แมกนีเซียม – Magnesium | มีกี่รูปแบบ? แบบไหนดี?

Magnesium มีกี่รูปแบบ ? | อาหารเสริมแร่ธาตุ แมกนีเซียม หรือ Magnesium รูปแบบไหนดี?

แมกนีเซียม – Magnesium | คือ? ประโยชน์? อาหาร?

คีเลต แมกนีเซียม | Chelated Magnesium

แมกนีเซียมรูปแบบนี้ติดอยู่กับสารคีเลต หรือ Chelating Agent ซึ่งเป็นวิธีการเชื่อมสารอินทรีย์กับไอออนของแร่ธาตุแมกนีเซียม โดยสารคีเลตจะล้อมประจุบวกของธาตุที่เป็นโลหะไว้ เป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่มีโลหะถูกจับอยู่ในโมเลกุลไม่เปิดโอกาสให้ประจุลบจากที่อื่นเข้าทำปฏิกิริยาได้ พันธะประเภทนี้ทำให้แมกนีเซียมละลายน้ำได้มากขึ้นและดูดซึมได้ง่ายขึ้น โดยรูปแบบที่พบได้ทั่วไป คือ

  • แมกนีเซียม ไกลซีเนต – Magnesium Glycinate
  • แมกนีเซียม ทอเรต – Magnesium Taurate
  • แมกนีเซียม มัลเล็ต – Magnesium Malate

แมกนีเซียม – Magnesium | ยี่ห้อไหนดี? | วิธีเลือกซื้อ วิธีกิน วิธีเก็บ

แมกนีเซียม ออกไซด์ | Magnesium Oxide

แมกนีเซียมรูปแบบนี้ติดอยู่กับออกซิเจน หรือ Oxygen กลายเป็นสารประกอบอนินทรีย์ชนิดนึงที่ไม่ละลายน้ำแต่ละลายได้ในกรดหรือด่างที่เจือจาง ทำให้แมกนีเซียมออกไซด์มีระดับการดูดซึมที่ต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับประเภทอื่น แต่ก็เป็นรูปแบบของแมกนีเซียมที่ราคาต่ำที่จะหาซื้อได้ อาจต้องรับประทานปริมาณสูงเพื่อเพิ่มปริมาณการดูดซึม ซึ่งมันอาจทำให้คุณมีอาการข้างเคียงในระบบทางเดินอาหาร

แมกนีเซียม – Magnesium | กินตอนไหน? กินวันละเท่าไหร่?

แมกนีเซียม ซัลเฟต | Magnesium Sulfate

แมกนีเซียมรูปแบบนี้ติดอยู่กับซัลเฟอร์และออกซิเจน หรือ Sulfur and Oxygen มีสีขาว ลักษณะคล้ายกับเกลือแกง ละลายได้ในน้ำ โดดเด่นด้านการดูดซึมผ่านผิวหนัง ทำให้ถูกนำมาใช้ในการอาบน้ำหรือแช่น้ำเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อสำหรับนักกีฬา และยังผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เช่น โลชั่นหรือครีมสำหรับทาผิว

แมกนีเซียม – Magnesium | ห้ามกินกับอะไร? ควรกินกับอะไร?

แมกนีเซียม แอล-ทรีโอเนต | Magnesium L-Threonate

แมกนีเซียมรูปแบบนี้ติดอยู่กับกรดทรีโอนิก หรือ Threonic Acid ซึ่งเป็นกรดน้ำตาลที่ได้มาจากสารสลายของวิตามินซีหรือกรดแอสคอร์บิก เป็นรูปแบบที่ดูดซึมได้ง่าย สามารถผ่านตัวกั้นระหว่างเลือดกับสมองได้ มักใช้เพื่อประโยชน์ทางสมอง ปรับปรุงการทำงานของการรับรู้โดยรวม ความจำ และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคสมองเสื่อม

แคลเซียม โบรอน แมกนีเซียม | ทำไมควรกินคู่กัน?

แมกนีเซียม - Magnesium | มีกี่รูปแบบ? แบบไหนดี?
แมกนีเซียม – Magnesium | มีกี่รูปแบบ? แบบไหนดี?

