เอนไซม์ย่อยอาหาร – Digestive Enzyme | คืออะไร? มีอะไรบ้าง?

เอนไซม์ย่อยอาหาร หรือ เอนไซม์ในระบบย่อยอาหาร หรือ Digestive Enzyme คือ เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยอาหารที่รับประทานเข้าไปเพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมและนำไปให้ได้ ถูกหลั่งออกมาจากในปาก จากในกระเพาะอาหาร จากในตับอ่อน จากในลำไส้เล็ก โดยทำหน้าที่ย่อยอาหารที่มีโมเลกุลใหญ่และซับซ้อนให้มีขนาดเล็กลงจนร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน โดยที่เอนไซม์ย่อยอาหารจะถูกปล่อยออกมาเมื่อ

  • คาดว่าจะรับประทานอาหาร คิดถึงอาหารที่จะรับประทาน
  • ได้กลิ่นอาหาร ได้รับรสชาติอาหาร
  • อาหารเข้าสู่ระบบย่อยอาหาร

เอนไซม์จากธรรมชาติ มีอยู่ในอะไรบ้าง?

เอนไซม์ย่อยอาหาร | ปาก

อาหาร ขนมและเครื่องดื่ม ทุกอย่างต้องรับประทานผ่านทางปากเป็นขั้นตอนแรกเสมอ โดยในปากจะมีเอนไซม์ที่หลั่งออกมาเพื่อทำหน้าที่ย่อยอาหารขั้นต้น ดังนี้

  • Lingual Lipase | เอนไซม์ไลเปสที่ถูกหลั่งมาจากลิ้นจะทำหน้าที่ย่อยไขมันหรือน้ำมัน
  • Saliva Amylase | เอนไซม์อะไมเลสที่ถูกหลั่งมาจากต่อมน้ำลายจะทำหน้าที่ย่อยคาร์โบไฮเดรต

เอนไซม์ อะไมเลส – Amylase Enzyme | คือ? ย่อยอะไร? พบได้ที่ไหน?

เอนไซม์ย่อยอาหาร | กระเพาะอาหาร

เมื่ออาหาร ขนมและเครื่องดื่ม ที่รับประทานเข้าไปผ่านจากปากเข้าสู่กระเพาะอาหาร จะมีเอนไซม์ที่หลั่งออกมาเพื่อทำหน้าที่ย่อยอาหารขั้นต่อมา ดังนี้

  • Pepsin | เอนไซม์เปปซินที่ถูกหลั่งมาจากกระเพาะอาหารจะทำหน้าที่ย่อยโปรตีน
  • Gastric Lipase | เอนไซม์ไลเปสที่ถูกหลั่งมาจากกระเพาะอาหารจะทำหน้าที่ย่อยไขมันหรือน้ำมัน

เอนไซม์ เพปซิน – Pepsin Enzyme | คือ? ย่อยอะไร? พบได้ที่ไหน?

เอนไซม์ย่อยอาหาร - Digestive Enzyme | คืออะไร? มีอะไรบ้าง?
เอนไซม์ย่อยอาหาร – Digestive Enzyme | คืออะไร? มีอะไรบ้าง?

เอนไซม์ย่อยอาหาร | ตับอ่อน

เมื่ออาหาร ขนมและเครื่องดื่ม ที่รับประทานเข้าไปผ่านจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ลำไส้เล็ก จะมีเอนไซม์ที่หลั่งออกมาเพื่อทำหน้าที่ย่อยอาหารขั้นต่อมา ดังนี้

  • Lipase | เอนไซม์ไลเปสที่ถูกหลั่งมาจากตับอ่อนจะทำหน้าที่ย่อยไขมันหรือน้ำมัน
  • Protease | เอนไซม์โปรติเอสที่ถูกหลั่งมาจากตับอ่อนจะทำหน้าที่ย่อยโปรตีน
  • Amylase | เอนไซม์อะไมเลสที่ถูกหลั่งมาจากตับอ่อนจะทำหน้าที่ย่อยคาร์โบไฮเดรต

น้ำดี หรือ Bile หรือ Gall คือ ของเหลวชนิดนึงในระบบย่อยอาหาร มีส่วนประกอบหลักคือน้ำ ถูกสร้างมาจากตับแล้วทยอยเอามาเก็บสะสมไว้ในถุงน้ำดี เพื่อให้มีความเข้มข้นเพียงพอสำหรับใช้งาน โดยเมื่อรับประทานอาหารเข้าไปจะทำให้ถุงน้ำดีบีบตัว และน้ำดีไหลเข้าสู่ระบบย่อยอาหารทางลำไส้เล็กตอนต้น โดยที่ไม่มีส่วนประกอบของเอนไซม์ย่อยอาหารเลย

น้ำดี | คืออะไร? สีอะไร? สร้างจากอะไร? มีหน้าที่อะไร?

