เวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลรัฐ มีหรือเปล่า?

เวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลรัฐ (บาล) อย่างเช่น โรงพยาบาลจุฬาฯ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาฯ มีแผนกนี้ให้บริการหรือเปล่า เพราะที่เห็นก็มีแต่ในโรงพยาบาลเอกชน เวลเนสเซ็นเตอร์ หรือคลีนิคแอนไทเอจจิ้ง อยากเลือกที่จะไปใช้บริการในโรงพยาบาลรัฐ ไม่แน่ใจว่าจะมีหรือเปล่า?

เวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลรัฐ มีหรือเปล่า?
เวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลรัฐ มีหรือเปล่า?

เชื่อว่าใครหลายคนรู้จักเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (Anti-Aging and Regenerative Medicine) จากโฆษณาของโรงพยาบาลเอกชนที่ออกมาให้ข้อมูลในสื่อต่างๆ เลยทำให้เริ่มสนใจศาสตร์ทางด้านการแพทย์แขนงนี้ แต่เนื่องจากตัวเองก็ไม่ได้มีกำลังมากที่จะไปเข้าโรงพยาบาลเอกชน เลยพยายามมองหาทางเลือกที่เป็นโรงพยาบาลรัฐบาลแทน

Anti Aging | ภาษาคนธรรมดาที่ไม่ใช่หมอ

เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ

ก่อนที่จะรู้ว่าในโรงพยาบาลรัฐบาลมีแผนกเวชศาสตร์ชะลอวัยให้บริการหรือไม่ ต้องรู้ก่อนว่าเวชศาสร์ชะลอวัยคืออะไร? และเกี่ยวกับอะไร? เพราะคุณจะได้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์สุดท้ายของคุณได้ เพราะยังไงสุดท้ายไม่ว่าคุณจะไปโรงพยาบาลรัฐบาลหรือโรงพยาบาลเอกชน เป้าหมายของคุณคือการชะลอวัย การมีสุขภาพที่ดี ถูกต้องไหมครับ โรงพยาบาลเป็นแค่เครื่องมือที่จะนำพาคุณไปสู่เป้าหมายเท่านั้นเอง

เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ คือ ศาสตร์ทางด้านการแพทย์แขนงนึงที่มีเป้าหมายคือการทำยังไงก็ได้ (แบบวิทยาศาสตร์และสมเหตุสมผล) เพื่อที่จะทำให้ร่างกายมีสุขภาพสมบูรณ์สูงสุด (Optimal Health)

โดยที่ 90% คือจากภายในเริ่มมาตั้งแต่ระดับเซลล์ไล่มาจนถึงระดับร่างกาย และอีก 10% คือจากภายนอกคือเวชศาสตร์ความงาม

เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพเลยจะเกี่ยวข้องกับเรื่องหลักๆ ดังนี้

  1. อาหาร (Nutrition)
  2. อาหารเสริม (Nutraceutical)
  3. ฮอร์โมน (Hormone)
  4. การใช้ชีวิตในแต่ละวัน (Lifestyle)
  5. การออกกำลังกาย (Exercise)
  6. การแพทย์บูรณาการ (Integrative Medicine)
  7. ความงาม (Aesthetic)

เพราะฉะนั้นคุณลองสังเกตดูว่าแผนกเวชศาสตร์ชะลอวัยที่ให้บริการในประเทศไทยมักจะมีเรื่องราวที่เกี่ยวกับ 7 ข้อนี้ ไม่ทางใดก็ทางนึง

  • บางที่ให้บริการเรื่องฮอร์โมนก็เรียกตัวเองว่าคลีนิคแอนไทเอจจิ้ง
  • บางที่ให้บริการเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย ก็เรียกตัวเองว่าเวลเนสเซ็นเตอร์
  • บางที่ให้บริการเรื่องการแพทย์บูรณาการก็เรียกตัวเองศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย

