ระบบเผาผลาญพัง | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน

ระบบเผาผลาญพัง | แก้ยังไง – อาการ – รู้ได้ไง – ทำไง – เกิดจาก – มีจริงไหม … คำถามทั้งหมดนี้มีคำตอบ

ในทางการแพทย์ไม่มีนิยามของคำว่า “ระบบเผาผลาญพัง” ไม่มีโรคนี้ เป็นคำที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในสังคมของคนที่ดูแลสุขภาพ ของคนที่ออกกำลังกาย ของคนที่ลดน้ำหนัก

ระบบเผาผลาญ พัง = ระบบเผาผลาญทำงานไม่ค่อยดี

ระบบ เผาผลาญพัง คือ ภาวะที่ร่างกายนำพลังงานจากอาหารที่รับประทานเข้าไปไปใช้ไม่ค่อยดี (คาร์โบไฮเดรต-โปรตีน-ไขมัน) แต่จะนำไปเก็บเป็นไขมันสะสมมากขึ้น เรียกง่ายๆ ว่ากินอะไรเข้าไปก็ไม่ค่อยเอาไปใช้ แต่ชอบเอาไปเก็บ อ้วนง่ายนั่นเอง

ระบบเผาผลาญของร่างกาย

ถ้าเรายังหายใจและมีชีวิตอยู่ เราต้องการพลังงานในทุกวินาที ซึ่งแหล่งพลังงานมีอยู่ 2 ทาง คือ

  1. จากภายนอกร่างกาย (อาหารที่เพิ่งรับประทานเข้าไป)
    • คาร์โบไฮเดรต | ข้าว แป้ง น้ำตาล ขนมปัง เบเกอรี่
    • ไขมัน | น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะกอก น้ำมันปลา น้ำมันมะพร้าว น้ำมันหมู
    • โปรตีน | เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ ไข่เป็ด นม เห็ด เต้าหู้ ถั่ว
  2. จากภายในร่างกาย (อาหารที่รับประทานเข้าไปนานแล้ว)
    • ไกลโคเจน | คาร์โบไฮเดรตที่สะสมในร่างกาย
    • ไขมัน | พุง ท้องแขน ก้น ขาหนีบ เหนียง
    • กล้ามเนื้อ | โปรตีนที่สะสมในร่างกาย

ส่วนที่เล็กที่สุดของร่างกาย คือ เซลล์ เวลาร่างกายจะเผาผลาญพลังงานจะมีอวัยวะภายในเซลล์อันนึงเรียกว่า “ไมโตคอนเดรีย” เป็นเหมือนเครื่องยนต์คอยผลิตพลังงานป้อนให้กับร่างกายตลอดเวลา

ระบบเผาผลาญของร่างกาย = กระบวนการสร้างพลังงานให้เซลล์ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ 3 อย่างหลักๆ คือ

  1. ไมโตคอนเดรีย | เครื่องยนต์ผลิตพลังงานภายในเซลล์
  2. ฮอร์โมนไทรอยด์ | คำสั่งที่สั่งให้เครื่องยนต์ทำงาน
  3. ฮอร์โมนอินซูลิน | คำสั่งที่สั่งให้เครื่องยนต์เอาวัตถุดิบเข้าไปเผาผลาญให้เกิดพลังงาน

ถ้า 3 อย่างนี้ทำงานสมบูรณ์ = ระบบเผาผลาญทำงานดี

ระบบเผาผลาญพัง | อาการ

  1. อ้วนง่าย | กินก็เท่าๆ เดิม แต่อ้วนขึ้น สมัยก่อนก็กินเท่านี้ไม่เห็นจะอ้วนขึ้น
  2. ตัวบวมฉุ | มีเหนียง มีแก้ม มีพุง มีปีก ท้องแขนย้อย ขาเบียด
  3. ออกกำลังกายแต่ก็อ้วนขึ้น | ออกกำลังกายสม่ำเสมอแต่น้ำหนักก็ยังขึ้น
  4. อ่อนเพลียไม่ค่อยมีแรง | กินอาหารที่มีพลังงานแต่ไม่สามารถเอามาใช้เป็นพลังงานได้
  5. ฮอร์โมนแปรปรวน | มีอาการของระดับของฮอร์โมนต่างๆ ผิดเพี้ยนไป เช่น
    • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
    • ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS: Polycystic Ovary Syndrome)
    • สิวขึ้นเยอะ ตัวบวม อ้วน ขนดก มีลูกยาก
    • ความรู้สึกทางเพศลดลง
  6. มีความรู้สึกอยากกิน | ของหวาน ของเปรี้ยวๆ ของเค็มๆ
  7. หิวบ่อย | เพิ่งกินอาหารไป 2-3 ชั่วโมงก็หิวอีกแล้ว แปบเดียวก็หิว

