สับปะรด กินยังไงให้หุ่นดี ชะลอวัย ห่างไกล โรคเบาหวาน

สับปะรด เป็นผลไม้ที่อร่อย-ราคาต่ำ-หาซื้อง่าย ไม่ว่าจะเป็นร้านผลไม้รถเข็น ตลาดสด ศูนย์อาหาร หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต เราสามารถจะหากินสับปะรดได้ทุกที่และทั้งวัน แต่สับปะรดก็เหมือนอาหารตามธรรมชาติอื่นๆ ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังว่าจะกินสับปะรดยังไง กินส่วนไหนบ้าง กินเท่าไหร่ และกินตอนไหนดีที่สุด ให้ฟังกันครับ

โรคเบาหวานที่มีอันตรายที่สุด คือ โรคแทรกซ้อนที่ตามมา

สับปะรด กินยังไงให้หุ่นดี ชะลอวัย ห่างไกล โรคเบาหวาน
สับปะรด กินยังไงให้หุ่นดี ชะลอวัย ห่างไกล โรคเบาหวาน

ข้อมูลโภชนาการของสับปะรด

ในสับปะรด 100 กรัม หรือ 1 ขีด จะมีส่วนประกอบ ดังนี้

สารอาหารหลัก (Macronutrient) 

  • คาร์โบไฮเดรต 94%
  • ไขมัน 2%
  • โปรตีน 4%
  • ให้พลังงาน 50 kCal
  • กากใยอาหาร 1.4 กรัม
  • น้ำตาล 9.8 กรัม
  • กรดไขมันโอเมก้าสาม 17 มิลลิกรัม
  • กรดไขมันโอเมก้าหก 23 มิลลิกรัม

สารอาหารรอง (Micronutrient)

  • มีวิตามินซี 47.8 มิลลิกรัม
  • มีวิตามินบีหก 0.1 มิลลิกรัม
  • มีไธอะมิน 0.1 มิลลิกรัม
  • มีโฟเลท 18 ไมโครกรัม
  • มีวิตามินเค 0.7 ไมโครกรัม
  • มีวิตามินเอ 58 หน่วยวัดมาตรฐานสากล
  • มีแคลเซียม 13 มิลลิกรัม
  • มีเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม
  • มีแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม
  • มีโพแทสเซียม 109 มิลลิกรัม
  • มีฟอสฟอรัส 0.8 มิลลกรัม
  • มีโซเดียม 1 มิลลิกรัม
  • มีสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม
  • มีแมงกานีส 0.9 มิลลิกรัม
  • มีเซเลเนียม 0.1 ไมโครกรัม

โบรมิเลน (Bromelein) 

คือเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่พบมากบริเวณแกนของสับปะรดและในเนื้ออีกเล็กน้อย มีฤทธิ์ช่วยย่อยโปรตีนและยังมีประโยชน์อื่นๆ กับร่างกายอีก เช่น

  • ช่วยลดอาการไซนัสอักเสบ
  • ช่วยต่อต้านการอักเสบ
  • ช่วยทำให้อาการของข้อเข่าเสื่อมดีขึ้น
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
  • ช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น
  • ช่วยลดไขมันส่วนเกิน
  • ช่วยชะลอการเกิดลิ่มเลือด

จะเห็นว่าสับปะรดมีทั้งข้อดีและข้อจำกัด ทีนี้เรามาดูวิธีการกันดีกว่าว่าจะกินยังไงให้หุ่นดี ชะลอวัย ห่างไกลโรคเสื่อม โดยเฉพาะโรคเบาหวานนะครับ

กินจุกจิก | อ้วน เบาหวาน ความดันสูง

วิธีรับประทานสับปะรด

กินส่วนไหนดี

ให้เลือกกินทั้งเนื้อสับปะรดและแกนสับปะรดในสัดส่วนเท่ากัน กินสับปะรด 1 ชิ้น กินแกนสับปะรด 1 ชิ้น เพราะในแกนมีกากใยอาหารและโบรมิเลนมากกว่า

กินแบบไหนดี

ให้เลือกกินสับปะรดแบบสด หลีกเลี่ยงน้ำสับปะรดหรือแบบคั้นแยกกาก เพราะเราไม่รู้ว่าร้านค้าใส่ส่วนไหนมาให้เรากินบ้าง เติมอะไรมาให้เราบ้าง และที่สำคัญเราต้องการกากใยในการกินด้วย