ทั้งหมดทั้งมวลไม่ได้ไปตัดสินใคร ไม่ว่าจะเป็นคลีนิค, โรงพยาบาลเอกชน หรือโรงพยาบาลรัฐบาล เราพูดกันในมุมมองของลูกค้า ในมุมมองของคนไข้ ในมุมมองของเจ้าของร่างกาย ที่จะต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดตามกับเงื่อนไขของชีวิตตัวเอง เพราะฉะนั้นคุณต้องแยกแยะให้ออกว่า 7 มิตินี้จะนำพาคุณไปสู่สุขภาพที่ดีได้ เวลาคุณเข้าไปที่ไหนแล้วเจอเรื่องอะไรจะได้รู้ว่าเป็นส่วนนึงของเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ

เวชศาสตร์ชะลอวัย | 3 เรื่องที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด

เวชศาสตร์ฟื้นฟูและเวชศาสตร์ป้องกัน

  1. เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (Anti-Aging and Regenerative Medicine)
  2. เวชศาสตร์ฟื้นฟู (Physical Medicine and Rehabilitation)
  3. เวชศาสตร์ป้องกัน (Preventive Medicine)

สำหรับคนธรรมดาที่ไม่ใช่หมอส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดกับ 3 อย่างนี้อยู่ แต่ถ้าสำหรับหมอแล้วเค้าเข้าใจและแยกแยะความแตกต่างได้แน่นอน

มาว่ากันมุมมองของคนธรรมดาที่ไม่ใช่หมอกันต่อ เราต้องรู้ก่อนว่าทุกวันนี้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์มันเพิ่มขึ้นมากจริงๆ ไม่ใช่เฉพาะแค่ด้านการแพทย์หรอกครับ ทุกๆ ด้านแหละ เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณด้วย เพราะฉะนั้นเราก็จะเห็นสาขาทางด้านการแพทย์แตกแขนงออกมามากมาย เพื่อตอบสนองและลงรายละเอียดไปในแต่ละด้าน ซึ่งแต่ละด้านดีหมดนะครับ ตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาเฉพาะด้านได้ดี แต่ในที่นี้เราต้องแยกแยะให้ออกว่าไม่เหมือนกัน

เวชศาสตร์ชะลอวัยไม่ใช่เวชศาสตร์ฟื้นฟู แต่คล้ายกับเวชศาสตร์ป้องกัน

เวชศาสตร์ฟื้นฟู เรียกภาษาชาวบ้านให้เข้าใจและเห็นภาพง่ายๆ คือ “หมอกายภาพ” เป็นศาสตร์ที่มีความสามารถในการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยทุกเพศทุกวัยที่มีความผิดปกติหรือมีโรคระบบประสาท กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

เวชศาสตร์ป้องกัน เรียกภาษาชาวบ้านให้เข้าใจและเห็นภาพง่ายๆ คือ “มาตรการป้องกันโรค” เป็นศาสตร์ที่เพื่อป้องกันโรคต่างๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ซึ่งถ้ามองผิวเผินอาจจะดูคล้ายกันกับเวชศาสตร์ชะลอวัย เพราะมีแนวคิดในการป้องกันโรคเหมือนกัน แต่ถ้าลงไปในรายละเอียดแล้วพบว่าแตกต่างกัน หลักๆ มี 2 เรื่องที่ผมเห็น คือ

