วิธีนอนหลับ 5 ข้อ ทำให้นอนหลับลึกและยาวตลอดคืน

วิธีนอนหลับ ตามธรรมชาติ ทำยังไงให้นอนหลับ โดยที่ไม่ต้องพึ่งยานอนหลับหรืออาหารเสริมเมลาโทนิน อยากนอนหลับลึกด้วยตัวเราเองยังไม่อยากพึ่งหมอ ผมแนะนำให้คุณลองเอา 5 เคล็ดลับนี้ไปลองปรับใช้ในชีวิตประจำวันกันดูครับ ถ้ากลางคืนคุณนอนดี กลางวันคุณก็ร่าเริง-สดใส-มีพลัง พร้อมทำทุกกิจกรรม

อาหารเช้า Breakfast | ควรกินอะไร? ไม่ควรกินอะไร?

1. ตื่นเช้า

ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคุณดู ลองตั้งนาฬิกาปลุก 06.00 เพื่อบังคับให้ตัวเองตื่นเช้า และไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ห้ามปิดนาฬิกาปลุกหรือเลื่อนเวลาปลุกออกไปเด็ดขาด เพราะการหยวนกับตัวเอง การมีแนวคิดว่านิดหน่อยไม่เป็นอะไรหรอก การผลัดวันประกันพรุ่ง อีกนิดน่า ขอนอนอีก 5 นาที เดี๋ยวตื่นเลย แบบนี้ไม่มีทางสำเร็จแน่นอน ผมฟันธง !!!

ชีวิตคนเราไม่นอนก็ตื่น ไม่ตื่นก็นอน วนๆ อยู่แบบนี้ซ้ำๆ เพราะฉะนั้นถ้าตอนกลางคืนคุณอยากนอนดีๆ กลางวันคุณก็ต้องห้ามนอน ออกไปใช้ชีวิต ออกไปทำหน้าที่ ออกไปทำกิจกรรม ไปทำอะไรก็ได้ตามความฝัน ตามเป้าหมาย ตามตารางชีวิตของคุณ ตรงกันข้ามถ้ากลางวันคุณเอาแต่นอน ตื่นก็สาย ใช้เวลาไปกับการนอนซะเป็นส่วนใหญ่ ยังไงกลางคืนคุณก็ไม่ได้นอนดีหรอก เพราะคุณนอนไปเยอะแล้วในตอนกลางวัน และวิธีในการนับเวลากลางวันง่ายๆ เลยคือช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตก เพราะฉะนั้นตื่นมาใช้ชีวิตกันตั้งแต่ 06.00 กันเถอะครับ

เมลาโทนิน Melatonin คือ ฮอร์โมนที่บอกเวลาไม่ใช่ยานอนหลับ

วิธีนอนหลับ 5 ข้อ ทำให้นอนหลับลึกและยาวตลอดคืน
วิธีนอนหลับ 5 ข้อ ทำให้นอนหลับลึกและยาวตลอดคืน

2. มองฟ้า สัมผัสลม โดนแดด

นอกจากนี้ในช่วงเวลากลางวัน คือ ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นยันพระอาทิตย์ตก คุณควรเอาร่างกายของคุณออกไปรับพลังงานจากธรรมชาติบ้าง อย่าอยู่แต่แค่ในอาคาร อยู่แต่ในห้อง 4 เหลี่ยม อยู่แต่ในที่ทำงาน ยังไงคนเราทุกคนก็เป็นแค่สิ่งมีชีวิตนึงบนโลก อยู่ใต้พระอาทิตย์เหมือนกันหมด ทุกอย่างบนโลกขับเคลื่อนตามระบบสุริยะจักรวาล โลกเองก็ยังต้องหมุนตามพระอาทิตย์เลย แล้วเราเป็นใครไม่ทำตามเวลา ยังไงคนเราก็ไม่มีทางเอาชนะธรรมชาติได้แน่นอน

แต่ถ้าจะให้อธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ ร่างกายคนเรามีประสาทสัมผัสหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นดวงตา จมูก ผิวหนัง และประสาทสัมผัสทั้งหมดนี้จะเชื่อมโยงเข้าไปที่สมอง เพื่อบอกให้ร่างกายรับรู้ว่าตอนไหนคือเวลากลางวัน ตอนไหนคือเวลากลางคืน เพราะฉะนั้นตอนกลางวันคุณควรออกไปมองท้องฟ้าบ้าง ออกไปสัมผัสลมบ้าง ออกไปโดนแสงแดดบ้าง ทำให้ร่างกายตื่นตัวและรับรู้ว่านี่คือเวลากลางวัน