กินเท่าไหร่ดี

ให้เลือกกิน 1-2 ชิ้น ต่อวันเท่านั้น เพราะสับปะรด 1 ชิ้น หรือ 100 กรัม ถึงแม้จะมีแคลลอรีต่ำ แค่ 50 แคลเอง แต่มีน้ำตาลประมาณ 10 กรัม ถ้าคุณใส่ใจแค่อ้วนหรือไม่อ้วน คุณจะกินเท่าไหร่ก็ได้เพราะแคลลอรีมันน้อย แต่ถ้าคุณอยากดูดีด้วย ห่างไกลโรคด้วย คุณต้องรู้อะไรที่มากกว่านั้น

กินตอนไหนดี

ให้เลือกกินสับปะรดพร้อมมื้ออาหารหรือหลังมื้ออาหารทันที เพราะเอนไซม์โพรมิเลนจะได้ช่วยย่อยโปรตีน ส่วนไฟเบอร์ และวิตามินจะได้ดูดซึมพร้อมมื้ออาหาร

น้ำตาล ต่อวัน ไม่ควรเกินกี่กรัม กี่ช้อนโต๊ะ

สรุป

1 ชิ้น ประมาณ 100 กรัม มีน้ำตาล 10 กรัม แคลลอรี่ 50 kCal มีวิตามินซีและแมงกานีสสูง มีกากใยอาหารนิดหน่อย และที่แกนมีเอนไซม์โบรมิเลนสูง

ประโยชน์มากมายสารพัด แต่ที่เด่นๆ เลยคือช่วยย่อยโปรตีน ช่วยต่อต้านการอักเสบ และชะลอการเกิดลิ่มเลือด

วิธีกินแบบที่ดีที่สุด คือ กินเนื้อพร้อมแกนเท่ากัน วันละ 1-2 ชิ้น พร้อมหรือหลังมื้ออาหารทันที

เบาหวาน หายได้ไหม | 3 วิธีรักษาให้หายขาด ไม่กินยา

อาหารเสริมช่วยย่อยอาหาร

Wellness Hub – Digest

เอนไซม์ช่วยย่อย คือ โปรตีนชนิดนึงที่ทำหน้าที่ย่อยอาหารที่คุณรับประทานเข้าไป ปกติแล้วร่างกายเราก็สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ แต่เมื่ออายุมากขึ้นการสร้างก็ลดลงทำให้มีปัญหาต่างๆ ตามมาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

Wellness Hub – Digest | อาหารเสริมเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารเกรดการแพทย์ มีรายละเอียด ดังนี้

ส่วนประกอบ

  1. Amylase = 7,200U
  2. Protease = 1,800U
  3. Lactase = 1,200U
  4. Lipase = 300U
  5. Cellulase = 60U
  6. Bromelain = 120GDU
  7. Pepsin 1:3000 NF = 50mg
  8. Trypsin = 12,500IU

ประโยชน์

  1. มีส่วนช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น
  2. มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานดีขึ้น
  3. มีส่วนช่วยลดการอักเสบของร่างกาย
  4. มีส่วนช่วยทำให้สุขภาพตับดีขึ้น
  5. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน
  6. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบ
  7. มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
  8. มีส่วนช่วยป้องกันโรคข้อต่ออักเสบ
  9. มีส่วนช่วยป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อ
  10. มีส่วนช่วยป้องกันความคิดเพ้อฝัน หมกมุ่นอยู่กับตัวเอง

หนังสือที่จะทำให้คุณเข้าใจเซลล์ของคุณ

E-Book | ความลับชะลอวัย (Secrets of Anti-Aging)

ในหนังสือเล่มนี้จะพาคุณไปเรียนรู้ร่างกายของตัวเอง ว่าทำงานยังไง อะไรบ้างที่ทำให้แก่เร็ว อะไรบ้างที่ทำให้แก่ช้า และสุดท้ายจะทำยังไงให้ชะลอความแก่ชราออกไปให้นานที่สุดเท่าที่เราสามารถทำได้ ผ่านจากเรียนรู้ทั้งหมด 7 บท คือ

  1. เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (Anti-Aging and Regenerative Medicine)
  2. ทฤษฎีความชราในอดีต (Aging Theory in The Past)
  3. ทฤษฎีความชราในปัจจุบัน (Aging Theory in The Present)
  4. ปัจจัยที่เหนือกว่าพันธุกรรม (Epigenetic)
  5. ปัจจัยที่เร่งการแก่ชรา (Aging Force)
  6. ปัจจัยที่ยับยั้งการแก่ชรา (Anti-Aging Force)
  7. ใช้ชีวิตยังไงให้ชะลอวัย (How to Anti-Aging)
Youtube : สับปะรด กินยังไงให้หุ่นดี ชะลอวัย ห่างไกลโรค

Similar Posts