วัดความดัน 2 ข้างไม่เท่ากัน แต่ละครั้งไม่เท่ากัน ค่าไหนดี

วัดความดัน 2 ข้างไม่เท่ากัน | ไม่ว่าจะวัดที่ต้นแขน-วัดที่ข้อมือ-วัดที่ปลายนิ้ว ซ้ายขวาก็ไม่เท่ากัน วัดแต่ละครั้งก็ไม่เท่ากัน เอาค่าไหนดี

ความดัน | Blood Pressure

Blood Pressure (BP) = ความดัน / ความดันโลหิต / ความดันเลือด

ความดันโลหิต คือ ตัวเลขที่ใช้วัดค่าแรงดันของเลือดที่เกิดจากการบีบตัวของหัวใจเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย หน่วยเป็น “มิลลิเมตรปรอท / mmHg” ซึ่งมีทั้งหมด 2 ค่า คือ

  • ค่าบน / ค่าแรก | แรงดันโลหิตตอนที่หัวใจบีบตัวเต็มที่
  • ค่าล่าง / ค่าหลัง | แรงดันโลหิตตอนที่หัวใจคลายตัวเต็มที่

วัดความดันที่บ้าน VS วัดความดันที่โรงพยาบาล

วัดความดัน 2 ข้างไม่เท่ากัน

เวลาวัดความดันโลหิตแขนข้างขวากับแขนข้างซ้าย ไม่ว่าจะวัดที่ต้นแขน ข้อพับ ข้อมือ หรือปลายนิ้วมือ แทบจะทุกคนจะต้องเจอปัญหาว่า “ความดัน 2 ข้างไม่เท่ากัน” ซึ่งเป็นเรื่องปกติเพราะว่า

  • แทบทุกคนจะถนัดแขนข้างใดข้างนึง
  • แทบทุกคนจะเขียนหนังสือด้วยมือใดมือนึง
  • แทบทุกคนจะหยิบจับใช้งานชีวิตประจำวันด้วยมือใดมือนึง

เพราะฉะนั้นกล้ามเนื้อ ความแข็งแรง และเส้นเลือด แขน 2 ข้างก็จะไม่เท่ากัน

วิธีวัดความดัน | ที่ถูกต้อง ค่าแม่นยำ เชื่อถือได้

วัดความดัน 2 ข้างไม่เท่ากัน แต่ละครั้งไม่เท่ากัน ค่าไหนดี
วัดความดัน 2 ข้างไม่เท่ากัน แต่ละครั้งไม่เท่ากัน ค่าไหนดี

วัดความดันแต่ละครั้งไม่เท่ากัน

เวลาวัดความดันโลหิตครั้งแรก ครั้งสอง ครั้งสาม แทบจะทุกคนจะต้องเจอปัญหาว่า “ความดันแต่ละครั้งไม่เท่ากัน” ซึ่งเป็นเรื่องปกติเพราะว่า

  • อารมณ์มีผลต่อความดัน
    • ตื่นเต้น
    • โมโห
    • วิตกกังวล
  • ท่าทางของร่างกายมีผลต่อความดัน
    • นั่ง
    • ยืน
    • นอน
  • จังหวะการหายใจมีผลต่อความดัน
    • หายใจสั้น
    • หายใจยาว

เพราะฉะนั้นก่อนวัดความดันและระหว่างความดันควรนั่งนิ่งๆ ควบคุมอารมณ์นิ่งๆ และหายใจนิ่งๆ

ความดันสูง | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน

วัดความดันเอาค่าไหนดี

ความดันโลหิตเป็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตอนเช้าก็ค่านึง ตอนกลางวันก็ค่านึง ตอนเย็นก็ค่านึง ก่อนอาหารท้องว่างก็ค่านึง หลังอาหารท้องแน่นก็ค่านึง ยืนก็ค่านึง นั่งก็ค่านึง นอนก็ค่านึง ใส่แมสหายใจก็ค่านึง ถอดแมสหายใจก็ค่านึง ตกใจก็ค่านึง กังวลก็ค่านึง โมโหก็ค่านึง หายใจสั้นถี่ก็ค่านึง หายใจลึกยาวก็ค่านึง

เพราะฉะนั้นควรวัดความดันเช้า-กลางวัน-เย็น แล้วจดบันทึก 7 วัน เพื่อดูค่าเฉลี่ย

เครื่องวัดความดัน ยี่ห้อไหนดี | วิธีเลือกซื้อและวิธีใช้

อาหารเสริมช่วยควบคุมความดัน

Chela Mag | อาหารเสริมคีลาแม็ก

Chela Mag | อาหารเสริมแร่ธาตุแมกนีเซียม ในรูปแบบคีเลต ซึ่งเป็นรูปแบบที่ดูดซึมดีที่สุด

ส่วนประกอบ

  1. Chelated Magnesium = 100mg

ประโยชน์

  1. มีส่วนช่วยทำให้นอนหลับดีขึ้น
  2. มีส่วนช่วยปรับสมดุลกรด-ด่างในร่างกาย
  3. มีส่วนช่วยทำให้หัวใจทำงานได้ดี
  4. มีส่วนช่วยทำให้การหดตัวของกล้ามเนื้อทำงานได้ดี
  5. มีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพการออกกำลังกาย
  6. มีส่วนช่วยทำให้อาการซึมเศร้าดีขึ้น
  7. มีส่วนช่วยป้องกันโรคไมเกรน
  8. มีส่วนช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง
  9. มีส่วนช่วยทำให้อาการวิตกกังวลดีขึ้น

ขนาดบรรจุ | 500 เม็ด

Wellness Hub – Good Gut

Good Gut คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG : Partially Hydrolyzed Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ

ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้

  • FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
  • Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
  • GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
  • Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
  • VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
  • HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
  • KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว

มีงานวิจัยเฉพาะของ PHGG (Partially Hydrolyzed Guar Gum) ทั้งในหลอดทดลอง ในสิ่งมีชีวิต และในมนุษย์ ว่ามีคุณประโยชน์ต่างๆ ดังนี้

  1. มีส่วนช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
  2. มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรง
  3. มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วน
  4. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องผูก
  5. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องเสีย
  6. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน (IBS: Irritable Bowel Sysdrome)
  7. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD: Inflammatory Bowel Disease)
  8. มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
  9. มีส่วนช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
  10. มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ
  11. มีส่วนช่วยเพิ่มกรดไขมันสายสั้น (SCFAs: Short-Chain Fatty Acids) ในลำไส้
  12. มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด
  13. มีส่วนช่วยลดค่าดัชนีน้ำตาล (GI: Glycemic Index)
  14. มีส่วนช่วยลดความโหยหลังจากมื้ออาหาร
  15. มีส่วนช่วยลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย
  16. มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C: Hemoglobin A1C)

ละลายน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ดื่มวันละ 1 ซอง

Similar Posts