วิตามินดี Vitamin D | ประโยชน์-ข้อเสีย-อาการเมื่อขาด

3. ออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย คือ การบริหารระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ดี ส่วนการออกกำลังกายมากเกินไป นานเกินไป ถี่เกินไป แบบนี้เรียกว่าการทรมานร่างกาย เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ ร่างกายก็เหมือนรถยนต์ ลองนึกภาพตามดูนะครับ รถยนต์ใหม่ป้ายแดงก็เหมือนร่างกายทุกคนตอนเด็กๆ ฟิต เฟิร์ม แข็งแรง มีพลัง ระบบทุกอย่างทำงานสมบูรณ์ดี ก็เหมือนตอนขับรถป้ายแดง ทุกอย่างเนียนกริ๊บ ไม่มีที่ติใดๆ รถยนต์ที่เอาไปขับเป็นแท็กซี่ วันๆ นึงสตาร์ทเครื่องและวิ่งตลอด 16 ชั่วโมง จอดพัก 8 ชั่วโมง ไม่นานรถก็เสื่อมโทรม ช่วงล่างพัง เครื่องหลวม ยางสึก ก็แน่นอนใช้งานหนักก็ต้องเสื่อมโทรมเร็วเป็นเรื่องปกติ ก็เหมือนการทรมานร่างกายจากการออกกำลังกายอย่างบ้าคลั่ง โดยที่ไม่ได้มองมิติอื่นเลยว่าผลลัพธ์ที่ได้ไม่ได้มีแค่มุมเดียวคือการมีรูปร่างที่ดี

แล้วรถยนต์ที่จอดเฉยๆ ซื้อมาแล้วก็เอาเก็บไว้ที่บ้าน ไม่ได้ใช้งานอะไรเลย อันนี้ก็ไม่ต่างกันกับการเอาไปใช้งานหนักเกินไป รถยนต์ที่เก่าเก็บ ก็เสื่อมโทรมจากการไม่ได้ถูกใช้งานเหมือนกัน ก็เหมือนคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายเลย ไม่มีการบริหารระบบต่างๆ ของร่างกายเลย สุดท้ายก็พังเหมือนกัน แต่พังจากเพราะไม่ได้ถูกใช้งาน ทางที่ดีที่สุดคือการเอารถยนต์มาใช้งานอย่างสม่ำเสมอและใช้งานอย่างพอดี แบบนี้จะทำให้รถยนต์มีอายุยืนยาวที่สุด เพราะฉะนั้นให้คุณลองออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในทุกๆ อาทิตย์ ครั้งนึงมากกว่า 30 นาที แต่ไม่เกิน 60 นาที อาทิตย์ละประมาณ 4 วัน และหยุดพัก 2-3 วัน ไม่ได้ออกทุกวัน กระจายการออกกำลังกายไปทั้ง 3 รูปแบบ คือ

  1. คาร์ดิโอ – บริหารหัวใจและระบบหายใจ
  2. เวทเทรนนิ่ง – บริหารกล้ามเนื้อจากแรงต้าน
  3. สเต็ทชิ่ง – ยืดเหยียดกล้ามเนื้อและเส้นเลือด

สลับการออกกำลังกายกับตัวเองคนเดียว และกับสังคมเพื่อความสนุกสนาน

เมลาโทนิน ยี่ห้อไหนดี | วิธีเลือกซื้อและวิธีกิน

4. ไม่นอนเล่นบนเตียง

ธรรมชาติอย่างนึงของคนเรา คือการรับรู้ ถ้าเราฝึกฝนสมองเราให้รับรู้อะไรสักอย่างบ่อยๆ จนชิน เกิดเป็นความชำนาญตอบสนองโดยอัติโนมัติ เช่นถ้าเราขับรถยนต์ครั้งแรก เราจะงงว่าตรงไหนคืออะไร ปุ่มไหนทำงานยังไง สั่งงานอะไร จะเหยียบคันเร่งทีก็ก้มลงไปมองที ใช้ตรงนี้ป่าวว้าาาา จะเหยียบเบรคทีก็มีเหลือบลงไปมองตำแหน่งว่าใช่อันนี้ไหม จะเข้าเกียร์ทีก็ต้องดูหน้าจอว่าใช้อันที่เราต้องการจะสั่งงานรถยนต์หรือเปล่า แต่พอขับไปบ่อยๆ ขับนานๆ เข้า จนคล่องแคล่ว เกิดเป็นความเคยชิน ปัญหาทุกอย่างที่ว่ามาจะหายไปหมดเลย จะถูกแทนที่ด้วยความชำนาญ การเข้าเกียร์ การเหยียบเบรค แตะคันเร่ง มองกระจก เลี้ยว ทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างอัติโนมัติ