ระบบเผาผลาญพัง | สาเหตุ

  1. อายุที่มากขึ้น | กล้ามเนื้อลดลง เซลล์แก่ลง ไมโตคอนเดรียลดลง การเผาผลาญพลังงานลดลง
  2. กิจวัตรประจำวัน | กิจกรรมทางกายน้อย นั่งๆ นอนๆ ขยับแค่นิ้ว
  3. กินแป้งและน้ำตาลเยอะเกินไป | ร่างกายจะเอาไปเก็บสะสมเยอะ ทำให้เอาไขมันสะสมมาใช้น้อย
  4. ไขมันสะสมเยอะขึ้น | เซลล์ไขมันจะสร้างสื่อการอักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อไม่รับกลูโคสมาเป็นพลังงาน เกิดเป็นภาวะดื้อต่ออินซูลิน ผลก็คือกินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม กินไม่นานก็หิวอีก เพราะร่างกายเอาอาหารที่กินเข้าไปมาเป็นพลังงานไม่ได้
  5. ภาวะไทรอยด์ต่ำแฝง | ไทรอยด์ต่ำแต่ยังไม่ต่ำมากถึงขั้นเป็นโรค ทำให้เกิดอาการหน้าบวม กินนิดเดียวก็อ้วน ผิวแห้ง ผมร่วง เหนื่อยเพลีย ไม่ค่อยมีแรง
  6. เครียดที่มากเกินไป | ไม่ว่าจะเครียดทางกายหรือทางใจจะยับยั้งการเปลี่ยน T4 -> T3 ทำให้ไทรอยด์ทำงานได้ลดลง
  7. ลดน้ำหนักด้วยการอดอาหารอย่างเดียว | กินน้อยลงร่างกายก็ปรับอัตราการเผาผลาญลดลงตาม
ระบบเผาผลาญพัง | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน
ระบบเผาผลาญพัง | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน

ระบบเผาผลาญพัง | รักษา

  1. ลดแป้งลดน้ำตาล | ลดความเสี่ยงการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ลดการเอากลูโคสไปสร้างเป็นไขมันสะสม
  2. เพิ่มสัดส่วนโปรตีนให้มากขึ้น
    • ไม่ออกกำลังกาย | 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
    • ออกกำลังกาย | 1.5 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
  3. หยุดกินระหว่างมื้อ | อย่ากินจุกจิก กินเป็นมื้อ
  4. ออกกำลังกาย |
    • คาร์ดิโอ | โซน-2 จำนวน 60 นาที อาทิตย์ละ 3 ครั้ง
    • เวทเทรนนิ่ง | กระจายไปทั่วทั้งร่างกาย
  5. เจาะเลือดดูระดับไทรอยด์
    • TSH
    • T4
    • T3
    • Free T4
    • Free T3
    • Anti-TPO
  6. บริหารความเครียด | ไม่ให้มีมากเกินไป ถี่เกินไป นานเกินไป
  7. อดอาหารก่อนนอน 4 ชั่วโมงขึ้นไป | น้ำตาลในเลือดต่ำจะกระตุ้นโกรทฮอร์โมนได้ดี ทำให้เผาผลาญไขมันได้ดี-ซ่อมแซมกล้ามเนื้อ-สลายไขมันสะสม
  8. ดื่มน้ำก่อนมื้ออาหาร 30 นาที | 1 แก้ว (250cc) เพื่อเพิ่มการเผาผลาญ (~80 kCal) ถ้าให้ดีดื่มน้ำพร้อมพรีไบโอติก ทำให้อิ่มนานขึ้นและลดความเร็วในการดูดซึมน้ำตาลในมื้ออาหารนั้นๆ
  9. เครื่องดื่มที่ช่วยเพิ่มการเผาผลาญ | สามารถดื่มได้ระหว่างมื้ออาหาร ไม่มีน้ำตาล ไม่มีนม
    • กาแฟดำ (Americano Coffee)
    • ชาเขียวมัทฉะ (Matcha Green Tea)
  10. อาหารเสริมช่วยการเผาผลาญ
    • L-Carnitine | แต่ต้องกินแล้วต้องออกกำลังกาย
    • MCT Oil | ร่างกายสามารถเอาไปใช้เป็นพลังงานได้เลย แต่กินแล้วต้องไปออกกำลังกาย
    • Vitamin B | สารตั้งต้นของ NAD+ ซึ่งเป็นสารร่วมที่จำเป็นสำหรับการสร้างพลังงานในเซลล์
    • NADH | สารตั้งต้นของ NAD+ ซึ่งเป็นสารร่วมที่จำเป็นสำหรับการสร้างพลังงานในเซลล์
    • CoQ10 | เอนไซม์ร่วมในกระบวนการสร้างพลังงานในไมโตคอนเดรีย (Mitochondria)
    • Protein Powder | ให้กินทดแทนมื้ออาหารเลย

