กินผักเยอะแต่ท้องผูก สาเหตุคืออะไร? แก้ไขยังไง?

กินผักเยอะแต่ท้องผูก คือ ปัญหาของคนที่ดูแลสุขภาพหลายคนเจอ ทั้งที่รับประทานผักในปริมาณสูงอยู่แล้วแต่ทำไมยังมีปัญหาท้องผูกอยู่ สาเหตุเกิดจากอะไร? มีวิธีแก้ไขยังไงที่เห็นผลจริง ปลอดภัย และดีต่อสุขภาพในระยะยาว

ลําไส้ = สมองที่สอง | The Second

กินผักเยอะแต่ท้องผูก | สาเหตุ

  1. เยอะเกินไป | อะไรที่น้อยเกินไปก็ไม่ดี อะไรที่มากเกินไปก็ไม่ดี การรับประทานผักและผลไม้ก็เหมือนกัน ถ้ามากเกินไปอาจจะส่งผลทำให้เชื้อราในลำไส้เจริญเติบโตมากเกินไป มีภาวะท้องผูก ท้องเสีย หรือลำไส้รั่ว
  2. ซ้ำซาก | อาหารที่ดีต้องหลากหลายด้วย บางคนรับประทานผักและผลไม้เดิมๆ ซ้ำๆ ทุกวัน
  3. น้ำเปล่า | น้ำเป็นปัจจัยพื้นฐานในทุกกระบวนการของร่างกาย บางคนอาจจะดื่มน้ำเปล่าน้อยเกินไป
  4. ลำไส้ไม่ขยับ | ลำไส้ก็มีกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่หดและคลาย เพื่อขับเคลื่อนอาหารและอุจจาระให้ไหลไปตามทางเดินอาหาร ซึ่งกล้ามเนื้อจะทำงานได้ดีต้องประกอบไปด้วยปัจจัยหลายอย่าง เช่น พรีไบโอติก โพรไบโอติก โพสไบโอติก กรดอะมิโนที่จำเป็น และการออกกำลังกาย
  5. ปัจจัยอื่น | อาหารแคลเซียมบางชนิด อาหารเสริมแร่ธาตุเหล็ก ไทรอยด์ต่ำ พาร์กินสัน

อุจจาระ | สีบอกอะไร? แข็งบอกอะไร? รูปร่างบอกอะไร?

กินผักเยอะแต่ท้องผูก สาเหตุคืออะไร? แก้ไขยังไง?
กินผักเยอะแต่ท้องผูก สาเหตุคืออะไร? แก้ไขยังไง?

กินผักเยอะแต่ท้องผูก | รักษา

ถ้าอาการท้องผูกไม่ได้รุนแรงมากหรือเรื้อรังมานาน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตัวเองเพื่อรักษาได้ ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ ดังนี้

  1. ดื่มน้ำเปล่าในปริมาณมากกว่าปกติ 2-4 แก้ว/วัน
  2. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ทำให้ร่างกายขาดน้ำ
    • กาแฟ
    • ชา
    • เหล้า
    • เบียร์
    • ไวน์
  3. รับประทานอาหารที่มีกากใยสูงให้หลากหลาย อย่างกระจุกแค่อย่างเดียว
  4. หลีกเลี่ยงอาหารที่ร่างกายย่อยยาก
    • เนื้อสัตว์สีแดง
    • นมวัว
    • เนย
    • ชีส
    • อาหารที่มีไขมันสูง (น้ำมันเยิ้มๆ)
  5. ปรับท่าทางการนั่งขับถ่ายอุจจาระให้ตำแหน่งของก้นอยู่ต่ำกว่าหัวเข่า (นั่งยองๆ)
  6. ไม่เล่นมือถือ แท็บเล็ต หรืออ่านหนังสือ ระหว่างอุจจาระ
  7. รับประทานอาหารเสริมเพิ่มมากขึ้น เช่น
    • พรีไบโอติก (Prebiotic)
    • โพรไบโอติก (Probiotic)
    • โพสไบโอติก (Postbiotic)
  8. ออกกำลังกายสม่ำเสมอและหลากหลาย
  9. กำจัดเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ที่อาจจะเจริญเติบโตมากเกินไป
  10. พิจารณาสวนล้างลำไส้บ้าง (ถ้าจำเป็น)

Colon Hydrotherapy ล้างลำไส้ | แบบไหนดี?

อาหารเสริมสุขภาพลำไส้

Wellness Hub – Good Gut

Good Gut คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG : Partially Hydrolyzed Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ

ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้

  • FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
  • Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
  • GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
  • Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
  • VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
  • HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
  • KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว

มีงานวิจัยเฉพาะของ PHGG (Partially Hydrolyzed Guar Gum) ทั้งในหลอดทดลอง ในสิ่งมีชีวิต และในมนุษย์ ว่ามีคุณประโยชน์ต่างๆ ดังนี้

  1. มีส่วนช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
  2. มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรง
  3. มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วน
  4. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องผูก
  5. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องเสีย
  6. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน (IBS: Irritable Bowel Sysdrome)
  7. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD: Inflammatory Bowel Disease)
  8. มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
  9. มีส่วนช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
  10. มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ
  11. มีส่วนช่วยเพิ่มกรดไขมันสายสั้น (SCFAs: Short-Chain Fatty Acids) ในลำไส้
  12. มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด
  13. มีส่วนช่วยลดค่าดัชนีน้ำตาล (GI: Glycemic Index)
  14. มีส่วนช่วยลดความโหยหลังจากมื้ออาหาร
  15. มีส่วนช่วยลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย
  16. มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C: Hemoglobin A1C)

ละลายน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ดื่มวันละ 1 ซอง

Similar Posts