แมกนีเซียม ซิเตรต | Magnesium Citrate

แมกนีเซียมรูปแบบนี้ติดอยู่กับกรดซิตริก หรือ Citric Acid ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่พบในพืชหรือชื่อที่รู้จักกันโดยทั่วไปก็คือ “กรดมะนาว” ซึ่งที่มาของชื่อนี้เพราะสกัดได้ครั้งแรกจากน้ำมะนาว เป็นส่วนผสมเพื่อควบคุมความเป็นกรด-ด่าง หรือใช้เป็นตัวทำละลาย ช่วยให้มีการแตกตัวและกระจายตัวได้ดีขึ้น โดยทั่วไปจะใช้เพื่อช่วยเรื่องระบบย่อยอาหาร เนื่องจากมันจะดึงน้ำเข้าไปและบรรเทาอาการท้องผูก

แมกนีเซียม – Magnesium | อาการเมื่อขาด? อาการเมื่อเกิน?

แมกนีเซียม คลอไรด์ | Magnesium Chloride

แมกนีเซียมรูปแบบนี้ติดอยู่กับคลอรีน หรือ Chlorine ซึ่งเป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่ไม่มีสีหรือสีขาว ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ไม่เสถียร เกาะตัวได้ดีกับองค์ประกอบอื่นๆ ดูดซึมได้ดีในทางเดินอาหารและผ่านผิวหนัง ทำให้สามารถพบได้ในรูปแบบแคปซูลอาหารเสริมหรือยา และผลิตภัณฑ์เฉพาะบริเวณผิวหนังเพื่อบรรเทาผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ปวดเกร็ง

แมกนีเซียม – Magnesium | ค่าต่ำเกิน VS ค่าปกติ VS ค่าสูงเกิน

แมกนีเซียม แลคเตต | Magnesium Lactate

แมกนีเซียมรูปแบบนี้ติดอยู่กับกรดแลคติก หรือ Lactic Acid ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ กรดนี้ร่างกายสามารถผลิตโดยกล้ามเนื้อและเซลล์เม็ดเลือด นอกจากนั้นแล้วยังผลิตขึ้นเพื่อควบคุมความเป็นกรดในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม อาจจะอ่อนโยนต่อระบบย่อยอาหารมากกว่าประเภทอื่นๆ ทำให้แมกนีเซียมรูปแบบนี้เหมาะกว่าสำหรับผู้ที่ต้องรับประทานในปริมาณสูงเป็นพิเศษ

แมกนีเซียม – Magnesium | ไมเกรน ตะคริว นอนหลับ

อาหารเสริมแมกนีเซียมเกรดการแพทย์

Wellness Hub – Chela Mag

Chela Mag | อาหารเสริมแร่ธาตุแมกนีเซียมในรูปแบบคีเลต มีส่วนประกอบ ดังนี้

  1. Chelated Magnesium = 100mg
Wellness Hub – Good Gut

Good Gut คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG : Partially Hydrolyze Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ

ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้

  • FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
  • Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
  • GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
  • Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
  • VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
  • HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
  • KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว

มีงานวิจัยเฉพาะของ PHGG ทั้งในหลอดทดลอง ในสิ่งมีชีวิต และในมนุษย์ ว่ามีคุณประโยชน์ต่างๆ ดังนี้

  1. มีส่วนช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
  2. มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรง
  3. มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วน
  4. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องผูก
  5. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องเสีย
  6. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน (IBS: Irritable Bowel Sysdrome)
  7. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD: Inflammatory Bowel Disease)
  8. มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
  9. มีส่วนช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
  10. มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ
  11. มีส่วนช่วยเพิ่มกรดไขมันสายสั้น (SCFAs) ในลำไส้
  12. มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด
  13. มีส่วนช่วยลดค่าดัชนีน้ำตาล (GI: Glycemic Index)
  14. มีส่วนช่วยลดความโหยหลังจากมื้ออาหาร
  15. มีส่วนช่วยลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย
  16. มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C: Hemoglobin A1C)

ละลายน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ดื่มวันละ 1 ซอง

Similar Posts