ระบบเผาผลาญพัง | ป้องกัน

  1. อาหาร
    • ลดการกินคาร์โบไฮเดรตที่มีค่า GIycemic Index สูง เช่น แป้ง ข้าวขัดขาว น้ำตาล เบเกอรี่
    • หยุดกินระหว่างมื้อ ไม่กินจุกจิก กินตลอดเวลา
    • เพิ่มการกินกากใยอาหารในทุกๆ วัน
  2. ออกกำลังกาย
    • กิจกรรมทางกาย เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน ซักผ้า ล้างรถ ล้างจาน เป็นต้น
    • เวทเทรนนิ่ง
    • คาร์ดิโอ
  3. ขับถ่าย | ขับถ่ายทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
  4. อารมณ์ | บริหารความเครียดให้พอดี ไม่มากเกินไป ไม่ถี่เกินไป และไม่นานเกินไป
  5. นอนหลับ | นอนหลับให้มีคุณภาพ 7-8 ชั่วโมง/วัน

อาหารเสริมระบบเผาผลาญทำงานดี

ระบบเผาผลาญพัง | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน
Wellness Hub – Thyroid Action

ไทรอยด์ฮอร์โมนทำหน้าที่สร้างระบบเผาผลาญขั้นพื้นฐานของร่างกาย

ไทรอยด์ทำงานดี = ระบบเผาผลาญดี

อาหารเสริมเผาพลังงานในเซลล์

ระบบเผาผลาญพัง | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน
Wellness Hub – CoQ10

โคเอ็นไซม์ คิวเท็น คือ สารร่วมและสารต้านอนุมูลอิสระในไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) ซึ่งเป็นแหล่งสร้างพลังงานในเซลล์

ไมโตคอนเดรียทำงานดี = ระบบเผาผลาญดี

อาหารเสริมทำให้ลำไส้ทำงานดี

Wellness Hub – Prebiotic

พรีไบโอติกทำให้ระบบขับถ่ายทำงานดี ลดความเร็วในการดูดซึมน้ำตาล อินซูลินทำงานแม่นยำ สมองทำงานดี ฮอร์โมนทำงานดี

ลำไส้ทำงานดี = ระบบเผาผลาญดี

อาหารเสริมทำให้นอนหลับดี

Wellness Hub – Melatonin

เมลาโทนิน คือ ฮอร์โมนที่คอยบอกเวลากลางวัน-กลางคืนให้กับร่างกาย ถ้าทำงานดีการนอนหลับดี โกรทฮอร์โมนจะหลั่ง กล้ามเนื้อจะดี เผาผลาญไขมันจะดี

นอนหลับดี = ระบบเผาผลาญดี

อาหารเสริมลดความเครียด

Wellness Hub – Stress Free

ความเครียดที่มากเกินไป ถี่เกินไป นานเกินไป จะทำให้ไทรอยด์ทำงานลดลง ระบบเผาผลาญแย่ลง

ไม่เครียดมากเกินไป = ระบบเผาผลาญดี

Youtube : ระบบเผาผลาญพัง | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน

Similar Posts