เอนไซม์ย่อยอาหาร | ลำไส้เล็ก

เมื่ออาหาร ขนมและเครื่องดื่ม ที่รับประทานเข้าไปผ่านจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ลำไส้เล็ก จะมีเอนไซม์ที่หลั่งออกมาเพื่อทำหน้าที่ย่อยอาหารขั้นต่อมา ดังนี้

  • Maltase | เอนไซม์มอลเทสที่ถูกหลั่งมาจากลำไส้เล็กจะทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลมอลโทส
  • Sucrase | เอนไซม์ซูเครสที่ถูกหลั่งมาจากลำไส้เล็กจะทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลซูโครส
  • Lactase | เอนไซม์แลคเตสที่ถูกหลั่งมาจากลำไส้เล็กจะทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลแลคโตส
  • Peptidase | เอนไซม์เพปทิเดสที่ถูกหลั่งมาจากลำไส้เล็กจะทำหน้าที่ย่อยไดเปปไทด์

อาหารเสริมเอนไซม์ช่วยย่อยอาหาร – Digestive Enzyme Supplement

เอนไซม์ย่อยอาหาร – Digestive Enzyme | สรุป

เอนไซม์ย่อยอาหารแต่ละชนิดมีหน้าที่เฉพาะเจาะจงเพื่อย่อยอาหารแต่ละประเภท แต่มีที่สำคัญหลัก คือ

  1. อะไมเลสAmylase | เอนไซม์ย่อยคาร์โบไฮเดรต
  2. มอลเทส Maltase | เอนไซม์ย่อยน้ำตาลมอลโทส (พบมากในธัญพืช)
  3. แลคเตสLactase | เอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตส (พบมากในนมวัว)
  4. ไลเปสLipase | เอนไซม์ย่อยไขมัน
  5. โปรติเอสProteases | เอนไซม์ย่อยโปรตีน
  6. ซูเครสSucrase | เอนไซม์ย่อยน้ำตาลซูโครส (พบมากในน้ำตาลทราย)
  7. เซลลูเลสCellulase | เอนไซม์ย่อยเซลลูโลส

นมวัว | ข้อดี VS ข้อเสีย

อาหารเสริมเอนไซม์ช่วยย่อยเกรดการแพทย์

Wellness Hub – Digest

Digest | อาหารเสริมเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารเกรดการแพทย์ มีส่วนประกอบ ดังนี้

  1. Amylase = 7,200U
  2. Protease = 1,800U
  3. Lactase = 1,200U
  4. Lipase = 300U
  5. Cellulase = 60U
  6. Bromelain = 120GDU
  7. Pepsin 1:3000 NF = 50mg
  8. Trypsin = 12,500IU
Wellness Hub – Good Gut

Good Gut คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG : Partially Hydrolyze Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ

ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้

  • FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
  • Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
  • GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
  • Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
  • VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
  • HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
  • KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว

มีงานวิจัยเฉพาะของ PHGG ทั้งในหลอดทดลอง ในสิ่งมีชีวิต และในมนุษย์ ว่ามีคุณประโยชน์ต่างๆ ดังนี้

  1. มีส่วนช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
  2. มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรง
  3. มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วน
  4. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องผูก
  5. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องเสีย
  6. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน (IBS: Irritable Bowel Sysdrome)
  7. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD: Inflammatory Bowel Disease)
  8. มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
  9. มีส่วนช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
  10. มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ
  11. มีส่วนช่วยเพิ่มกรดไขมันสายสั้น (SCFAs) ในลำไส้
  12. มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด
  13. มีส่วนช่วยลดค่าดัชนีน้ำตาล (GI: Glycemic Index)
  14. มีส่วนช่วยลดความโหยหลังจากมื้ออาหาร
  15. มีส่วนช่วยลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย
  16. มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C: Hemoglobin A1C)

ละลายน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ดื่มวันละ 1 ซอง

Similar Posts