บริหารร่างกาย

คนที่ใช้รถเป็นประจำจะรู้ว่ารถยนต์ที่ถูกใช้งานสม่ำเสมอดีกว่ารถยนต์ที่จอดทิ้งไว้เฉยๆ นานทีปีหาจะใช้รถที ก็จะมีปัญหาจุกจิกให้คอยซ่อมตลอด

รถยนต์เอาไปจอดที่ไหน จอดในร่มหรือตากแดดก็เหมือนร่างกายเราไปอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบไหน น้ำ-อากาศ เป็นยังไง รถยนต์ออกป้ายแดงมาแล้วเอาไปเป็นรถบ้านหรือรถแท็กซี่ การใช้งานรถยนต์ 2 คันนี้ไม่เหมือนกันแน่ๆ ก็เหมือนคนที่ใช้งานร่างกายอย่างทะนุถนอมกับคนที่ใช้ร่างกายอย่างหนักหน่วง รถยนต์ที่ใช้งานได้ปกติดีก็เหมือนกับร่างกายที่สมบูรณ์ดี รถยนต์ที่เสีย-มีปัญหาก็เหมือนร่างกายที่เป็นโรคต้องหาหมอเพื่อรักษา รถยนต์ที่พัง ใช้งานไม่ได้อีกแล้วก็เหมือนเราเสียชีวิตและไม่สามารถใช้งานร่างกายต่อไปได้

NAD+ Therapy ช่วยชะลอวัยจริงไหม?

Anti Aging | ภาษาคนธรรมดาที่ไม่ใช่หมอ
คู่มือการใช้งานรถยนต์

Anti Aging | คู่มือการใช้งานร่างกาย

เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพก็เหมือนคู่มือการใช้งานของรถยนต์ ถ้าเรามีคู่มือการใช้งานแล้วศึกษามันก่อนใช้งานรถยนต์ เราก็จะใช้งานรถยนต์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ (Healthspan) และใช้งานรถยนต์ได้นานที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (Lifespan)

ตรงนี้แหละคือความสำคัญที่เจ้าของรถยนต์ควรต้องรู้ !!! ไม่ใช่หมอ

หมอก็เหมือนช่างซ่อมรถ ถ้ารถยนต์เราไม่ได้เป็นอะไรเราก็ไม่ได้คิดจะเข้าไปหาช่างอยู่แล้ว ไม่ได้บอกว่าหมอไม่จำเป็นนะครับ หมอสำคัญและจำเป็นสำหรับการรักษา เมื่อร่างกายเรามีปัญหา-เจ็บป่วย-ไม่สบาย ก็ต้องพึ่งพาหมอ ก็เหมือนกันกับตอนรถยนต์ของเราเสียก็ต้องพึ่งพาช่าง เพื่อซ่อมให้รถกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม

แต่คนที่เป็นเจ้าของรถยนต์ คนที่ต้องใช้รถยนต์ทุกวัน อยู่กับร่างกายทุกวัน ทุกเวลา ตลอดเวลา ตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต คือ ตัวคุณเอง !!!

เวชศาสตร์ชะลอวัย เรียนที่ไหน ในไทยหรือต่างประเทศ

คุณคือเจ้าของร่างกาย

คุณจะรู้จักร่างกายตัวเองดีที่สุด ไม่ใช่ช่างและไม่ใช่หมอ

ลองนึกภาพดูว่าเวลาคุณเข้าไปหาหมอ คนที่เป็นคนเล่าอาการ-ประวัติ-ที่มาที่ไป-เหตุการณ์ที่ผ่านมา เพื่อให้หมอใช้ความรู้และประสบการณ์ในการวินิจฉัย ก็คือตัวคุณ เวลาคุณเข้าไปหาช่าง คนที่บอกอาการ-ปัญหา-จุดสังเกต เพื่อให้ช่างใช้ความรู้และประสบการณ์ในการวิเคราะห์ ก็คือตัวคุณเหมือนกัน

ไม่มีช่างคนไหนยืนมองรถแล้วรู้ว่าอะไรเสียถ้าเจ้าของรถไม่บอกข้อมูลอะไรเลย ไม่มีหมอคนไหนมองหน้าแล้วรู้ว่าเป็นอะไรถ้าคนไข้ไม่บอกข้อมูลอะไรเลย

เวชศาสตร์ชะลอวัย หลอกลวง จริงหรือเปล่า?