เรื่องของการนอนก็เหมือนกัน !!! ถ้าเราไปใช้ชีวิตอยู่บนเตียงนอน เล่นมือถือ ทำงาน อ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ที่ไม่ใช้การนอน ร่างกายคุณ สมองคุณ ก็จะรับรู้ว่าเตียงนอนไม่ใช่เฉพาะสำหรับนอน เอาไว้ทำอะไรก็ได้ ห้องนอนเองก็เหมือนกัน ถ้าคุณอยู่บ้านที่มีห้องหลายห้อง ไม่ได้อยู่หอพักที่มีแต่ห้องนอน ผมแนะนำให้คุณทำแบบนี้ดูครับ จะเข้าห้องนอนก็ต่อเมื่อจะนอน ไม่ไปใช้ชีวิตปกติในห้องนอน เพื่อให้ร่างกายและสมองของคุณรับรู้ว่าห้องนอนและเตียงนอนมีไว้สำหรับนอนเท่านั้น พอเข้าห้องนอนปุ๊บ ขึ้นเตียงนอนปั๊บ จะรู้สึกง่วงและอยากนอนทันที

Serotonin เซโรโทนิน = อารมณ์ ขับถ่าย นอนหลับ

5. ทำให้ห้องนอนน่านอน

วิธีนอนหลับ ปัจจัยที่มีผลมากต่อการนอน คือ แสงและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ตอนกลางวันเราจะได้รับแสงและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาจากพระอาทิตย์เพื่อให้ร่างกายรับรู้ว่านี่คือเวลากลางวัน เพราะฉะนั้นในเวลากลางคืนถ้าคุณอยากนอนดีๆ คุณต้องทำให้ร่างกายไม่ได้รับพลังงานจากแสงและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในสมัยที่โลกยังไม่ได้พัฒนามาถึงทุกวันนี้ คนเราพึ่งพาแสงจากพระอาทิตย์เป็นหลัก กลางวันก็มีแสงแดด กลางคืนก็ไม่มีแสงแดด ง่ายๆ ธรรมดา แต่พอทุกวันนี้ที่มีเทคโนโลยีต่างๆ มากมาย แสงและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถออกมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ได้ เราจึงควรเอาอุปกรณ์ไฟฟ้าพวกนี้ออกไปจากห้องนอนให้หมด

นอกจากนี้ก็คือบรรยากาศของห้องนอนและเตียงนอน ลองนึกภาพดูถึงตอนคุณไปเที่ยวต่างจังหวัด ไปนอนพักโรงแรมดีๆ คุณเจอบรรยากาศอะไรในห้องนอน คุณแทบอยากจะกระโดดลงเตียงไปนอนทั้งวันทั้งคืนด้วยซ้ำ !!! ตรงกันข้ามคุณลองนึกภาพถึงเวลาคุณไปเที่ยวต่างจังหวัดแล้วไม่ได้วางแผนการเดินทาง คุณขับรถไปแล้วถึงเวลากลางคืนที่คุณง่วงมากแล้ว อยากหาที่นอนพักเฉยๆ หาโรงแรมแถวนั้นเพื่อขอนอนก่อน แต่ปรากฎว่าโรงแรมก็เก่า ห้องก็เหม็น เตียงก็แข็ง หมอนมีแต่คราบสกปรก แอร์ก็มีแต่ฝุ่น แทนที่จะได้นอนกลับกลายเป็นแค่เอนหลังรอตอนเช้าเพื่อเดินทางต่อเท่านั้น เพราะฉะนั้นบรรยากาศในห้องนอนคุณก็เหมือนกัน ถ้าคุณอยากจะนอนดีๆ มีคุณภาพการนอนที่ดี นอนหลับลึก นอนหลับยาวตลอดคืน บรรยากาศเตียงนอนและห้องนอนของคุณต้องน่านอน ซึ่งความชอบของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน แต่หลักๆ ที่คล้ายกันก็คือ

