ยาช่วยย่อยอาหาร | เหมาะกับใคร? ผลข้างเคียง? วิธีรับประทาน?

ยาช่วยย่อยอาหาร หรือ ยาช่วยย่อย หรือ ยาย่อยอาหาร หรือ Digestive Drug หรือ Digestive Medicine คือ ผลิตภัณฑ์ที่รวบรวมเอนไซม์สำหรับช่วยย่อยอาหาร เพื่อเอาไว้เป็นตัวช่วยสำหรับคนที่มีปัญหาพร่องเอนไซม์ ไม่ว่าจะเกิดจากความผิดปกติที่เป็นมาตั้งแต่เกิด ความเสื่อมชราของร่างกายเมื่ออายุมากขึ้น โรคหรือภาวะที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารที่ผิดปกติ รวมถึงการรับประทานอาหารในปริมาณมากแล้วย่อยลำบาก

เอนไซม์ย่อยอาหาร – Digestive Enzyme | คืออะไร? มีอะไรบ้าง?

ยาช่วยย่อยอาหาร | เหมาะกับใคร?

  1. ผู้ที่มีเอนไซม์ย่อยอาหารไม่เพียงพอ อาหารไม่ค่อยย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ลมในท้องเยอะ
  2. ผู้ที่มีปัญหาตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบ ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง มะเร็งตับอ่อน
  3. ผู้ที่มีปัญหาถุงน้ำดี เช่น นิ่วในถุงน้ำดี ถุงน้ำดีอักเสบ ถุงน้ำดีอุดตัน ไม่มีถุงน้ำดี
  4. ผู้ที่มีปัญหาท่อน้ำดี เช่น ท่อน้ำดีอักเสบ ท่อน้ำดีอุดตัน
  5. ผู้ที่มีปัญหาลำไส้ เช่น ลำไส้แปรปรวน ลำไส้อักเสบ ลำไส้อุดตัน ลำไส้รั่ว จุลินทรีย์ในลำไส้เสียสมดุล
  6. ผู้ที่มีปัญหาภูมิแพ้อาหารแฝงกับอาหารเป็นจำนวนมาก
  7. ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารในปริมาณมาก บุฟเฟ่ต์เป็นประจำ
  8. ผู้ที่อายุมากขึ้นแล้วมีปัญหาอาหารไม่ค่อยย่อย ท้องอืดบ่อย
  9. ผู้ที่แพ้นมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว
  10. ผู้ที่อุจจาระแล้วมักมีน้ำมันเคลือบออกมาเป็นมันวาว
  11. ผู้ที่มีปัญหาระบบภูมิต้านทานไม่ดี เจ็บป่วยง่าย ไม่สบายบ่อย
  12. ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า อารมณ์ไม่นิ่งสงบ

เอนไซม์จากธรรมชาติ มีอยู่ในอะไรบ้าง?

ยาช่วยย่อยอาหาร | วิธีเลือกซื้อ

ยาช่อยย่อยอาหารที่ดีควรมีส่วนผสมของ “เอนไซม์ย่อยอาหารหลากหลายมากที่สุด” และ “ปริมาณที่เพียงพอ” โดยเอนไซม์ย่อยอาหารหลัก มีดังนี้

  • อะไมเลสAmylase | ทำหน้าที่ย่อยคาร์บโบไฮเดรต
  • เซลลูเลสCellulase | ทำหน้าที่ย่อยเซลลูโลส
  • แลคเตสLactase | ทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลแลคโตส
  • ไลเปสLipase | ทำหน้าที่ย่อยไขมัน
  • มัลเทสMaltase | ทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลมอลโทส
  • โปรติเอสProtease | ทำหน้าที่ย่อยโปรตีน
  • ซูเครสSucrase | ทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลซูโครส

PROBIOTIC vs DIGESTIVE ENZYME

ยาช่วยย่อยอาหาร | เหมาะกับใคร? ผลข้างเคียง? วิธีรับประทาน?
ยาช่วยย่อย ยาช่วยย่อยอาหาร | เหมาะกับใคร? ผลข้างเคียง? วิธีรับประทาน?

ยาช่วยย่อยอาหาร | ผลข้างเคียง

ยาช่วยย่อยอาหารแต่ละยี่ห้อมีส่วนผสมไม่เหมือนกัน

  • บางยี่ห้อ…มีส่วนผสมเฉพาะเอนไซม์ย่อยอาหารที่มาจากธรรมชาติเท่านั้น
  • บางยี่ห้อ…มีส่วนผสมของยาหรือสมุนไพรที่ช่วยลดการบีบเกร็งของช่องท้อง
  • บางยี่ห้อ…มีส่วนผสมของยาหรือสารอาหารที่ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร

แนะนำว่าให้สอบถามกับผู้ผลิตหรือผู้ขายถึงผลข้างเคียงของยาช่วยย่อยยี่ห้อนั้น รวมถึงผู้ที่มีปัญหาสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำแนะนำเฉพาะบุคคลไป

อาหารไม่ย่อย – Indigestion – Dyspepsia | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน

ยาช่วยย่อยอาหาร | วิธีรับประทาน

สามารถเลือกรับประทานยาช่วยย่อยอาหาร “ก่อนอาหาร” หรือ “ระหว่างอาหาร” หรือ “หลังอาหาร” แต่ที่สำคัญกว่านั้นคืออย่าดื่มน้ำเยอะ ดื่มแค่พอกลืนอาหารเสริมลงเท่านั้น และไม่ควรดื่มน้ำระหว่างมื้ออาหารในปริมาณมากเพราะจะทำให้ความเข้มข้นของกรดในกระเพาะอาหารลดลง

สามารถรับประทานต่อเนื่องได้ทุกวัน (ถ้ายี่ห้อนั้นไม่มีสารพิษโลหะหนัก สารปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม)

เอนไซม์ โปรติเอส – Protease Enzyme | คือ? ย่อยอะไร? พบได้ที่ไหน?

อาหารเสริมเอนไซม์ช่วยย่อยเกรดการแพทย์

Wellness Hub – Digest

Digest | อาหารเสริมเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารเกรดการแพทย์ มีส่วนประกอบ ดังนี้

  1. Amylase = 7,200U
  2. Protease = 1,800U
  3. Lactase = 1,200U
  4. Lipase = 300U
  5. Cellulase = 60U
  6. Bromelain = 120GDU
  7. Pepsin 1:3000 NF = 50mg
  8. Trypsin = 12,500IU
Wellness Hub – Good Gut

Good Gut คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG : Partially Hydrolyze Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ

ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้

  • FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
  • Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
  • GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
  • Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
  • VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
  • HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
  • KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว

มีงานวิจัยเฉพาะของ PHGG ทั้งในหลอดทดลอง ในสิ่งมีชีวิต และในมนุษย์ ว่ามีคุณประโยชน์ต่างๆ ดังนี้

  1. มีส่วนช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
  2. มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรง
  3. มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วน
  4. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องผูก
  5. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องเสีย
  6. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน (IBS: Irritable Bowel Sysdrome)
  7. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD: Inflammatory Bowel Disease)
  8. มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
  9. มีส่วนช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
  10. มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ
  11. มีส่วนช่วยเพิ่มกรดไขมันสายสั้น (SCFAs) ในลำไส้
  12. มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด
  13. มีส่วนช่วยลดค่าดัชนีน้ำตาล (GI: Glycemic Index)
  14. มีส่วนช่วยลดความโหยหลังจากมื้ออาหาร
  15. มีส่วนช่วยลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย
  16. มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C: Hemoglobin A1C)

ละลายน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ดื่มวันละ 1 ซอง

Similar Posts