  • เวชศาสตร์ป้องกันจะเน้นเป็นภาพใหญ่ระดับประเทศ เป็นเชิงนโยบายในการป้องกัน-คัดกรอง โรคในระยะต่างๆ เงื่อนที่ดีที่สุดคือไม่เป็นโรค รองลงมาเริ่มเป็นโรคแล้วคัดกรองให้รู้ตัว แย่ที่สุดเป็นโรคแล้วไม่ได้คัดกรองมารู้ตัวอีกทีก็อาการหนักต้องมาหาทางรักษา เวชศาสตร์ชะลอวัยจะเน้นเป็นภาพเล็กระดับบุคคล เป็นเชิงเฉพาะเจาะจงลงไปในแต่ละคน ร่างกายคนส่วนใหญ่อาจจะมีความคล้ายกันแต่ในรายละเอียดแล้วคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ถ้าพูดสั้นๆ เลยก็คือ The Most กับ The Best ต้องให้ครอบคลุมคนในประเทศมากที่สุด อาจจะไม่ได้ดีที่สุดของแต่ละบุคคลแต่เอาให้ได้จำนวนคนมากที่สุด เลยออกมาเป็นเชิงนโยบายระดับประเทศ
  • เวชศาสตร์ชะลอวัยไม่ได้คิดเรื่องป้องกันเป็นหลักนะครับ การป้องกันเป็นของแถมจากการคิดว่าจะทำยังไงให้สุขภาพสมบูรณ์สูงสุด อารมณ์เหมือนฟุตบอลเชิงรุกที่คิดว่าจะทำยังไงให้ชนะ จะทำเกมส์ยังไงให้มีโอกาสได้ประตู จะทำยังไงให้ยิงประตูคู่แข่งได้ ทีนี้ก็เลยกลายเป็นการป้องกันการเสียประตูไปโดยปริยาย เพราะแนวคิดที่จะหาวิธีทำให้ลูกบอลเข้าประตูคู่แข่ง ไม่ได้คิดแค่เชิงรับแต่คิดเชิงรุก เพราะฉะนั้นเมื่อเวชศาสตร์ชะลอวัยคิดว่าจะทำยังไงให้ร่างกายฟิตที่สุด เฟิร์มที่สุด ก็เลยกลายเป็นการป้องกันโรคไปโดยอัติโนมัติ

เวชศาสตร์ชะลอวัย เรียนที่ไหน ในไทยหรือต่างประเทศ

เวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลรัฐ | จุฬา

จากที่ผมเข้าไปดูในเวปไซต์ของโรงพยาบาลจุฬาฯ ทั้งค้นหาและไล่ดูทีละแผนกก็พบว่ายังไม่มีแผนกเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพให้บริการนะครับ จะมีที่ใกล้เคียงเกี่ยวข้องกันบ้างก็มี

  • ศูนย์ตรวจสุขภาพ – การตรวจสุขภาพเป็นหนึ่งในการดูแลสุขภาพ เป็นการเช็คประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายในระบบต่างๆ
  • ฝ่ายโภชนวิทยาและโภชนบำบัด – การดูแลอาหารการกินให้เป็นไปตามที่เซลล์ต้องการก็เป็นหนึ่งในปัจจัยในการดูแลสุขภาพ
  • หน่วยผิวหนังตจวิทยา – การดูแลผิวหนังและความงามก็เป็นหนึ่งในการดูแลร่างกายจากภายนอกอีก 10% ของภาพรวมทั้งหมด
  • ฝ่ายเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม – การดูแลเชิงเชิงนโยบายก็เป็นการป้องกันแบบมหภาคอย่างนึง

เวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลรัฐ | ศิริราช

จากที่ผมเข้าไปดูในเวปไซต์ของโรงพยาบาลศิริราช ทั้งค้นหาและไล่ดูทีละแผนกก็พบว่ายังไม่มีแผนกเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพให้บริการนะครับ จะมีที่ใกล้เคียงเกี่ยวข้องกันบ้างก็มี

  • ตรวจสุขภาพประจำปี – การตรวจสุขภาพเป็นหนึ่งในการดูแลสุขภาพ เป็นการเช็คประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายในระบบต่างๆ
  • ศูนย์เลเซอร์ผิวหนังศิริราช – การดูแลผิวหนังและความงามก็เป็นหนึ่งในการดูแลร่างกายจากภายนอกอีก 10% ของภาพรวมทั้งหมด

เวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลรัฐ | รามา

จากที่ผมเข้าไปดูในเวปไซต์ของโรงพยาบาลรามาฯ ทั้งค้นหาและไล่ดูทีละแผนกก็พบว่ายังไม่มีแผนกเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพให้บริการนะครับ จะมีที่ใกล้เคียงเกี่ยวข้องกันบ้างก็มี

  • Skin Laser – การดูแลผิวหนังและความงามก็เป็นหนึ่งในการดูแลร่างกายจากภายนอก 10% ของภาพรวมทั้งหมด
  • ศูนย์โรคการนอนหลับ – การนอนหลับเกี่ยวกับเมลาโทนินฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมฮอร์โมนทุกตัวในร่างกายให้ทำงานสมบูรณ์
  • ศูนย์ตรวจสุขภาพเพื่อเดินทางไปต่างประเทศ – การตรวจสุขภาพเป็นหนึ่งในการดูแลสุขภาพ เป็นการเช็คประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายในระบบต่างๆ

