ข้อเข่าเสื่อม | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน
ข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) | อาการ คืออะไร? สาเหตุ คืออะไร? รักษา ยังไง? และป้องกัน ยังไง?
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2563 พบว่า มีสถิติผู้ป่วยกระดูกและข้อต่อเพิ่มขึ้นจาก 400 ล้านคน เป็น 570 ล้านคน โดยเฉพาะโรคข้อเสื่อม โดยทั่วโลกจะมีผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม 2,693 คน ต่อประชากร 100,000 คน
ข้อเข่าเสื่อม | อาการ
ระยะเริ่มแรก | เจ็บเข่าเวลาเดิน-งอเข่า เจ็บเยอะเวลาเดินลงบันได-นั่งพับเพียบ-นั่งย่อ-นั่งขัดสมาธิ ข้อเข่าตึงตอนเช้า เหยียดได้ไม่สุด ต้องใช้เวลา 15-30 นาที กว่าจะเหยียดออกตรงได้ ข้อฝืดขยับลำบาก
ระยะปานกลาง | มีเสียงในข้อเข่า เวลาขยับจะเหมือนมีเสียงอะไรมาถูๆ สีๆ กัน ลุกนั่งลำบากมากขึ้น งอเข่าไม่ได้ นั่งพับเพียบไม่ได้ นั่งยองไม่ได้ จับดูแล้วข้อเข่าจะอุ่นๆ
ระยะรุนแรง | ขาโก่งออกหรือโก่งเข้า ผิวข้อสึกเยอะ ปวดเข่าตลอดเวลา ขยับเข่าไม่ได้ ปวด-บวม-แดง-ร้อน
ข้อเข่าเสื่อม | สาเหตุ
- อายุมากขึ้น สมดุลของการซ่อมแซมกระดูกอ่อนเสื่อมถอยลง เซลล์ที่สร้างกระดูกอ่อนน้อยกว่าเซลล์ที่สลายกระดูกอ่อน
- น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น โดยทุกครั้งที่น้ำหนักตัวมากขึ้น 0.5 กิโลกรัม จะมีแรงกดต่อข้อเข้าเพิ่มขึ้น 1.0-1.5 กิโลกรัม
- กล้ามเนื้อรอบข้อเข่าไม่แข็งแรง ความแข็งแรงลดลง
- น้ำในข้อเข่าลดลง
- ได้รับแรงกระแทกมากเกินไป บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เดินลงบันไดเยอะ ออกกำลังกายเยอะเกินไป
- ผลจากการเป็นโรคอื่นๆ เช่น ข้ออักเสบจากการติดเชื้อ ข้ออักเสบจากภูมิคุ้มกันเพี้ยน
ข้อเข่าเสื่อม | รักษา
- ลดน้ำหนักให้มีความเหมาะสม ไม่อ้วนเกินไปและไม่ผอมเกินไป (BMI = 18.5 – 22.9)
- ออกกำลังกายกล้ามเนื้อรอบหัวเข่าให้มีความแข็งแรงและยืดหยุ่น
- กายภาพบำบัด เครื่องเลเซอร์กำลังสูง (HPL : High Power Laser) เพื่อลดความเจ็บปวด
- กินยา แก้ปวดกลุ่ม NSAIDs
- นูโรเฟน (Nurofen)
- เซเลเบร็กซ์ (Celebrex)
- อาร์คอกเซีย (Arcoxia)
- ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
- ซีลีคอกซิบ (Celecoxib)
- ทายา แก้ปวดบริเวณข้อเข่า
- ฉีดยา สเตียรอยด์-ลดการอักเสบ และ ยาชา-แก้ปวดทันที โดยยาจะออกฤทธิ์นาน 3 ชั่วโมง แต่ข้อเสียในระยะยาวจะทำให้ผิวข้อจะบางลง ไม่แนะนำให้ฉีดถี่ๆ ใช้บ้างบางครั้งเมื่อจำเป็น
- ฉีดสารเข้าข้อเข่า
- ไฮยาลูรอนิค (HA : Hyaluronic Acid) เพื่อเพิ่มน้ำในข้อเข่า