Anti Aging | เน้นป้องกันเป็นหลัก

เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพเลยสนใจที่การป้องกันเป็นหลักและการรักษาเป็นรอง (Preventive Medicine) สนใจเข้าไปศึกษาเซลล์ ไปค้นคว้า-วิจัย-ทดลอง ทั้งหมดเพื่อหาวิธีที่จะทำยังไงให้มีสุขภาพสมบูรณ์สูงสุด (Optimal Health)

พอมีสุขภาพสมบูรณ์สูงสุดแล้วร่างกายก็ทำงานสมบูรณ์สูงสุด เป็นการชะลอการเสื่อมยับยั้งการแก่ชราไปโดยปริยาย

สิ่งที่คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ คือ ความแก่ชรา (Aging Process) ความแก่ชราในทีนี้ หมายถึง ความเสื่อม-ความถดถอย ของร่างกาย ก็เหมือนกันกับรถยนต์ใหม่ป้ายแดงที่ไม่ว่าจะจอดทิ้งไว้เฉยๆ หรือขับใช้งานทุกวัน ยังไงมันก็เสื่อมแน่นอนเพียงแต่ว่าจะเสื่อมช้าหรือเสื่อมเร็วเท่านั้นเอง

การชะลอความแก่ชราไม่ได้หมายถึงจะไม่ให้เสื่อมถอยเลย ยังไงความเสื่อม-ความถดถอย ก็ต้องเกิดขึ้น เพียงแต่ว่าจะใช้วิทยาศาสตร์มาทำให้ชะลอการเสื่อมถอยที่มีอยู่แล้วให้เกิดขึ้นช้าลง แต่ไม่ได้หมายถึงว่าไม่ให้เกิดขึ้นเลย

เวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลรัฐ มีหรือเปล่า?

Anti Aging | ภาษาคนธรรมดาที่ไม่ใช่หมอ
Internal Aging vs External Aging

ภายนอก VS ภายใน

แล้วในรายละเอียดของคำว่าแก่ชรา ไม่ได้หมายถึงหน้าตา-ผิวพรรณ-รูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้นที่แก่ชรา เวลาร่างกายเริ่มถดถอย-เริ่มเสื่อม-เริ่มแก่ชรา มันไม่ได้มองเห็นจากภายนอกเท่านั้น ความแก่ชราได้เริ่มต้นมาจากภายใน เริ่มต้นมาจากเซลล์ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย แล้วค่อยๆ สะสมความแก่ชราจนสุดท้ายมาแสดงออกให้เห็นภายนอก ไม่ว่าจะเป็นหน้าเหี่ยว-ผมหงอก-อ้วน-หลังค่อม สารพัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs: Non-Communicable Diseases)

เปรียบเทียบเหมือนภูเขาน้ำแข็ง ความแก่ชราที่เราเห็นกันภายนอกเป็นเพียง 10% ของภูเขาน้ำแข็งทั้งหมด ยังมีความแก่ชราส่วนใหญ่ที่มากถึง 90% คือความแก่ชราภายในเซลล์ ภายในร่างกาย นี่คือเหตุผลที่ว่าเวชศาสต์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ไม่ใช่หมายถึงเพียงแค่เวชศาสตร์ความงาม (Aesthetics Medicine) เท่านั้น

ถ้าเราไปหาหมอผิวหนัง ดูแลหน้าเราให้ดียังไงเราก็ควรดูแลเซลล์ในร่างกายในดีเท่านั้น เพราะเราไม่สามารถปกปิดความแก่ชราภายในที่มีถึง 90% ได้ ลองนึกภาพดูว่าเราทำหน้าออกมาได้ดูดีมากแต่เซลล์ภายในเสื่อม เดินขึ้นบันไดนิดหน่อยก็เหนื่อยหอบ กินข้าวเสร็จต้องกินยาตลอด เหนื่อยล้า-อ่อนแรง-เพลีย ตลอดเวลาก็คงดูไม่ดีแน่ หน้าตาดูดีดูอ่อนกว่าวัยแต่ร่างกายเป็นคนแก่เลย

ให้ดีที่สุดคือดูแลตัวเองตั้งแต่ภายในโดยเริ่มต้นมาจากเซลล์ เมื่อเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายทำงานสมบูรณ์ อวัยวะทุกอย่างก็ทำงานสมบูรณ์ สุดท้ายก็จะแสดงออกมาภายในให้เห็นที่หน้าตา-ผิวพรรณ-ผม-เล็บ-บุคลิก-ท่าทาง แล้วเราก็ไปเสริมส่วนภายนอกอีก 10% ยิ่งเป็นการส่งเสริมกันทั้งจากภายในและภายนอก ดูแลตัวเองจากภายในสู่ภายนอกและจากภายนอกสู่ภายใน