Wellness – Illness

Wellness คือ ความสุขสมบูรณ์ และ Illness คือ ความเจ็บป่วย

  • ระดับ 0 คือ เจ็บป่วย ไม่สบาย เป็นโรค ถ้าใครอยู่ในระดับนี้แสดงว่าคุณต้องอยู่โรงพยาบาลแล้ว เพราะคุณไม่สามารถใช้ชีวิตปกติสุขได้ต้องเป็นโรคอะไรสักอย่างที่ต้องการหมอในการรักษา
  • ระดับ 1 – 3 คือ ระดับสุขภาพแย่ เจ็บออดๆ แอดๆ เจออากาศเปลี่ยน เจอฝุ่น เจอสกปรกหน่อยก็พร้อมที่จะไม่สบาย
  • ระดับ 4 – 6 คือ กลางๆ ไม่เจ็บไม่ป่วย แต่ก็ไม่ได้สมบูรณ์ เรียกว่าพอถูไถอยู่ไปได้ ไม่ดีที่สุดแต่ก็ไม่ได้แย่ที่สุด
  • ระดับ 7 – 9 คือ สุขภาพดี นานๆ อาจจะมีเจ็บป่วยบ้าง แทบไม่ต้องเจอหน้าหมอเพื่อรักษาเลย
  • ระดับ 10 คือ สุขภาพสมบูรณ์สูงสุด ฟิตที่สุด เฟิร์มที่สุด แทบไม่มีโอกาสเจ็บป่วย
เวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลรัฐ มีหรือเปล่า?
Wellness VS Illness

เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ ระดับ 0 คือ รายได้เดือนละ 20,000 บาท และ ระดับ 10 คือ รายได้เดือนละ 200,000 บาท

สมมติคุณมีรายได้เดือนละ 20,000 บาท คือ พอดีใช้ใน 30 วัน หมดพอดีเป๊ะในวันสุดท้ายของเดือน

แต่ถ้าคุณมีรายได้ต่ำกว่า 20,000 บาทเมื่อไหร่คุณจะไม่พอใช้ในเดือนทันที ก็เปรียบเทียบเหมือนการเจ็บป่วยไม่สบายที่ต้องการการรักษาทันที

ตรงกันข้ามถ้าคุณมีรายได้เดือนละ 200,000 บาท คือนอกจากจะเหลือกินเหลือแล้ว (หักกินใช้ขั้นต่ำเดือนละ 20,000) คุณยังมีเงินอีก 180,000 บาท เอาไปใช้ชีวิต เอาไปมีคุณภาพชีวิต เอาไปลงทุน เอาไปซื้อบ้าน เอาไปซื้อรถ เอาไปต่อยอดธุรกิจได้อีกสารพัด เพราะคุณมีสุขภาพสมบูรณ์สูงสุด

เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ คือ การพยายามทำให้ร่างกายเข้าใกล้ระดับ 10 หรือสุขภาพสมบูรณ์สูงสุด (Optimal Health) มากที่สุดตามเงื่อนไขส่วนตัวของคุณ โดยที่มีตั้งแต่ระดับ 0 – 10 แต่เน้นที่การป้องกันเป็นหลักและการรักษาเป็นรอง ถ้าถามว่าเจ็บป่วยไม่สบายรักษาได้ไหม ก็ได้แต่เป็นการแพทย์แบบบูรณาการที่ไม่ได้ติดเฉพาะแค่การแพทย์แบบใดแบบนึงเท่านั้น

วิธีสังเกตง่ายๆ ว่าคุณกำลังเข้าไปที่แผนกเวชศาสตร์ชะลอวัยอยู่หรือเปล่าคือสภาพแวดล้อมในแผนกนั้นมีแต่คนปกติที่ต้องการสุขภาพสมบูรณ์หรือคนเจ็บป่วยที่ต้องการหายเป็นปกติ

เวชศาสตร์ชะลอวัย หลอกลวง จริงหรือเปล่า?

