โอเมก้า 3 – Omega 3 | ยี่ห้อไหนดี? | วิธีเลือกซื้อ วิธีกิน วิธีเก็บ

โอเมก้า 3 ยี่ห้อไหนดี? | อาหารเสริมโอเมก้าสาม (Omega-3) ในตลาดมีมากมายหลายยี่ห้อ หลายแบบหลายราคา หลายขนาด บางคนก็รีวิวยี่ห้อนี้ดี บางคนก็บอกยี่ห้อนั้นดี ตกลงวิธีการเลือกซื้อแบบวิทยาศาสตร์ควรดูอะไรบ้าง? ควรรับประทานตอนไหน? ควรเก็บรักษายังไง?

Omega-3 vs Omega-6 vs Omega-9

โอเมก้า 3 ยี่ห้อไหนดี | วิธีเลือกซื้อ

1. ดูแหล่งที่มา

อย่างแรกต้องดูว่าตัวคุณรับประทานอาหารแบบไหน รับประทานได้ทั้งสัตว์และพืช หรือพืชอย่างเดียว

โอเมก้า 3 จากสัตว์

  • น้ำมันปลา
  • น้ำมันตับปลา

โอเมก้า 3 จากพืช

  • น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์
  • น้ำมันงาขี้ม้อน

2. ดูส่วนประกอบ

อาหารเสริมจะมีทั้งส่วนที่อยากได้และไม่อยากได้ แต่ละยี่ห้อจะมีสัดส่วนไม่เท่ากันให้พลิกฉลากด้านหลังดู

ควรมีน้อย

  • Omega-6 (Total Fat – EPA + DHA)
  • Saturated Fat
  • Cholesterol
  • Toxin

ควรมีมาก

  • EPA
  • DHA
  • ALA
  • Antioxidant

3. ดูแบบเม็ดหรือแบบขวด

แบบเม็ด

  • เป็นเม็ดแคปซูล
  • บรรจุน้ำมันแยกออกมาเป็นเม็ด
  • หยิบน้ำมันออกมาจากขวดเป็นเม็ดกลืน
  • ดูดซึมช้ากว่า
  • กลืนยากกว่า
  • รักษาคุณภาพได้ง่ายกว่า
  • มีประโยชน์ต่อจุลินทรีย์ในช่องปากน้อยกว่า

แบบขวด

  • เป็นขวดของเหลว
  • บรรจุน้ำมันรวมกันทั้งขวด
  • เทน้ำมันออกมาจากขวดใส่ช้อนกลืน
  • ดูดซึมเร็วกว่า
  • กลืนง่ายกว่า
  • รักษาคุณภาพได้ยากกว่า
  • มีประโยชน์ต่อจุลินทรีย์ในช่องปากมากกว่า

4. ดูปริมาณต่อหน่วย

ปริมาณต่อหน่วยบริโภคก็สำคัญ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์แบบเม็ดแคปซูล ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย คือ

  • เม็ดใหญ่ | ได้ปริมาณต่อเม็ดสูงแต่กลืนยาก โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ
  • เม็ดเล็ก | ได้ปริมาณต่อเม็ดน้อยแต่กลืนง่าย โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ

5. ดูบรรจุภัณฑ์

โอเมก้า 3 จะสามารถรักษาคุณภาพให้ได้นานถ้ามีบรรจุภัณฑ์แบบนี้

  • ทึบแสง | ขวดทึบแสงช่วยป้องกันแสงเข้าไปทำลายโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นไขมันไม่อิ่มตัว
  • ฝาสนิท | ขวดฝาปิดสนิทช่วยป้องกันอากาศเข้าไปทำลายโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นไขมันไม่อิ่มตัว
  • ปริมาณไม่สูง | ยิ่งปริมาณต่อขวดสูง ยิ่งเพิ่มโอกาสที่โอเมก้า 3 ที่เหลือในขวดจะถูกทำลาย

6. ดูสารพิษปนเปื้อน

โลกในปัจจุบันไม่สะอาดเหมือนโลกสมัยก่อนแล้ว บริโภคอาหารเสริมเพราะต้องการโอเมก้า 3 ไม่ใช่สารพิษจากสิ่งแวดล้อม พบว่าในปัจจุบันมีสารพิษที่ร่างกายไม่ต้องการ เช่น

  • ปรอท (Murcury)
  • พีซีบี (PCBs : Polychlorinated Biphenyls)
  • พลาสติกขนาดเล็ก (Microplastic)
  • ไซยาไนด์ (Cyanide)
  • อะฟลาทอกซิน (Aflatoxin)

7. ดูส่วนผสมอื่น

โอเมก้า 3 คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Un Saturated Fat) เพราะฉะนั้นควรมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เข้ามาปกป้องสารสำคัญเหล่านี้จากอนุมูลอิสระ เช่น

  • วิตามินอี (Vitamin-E)
  • กรดอัลฟ่าไลโปอิก (Alpha Lipoic Acid)

โอเมก้า 3 | คืออะไร? ช่วยอะไร? มีข้อเสียอะไร?