ชะลอวัยออนไลน์ | เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ

หนังสือที่จะทำให้คุณเข้าใจเซลล์ของคุณ

E-Book | ความลับชะลอวัย

ในหนังสือเล่มนี้จะพาคุณไปเรียนรู้ร่างกายของตัวเอง ว่าทำงานยังไง อะไรบ้างที่ทำให้แก่เร็ว อะไรบ้างที่ทำให้แก่ช้า และสุดท้ายจะทำยังไงให้ชะลอความแก่ชราออกไปให้นานที่สุดเท่าที่เราสามารถทำได้ ผ่านจากเรียนรู้ทั้งหมด 7 บท คือ

  1. เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (AntiAging and Regenerative Medicine)
  2. ทฤษฎีความชราในอดีต (Aging Theory in The Past)
  3. ทฤษฎีความชราในปัจจุบัน (Aging Theory in The Present)
  4. ปัจจัยที่เหนือกว่าพันธุกรรม (Epigenetic)
  5. ปัจจัยที่เร่งการแก่ชรา (Aging Force)
  6. ปัจจัยที่ยับยั้งการแก่ชรา (AntiAging Force)
  7. ใช้ชีวิตยังไงให้ชะลอวัย (How to AntiAging)

หนังสือที่จะทำให้คุณเข้าใจฮอร์โมนของคุณ

E-Book | ฮอร์โมนเพื่อชะลอวัย

ในหนังสือเล่มนี้จะพาคุณไปเรียนรู้ฮอร์โมนที่มีอยู่ในร่างกายของตัวเอง ว่าทำงานยังไง อะไรบ้างที่ทำให้ฮอร์โมนมากเกินไป อะไรบ้างที่ทำให้ฮอร์โมนน้อยเกินไป และจะทำยังไงให้ฮอร์โมนทำงานสมบูรณ์ ผ่านจากเรียนรู้ทั้งหมด 20 บท คือ

  1. ความรู้พื้นฐานของระบบฮอร์โมน (Basic Concept of Hormone)
  2. ฮอร์โมนแห่งการต้านแก่ (Growth Hormone)
  3. ฮอร์โมนแห่งการนอนหลับ (Melatonin Hormone)
  4. ฮอร์โมนแห่งการเผาผลาญพลังงานขั้นพื้นฐาน (Thyroid Hormone)
  5. ฮอร์โมนแห่งการอยู่รอด (Cortisol Hormone)
  6. แม่ของทุกฮอร์โมนประเภทไขมัน (Pregnenolone Hormone)
  7. ฮอร์โมนแห่งการควบคุมความดัน (Aldosterone Hormone)
  8. ฮอร์โมนเพศชายอย่างแรก (DHEA Hormone)
  9. ฮอร์โมนแห่งความตกใจ โมโห หดหู่ (Catecholamines Hormone)
  10. ฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโตไปข้างหน้า (Insulin Hormone)
  11. ฮอร์โมนแห่งการลดความอ้วน (Glucagon Hormone)
  12. ฮอร์โมนแห่งความสุข (Dopamine-Endorphin-Oxytocin-Serotonin Hormone)
  13. ฮอร์โมนแห่งการอักเสบ (Prostaglandins Hormone)
  14. กลุ่มฮอร์โมนแห่งความเป็นเพศชาย (Androgen Group Hormone)
  15. กลุ่มฮอร์โมนแห่งความเป็นเพศหญิง (Estrogen Group Hormone)
  16. กลุ่มฮอร์โมนแห่งความแข็งแรงของกระดูก (Parathyroid-Calcitonin Hormone)
  17. ฮอร์โมนที่เกิดจากไขมันสะสม (Fat Hormone)
  18. ฮอร์โมนทุกอย่างทำงานร่วมกัน (Hormone Symphony)
  19. อาการที่ทำให้รู้ว่าฮอร์โมนเพี้ยน (Health Effect to Hormone Dysfunction)
  20. ทำยังไงให้ฮอร์โมนทำงานสมบูรณ์ (Lifestyle for Optimal Hormone)
Youtube : Anti Aging | ภาษาคนธรรมดาที่ไม่ใช่หมอ

Similar Posts