หนังสือที่จะทำให้คุณเข้าใจเซลล์ของคุณ

เวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลรัฐ มีหรือเปล่า?
E-Book | ความลับชะลอวัย (Secrets of Anti-Aging)

ในหนังสือเล่มนี้จะพาคุณไปเรียนรู้ร่างกายของตัวเอง ว่าทำงานยังไง อะไรบ้างที่ทำให้แก่เร็ว อะไรบ้างที่ทำให้แก่ช้า และสุดท้ายจะทำยังไงให้ชะลอความแก่ชราออกไปให้นานที่สุดเท่าที่เราสามารถทำได้ ผ่านจากเรียนรู้ทั้งหมด 7 บท คือ

  1. เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (Anti-Aging and Regenerative Medicine)
  2. ทฤษฎีความชราในอดีต (Aging Theory in The Past)
  3. ทฤษฎีความชราในปัจจุบัน (Aging Theory in The Present)
  4. ปัจจัยที่เหนือกว่าพันธุกรรม (Epigenetic)
  5. ปัจจัยที่เร่งการแก่ชรา (Aging Force)
  6. ปัจจัยที่ยับยั้งการแก่ชรา (Anti-Aging Force)
  7. ใช้ชีวิตยังไงให้ชะลอวัย (How to Anti-Aging)

หนังสือที่จะทำให้คุณเข้าใจฮอร์โมนของคุณ

E-Book | ฮอร์โมนเพื่อชะลอวัย (Hormone for Anti-Aging)

ในหนังสือเล่มนี้จะพาคุณไปเรียนรู้ฮอร์โมนที่มีอยู่ในร่างกายของตัวเอง ว่าทำงานยังไง อะไรบ้างที่ทำให้ฮอร์โมนมากเกินไป อะไรบ้างที่ทำให้ฮอร์โมนน้อยเกินไป และจะทำยังไงให้ฮอร์โมนทำงานสมบูรณ์ ผ่านจากเรียนรู้ทั้งหมด 20 บท คือ

  1. ความรู้พื้นฐานของระบบฮอร์โมน (Basic Concept of Hormone)
  2. ฮอร์โมนแห่งการต้านแก่ (Growth Hormone)
  3. ฮอร์โมนแห่งการนอนหลับ (Melatonin Hormone)
  4. ฮอร์โมนแห่งการเผาผลาญพลังงานขั้นพื้นฐาน (Thyroid Hormone)
  5. ฮอร์โมนแห่งการอยู่รอด (Cortisol Hormone)
  6. แม่ของทุกฮอร์โมนประเภทไขมัน (Pregnenolone Hormone)
  7. ฮอร์โมนแห่งการควบคุมความดัน (Aldosterone Hormone)
  8. ฮอร์โมนเพศชายอย่างแรก (DHEA Hormone)
  9. ฮอร์โมนแห่งความตกใจ โมโห หดหู่ (Catecholamines Hormone)
  10. ฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโตไปข้างหน้า (Insulin Hormone)
  11. ฮอร์โมนแห่งการลดความอ้วน (Glucagon Hormone)
  12. ฮอร์โมนแห่งความสุข (Dopamine-Endorphin-Oxytocin-Serotonin Hormone)
  13. ฮอร์โมนแห่งการอักเสบ (Prostaglandins Hormone)
  14. กลุ่มฮอร์โมนแห่งความเป็นเพศชาย (Androgen Group Hormone)
  15. กลุ่มฮอร์โมนแห่งความเป็นเพศหญิง (Estrogen Group Hormone)
  16. กลุ่มฮอร์โมนแห่งความแข็งแรงของกระดูก (Parathyroid-Calcitonin Hormone)
  17. ฮอร์โมนที่เกิดจากไขมันสะสม (Fat Hormone)
  18. ฮอร์โมนทุกอย่างทำงานร่วมกัน (Hormone Symphony)
  19. อาการที่ทำให้รู้ว่าฮอร์โมนเพี้ยน (Health Effect to Hormone Dysfunction)
  20. ทำยังไงให้ฮอร์โมนทำงานสมบูรณ์ (Lifestyle for Optimal Hormone)
Youtube : เวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลรัฐ มีหรือเปล่า?

Similar Posts