- PRP (Platelet Rich Plasma) เพื่อกระตุ้นทำให้เกิดการซ่อมแซมบริเวณผิวข้อเข่า
- สเต็มเซลล์ (Stem Cell) เพื่อทำให้เกิดการซ่อมแซมบริเวณผิวข้อเข่า
- ผ่าตัดข้อเข่าเทียม มีอายุการใช้งานได้ 7-10 ปี แล้วต้องเปลี่ยนอันใหม่
- อาหารเสริมไปสร้างผิวข้อเข่า น้ำในข้อเข่า ผิวข้อเรียบ และลดการอักเสบ ข้อเข่าเสื่อม อาหารเสริม
- คอลลาเจน ประเภทสอง (UC II) ปริมาณ 40 มิลลิกรัม/วัน
- กลูโคซามีน (Glucosamine) แต่มีข้อควรระวัง คือ อาจจะทำให้ความดันลูกตาขึ้นแล้วเป็นต้อหิน ควรวัดความดันลูกตาทุก 3 เดือน ถ้าความดันสูงให้หยุดกิน
- คอนดรอยติน (Chondroitin) ปริมาณ 600 มิลลิกรัม/วัน
- MSM (Methyl Sulfonyl Methane) ปริมาณ 1,000 มิลลิกรัม/วัน
- น้ำมันปลา (Fish Oil) ลดการอักเสบ
- เอนไซม์ช่วยย่อย (Digestive Enzyme) โบรมิเลนจากแกนสับปะรด ปาเปนจากมะละกอ
ข้อเข่าเสื่อม | ป้องกัน
- ควบคุมน้ำหนักให้พอดี ไม่ผอมเกินไปและไม่อ้วนเกินไป พอดีๆ หุ่นดี
- หลีกเลี่ยงท่ายากสำหรับเข่า เช่น งอเข่านานๆ เดินลงบันได ยกของหนักเกินไป
- กินอาหารเพื่อบำรุงข้อเข่า เช่น อกไก่ ข้อไก่ ปลาทะเล น้ำงาขี้ม้อน น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ มะละกอ สับปะรด ขมิ้นชัน
- ออกกำลังกล้ามเนื้อรอบหัวเข่า สม่ำเสมอ ทั้งความแข็งแรงและความยืดหยุ่น
อาหารเสริมผิวข้อเข่าและน้ำในข้อเข่า
อาหารเสริมที่รวบรวมสารอาหารที่ช่วยส่งเสริมทำให้การทำงานของข้อต่อตามส่วนต่างๆ ทั่วร่างกายทำงานสมบูรณ์ ทั้งความแข็งแรงและความยืดหยุ่น มีส่วนประกอบ ดังนี้
- UC-ll (Undenatured collagen type 2) = 40mg
- MSM (Methyl Sulfonyl Methane) = 300mg
- Chondroitin = 100mg
- R-Lipoic Acid = 5mg
อาหารเสริมลดการอักเสบของข้อเข่า
น้ำมันปลา คือ ไขมันที่สกัดออกมาจากปลาทะเลน้ำลึก เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อทุกๆ เซลล์ในร่างกาย มีส่วนประกอบ ดังนี้
- Concentrated fish-omega3 triglycerides = 1000mg
- equiv. Eicosapentaenoic acid (EPA) = 360mg
- equiv. Docosahexaenoic acid (DHA) = 240mg
อาหารเสริมลดการอักเสบของข้อเข่า
เอนไซม์ช่วยย่อย คือ โปรตีนชนิดนึงที่ทำหน้าที่ย่อยอาหารที่คุณรับประทานเข้าไป ปกติแล้วร่างกายเราก็สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ แต่เมื่ออายุมากขึ้นการสร้างก็ลดลงทำให้มีปัญหาต่างๆ ตามมาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร มีส่วนประกอบ ดังนี้
- Amylase = 7,200U
- Protease = 1,800U
- Lactase = 1,200U
- Lipase = 300U
- Cellulase = 60U
- Bromelain = 120GDU
- Pepsin 1:3000 NF = 50mg
- Trypsin = 12,500IU