  1. เตียงนุ่มแน่นพอดีๆ ไม่แข็งเกินไป ไม่ยวบเกินไป
  2. หมอนหนุนพอดีหัว ไม่สูงเกิน ไม่ต่ำเกิน
  3. ที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม หอมสะอาด ไม่มีกลิ่นสกปรก
  4. อากาศถ่ายเท เย็นนิดๆ ไม่มีกลิ่นอับ

วิธีนอนหลับ 5 ข้อง่ายๆ ที่คุณสามารถทำเองได้ ไม่ต้องพึ่งพายานอนหลับหรืออาหารเสริมเมลาโทนิน ยังไม่ต้องไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาปัญหาการนอนหลับ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ตัวเองทำได้ให้ดีที่สุดก่อน เผื่อบางทีแค่เท่านั้นคุณก็พบสิ่งที่คุณอยากได้มานาน คือ คุณภาพการนอนหลับที่ดี

อาหารเสริมช่วยนอนหลับ | มาจากธรรมชาติสามารถกินได้ทุกวัน

ตัวช่วยนอนหลับเกรดการแพทย์

Wellness Hub – Melatonin

หนังสือที่จะทำให้คุณเข้าใจฮอร์โมนของคุณ

E-Book | ฮอร์โมนเพื่อชะลอวัย (Hormone for Anti-Aging)

ในหนังสือเล่มนี้จะพาคุณไปเรียนรู้ฮอร์โมนที่มีอยู่ในร่างกายของตัวเอง ว่าทำงานยังไง อะไรบ้างที่ทำให้ฮอร์โมนมากเกินไป อะไรบ้างที่ทำให้ฮอร์โมนน้อยเกินไป และจะทำยังไงให้ฮอร์โมนทำงานสมบูรณ์ ผ่านจากเรียนรู้ทั้งหมด 20 บท คือ

  1. ความรู้พื้นฐานของระบบฮอร์โมน (Basic Concept of Hormone)
  2. ฮอร์โมนแห่งการต้านแก่ (Growth Hormone)
  3. ฮอร์โมนแห่งการนอนหลับ (Melatonin Hormone)
  4. ฮอร์โมนแห่งการเผาผลาญพลังงานขั้นพื้นฐาน (Thyroid Hormone)
  5. ฮอร์โมนแห่งการอยู่รอด (Cortisol Hormone)
  6. แม่ของทุกฮอร์โมนประเภทไขมัน (Pregnenolone Hormone)
  7. ฮอร์โมนแห่งการควบคุมความดัน (Aldosterone Hormone)
  8. ฮอร์โมนเพศชายอย่างแรก (DHEA Hormone)
  9. ฮอร์โมนแห่งความตกใจ โมโห หดหู่ (Catecholamines Hormone)
  10. ฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโตไปข้างหน้า (Insulin Hormone)
  11. ฮอร์โมนแห่งการลดความอ้วน (Glucagon Hormone)
  12. ฮอร์โมนแห่งความสุข (Dopamine-Endorphin-Oxytocin-Serotonin Hormone)
  13. ฮอร์โมนแห่งการอักเสบ (Prostaglandins Hormone)
  14. กลุ่มฮอร์โมนแห่งความเป็นเพศชาย (Androgen Group Hormone)
  15. กลุ่มฮอร์โมนแห่งความเป็นเพศหญิง (Estrogen Group Hormone)
  16. กลุ่มฮอร์โมนแห่งความแข็งแรงของกระดูก (Parathyroid-Calcitonin Hormone)
  17. ฮอร์โมนที่เกิดจากไขมันสะสม (Fat Hormone)
  18. ฮอร์โมนทุกอย่างทำงานร่วมกัน (Hormone Symphony)
  19. อาการที่ทำให้รู้ว่าฮอร์โมนเพี้ยน (Health Effect to Hormone Dysfunction)
  20. ทำยังไงให้ฮอร์โมนทำงานสมบูรณ์ (Lifestyle for Optimal Hormone)
Youtube : วิธีนอนหลับ 5 ข้อ ทำให้นอนหลับลึกและยาวตลอดคืน

Similar Posts