โอเมก้า 3 ยี่ห้อไหนดี | วิธีเลือกซื้อ วิธีกิน วิธีเก็บ
โอเมก้า 3 ยี่ห้อไหนดี | วิธีเลือกซื้อและวิธีกิน

โอเมก้า 3 ยี่ห้อไหนดี | วิธีรับประทาน

ไม่มีปริมาณที่แน่นอนเฉพาะบุคคลเพราะว่า

  • แต่ละคนรับประทานอาหารหลักไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน
  • อาหารเสริมแต่ละยี่ห้อมีสัดส่วน ALA : EPA : DHA ไม่เท่ากัน
  • อาหารเสริมแต่ละยี่ห้อมีไขมันอื่นที่ไม่ใช่ Omega-3 ไม่เท่ากัน

จากการสำรวจภาวะสุขภาพและโภชนาการระดับชาติโดยการตรวจร่างกาย (National Health and Nutrition Examination Survey) แนะนำปริมาณของ ALA จากอาหาร เท่ากับ 1.59 กรัมต่อวัน สำหรับผู้หญิง และ 2.06 กรัมต่อวัน สำหรับผู้ชาย

สำนักงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (The European Food Safety Authority) แนะนำปริมาณ EPA และ DHA เท่ากับ 250-500 มิลลิกรัมต่อวัน

Omega-3 จากพืช VS Omega-3 จากสัตว์

โอเมก้า 3 ยี่ห้อไหนดี | วิธีเก็บรักษา

ความร้อน อากาศ ความชื้น” เป็นตัวแปรที่ทำให้ทุกอย่างเสื่อมสภาพเร็ว รวมถึงโอเมก้า 3 ด้วย

  • ถ้าเปิดรับประทานแล้ว ปิดฝาให้สนิท อย่าให้อากาศเข้าไป
  • ถ้าเปิดรับประทานแล้ว เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา
  • ถ้ายังไม่เปิดรับประทาน เก็บในช่องฟรีซ

น้ํามันปลา VS น้ํามันตับปลา | ต่างกันยังไง? อะไรดีกว่า?

อาหารเสริมโอเมก้า 3 เกรดการแพทย์

Bio Active Lipids

Bio Active Lipids | อาหารเสริมน้ำมันปลาเกรดการแพทย์ มีส่วนประกอบ ดังนี้

  1. Concentrated fish-omega3 triglycerides = 1000mg
  2. equiv. Eicosapentaenoic acid (EPA) = 360mg
  3. equiv. Docosahexaenoic acid (DHA) = 240mg
Wellness Hub – Good Gut

Good Gut คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG : Partially Hydrolyzed Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ

ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้

  • FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
  • Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
  • GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
  • Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
  • VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
  • HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
  • KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว

มีงานวิจัยเฉพาะของ PHGG (Partially Hydrolyzed Guar Gum) ทั้งในหลอดทดลอง ในสิ่งมีชีวิต และในมนุษย์ ว่ามีคุณประโยชน์ต่างๆ ดังนี้

  1. มีส่วนช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
  2. มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรง
  3. มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วน
  4. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องผูก
  5. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องเสีย
  6. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน (IBS: Irritable Bowel Sysdrome)
  7. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD: Inflammatory Bowel Disease)
  8. มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
  9. มีส่วนช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
  10. มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ
  11. มีส่วนช่วยเพิ่มกรดไขมันสายสั้น (SCFAs: Short-Chain Fatty Acids) ในลำไส้
  12. มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด
  13. มีส่วนช่วยลดค่าดัชนีน้ำตาล (GI: Glycemic Index)
  14. มีส่วนช่วยลดความโหยหลังจากมื้ออาหาร
  15. มีส่วนช่วยลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย
  16. มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C: Hemoglobin A1C)

ละลายน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ดื่มวันละ 1 ซอง

Similar Posts