คาเฟอีน – Caffeine | คืออะไร? ไม่ควรเกินวันละเท่าไหร่?

คาเฟอีน หรือ Caffeine | คืออะไร? พบในอะไร? มีประโยชน์อะไร? มีโทษอะไร? ไม่ควรทานเกินวันละเท่าไหร่?

คาเฟอีน | คืออะไร?

คาเฟอีน Caffeine คือ สารกระตุ้นชนิดนึงที่ออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลาง โดยยับยั้งตัวรับของอะดีโนซีน (Adenosine Receptor) เป็นผลทำให้กระตุ้นการตื่นตัว การรับรู้ และระบบประสาท

คาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นที่ใช้กันมากที่สุดในโลก มีใช้กันทุกวัน คนทั่วโลกรับประทานเพื่อเพิ่มความตื่นตัว บรรเทาอาการเหนื่อยล้าอ่อนแรง เพิ่มสมาธิในการทำงานหรือกิจกรรมที่กำลังทำ

คาเฟอีนก็เหมือนของทั่วไปบนโลก ที่มีทั้งประโยชน์และโทษ ไม่ได้มีแค่ด้านดีแค่ด้านเดียวเท่านั้น

คาเฟอีน | พบได้ในไหน?

คาเฟอีนสามารถพบได้ตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นในใบ ในเมล็ดพืช และในผลไม้

  • กาแฟ (Coffee)
    • กาแฟสกัดเย็นไนโตร (Nitro Cold Brew) | 190-260 มิลลิกรัม ต่อแก้ว
    • กาแฟดำ (Black Coffee) | 100-200 มิลลิกรัม ต่อแก้ว
    • อเมริกาโน (Americano) | 100-200 มิลลิกรัม ต่อแก้ว
    • เอสเพรสโซ (Espresso) | 90-200 มิลลิกรัม ต่อแก้ว
    • มอคค่า (Mocha) | 90 มิลลิกรัม ต่อแก้ว
    • มัคคิอาโต (Macchiato) | 80 มิลลิกรัม ต่อแก้ว
    • ลาเต้ (Latte) | 80 มิลลิกรัม ต่อแก้ว
    • คาปูชิโน (Capuchino) | 80 มิลลิกรัม ต่อแก้ว
    • ดีแคฟ (Decaf) | 10 มิลลิกรัม ต่อแก้ว
  • ช็อคโกแลต (Cocoa / Cacao / Chocolate)
    • 100% Cocoa | 240 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
    • 55% Cocoa | 124 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
    • 35% Cocoa | 45 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
  • ชา (Tea)
    • ชามาเต (Yerba Mate) | 20-180 มิลลิกรัม ต่อแก้ว
    • ชาเขียว (Matcha Green Tea) | 60-80 มิลลิกรัม ต่อแก้ว
    • ชาดำ (Black Tea) | 60-75 มิลลิกรัม ต่อแก้ว
    • ชาอู่หลง (Oolong Tea) | 30-45 มิลลิกรัม ต่อแก้ว
    • ชาขาว (White Tea) | 10-15 มิลลิกรัม ต่อแก้ว
    • ชาสมุนไพร (Herbal Tea) | 0 มิลลิกรัม ต่อแก้ว
  • เครื่องดื่มชูกำลัง (Energy Drinks) | 80 มิลลิกรัม ต่อแก้ว
  • คอมบูชา (Kombucha) | 8-15 มิลลิกรัม ต่อแก้ว

คาเฟอีน | ข้อดี

  1. เพิ่มการเผาผลาญ | กาแฟ 1 แก้ว (240 ml) เพิ่มการเผาผลาญพลังงาน 75-150 kCal
  2. บำรุงสมอง | ช่วยป้องกันการสะสมของคราบพลัคเบต้า อะมัยลอยด์ (Beta-Amyloid Plaques) ที่นำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์
  3. กระตุ้นการขับถ่าย | กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนแกสทริน (Gastrin) และฮอร์โมนคอเลซิสโทไคนิน (Cholecystokinin : CCK) ทำให้ลำไส้เกิดการหดหัว อุจจาระเคลื่อนที่
  4. ร่างกายตื่นตัว | กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ทำให้มีแรง มีพลัง กระปรี้กระเปร่า
  5. บำรุงหัวใจ | ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจโดยการลดการอักเสบของหลอดเลือด
  6. เพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกาย | รับประทานคาเฟอีนก่อนออกกำลังกาย 30-60 นาที ช่วยเพิ่มความอึด เพิ่มกำลัง ในการออกกำลังกาย
  7. ลดความหิว | กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเปปไทด์ วายวาย (Peptide YY : PYY) ทำให้ลดความหิวลง
  8. กระตุ้นความจำ | การได้รับคาเฟอีนปริมาณเล็กน้อยช่วยกระตุ้นความจำได้ในระยะยาว

คาเฟอีน | ข้อเสีย

  1. กร่อนกระดูก | กระตุ้นการลดลงของแคลเซียมในกระดูก เพิ่มการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุน
  2. สตรีมีครรภ์ | เพิ่มโอกาสในการแท้งลูก ทารกเจริญเติบโตช้า และหัวใจเต้นผิดจังหวะของทารก
  3. สพย์ติด | การรับประทานติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง เพิ่มความเสี่ยงการเกิดความเคยชินของสมองว่าต้องรับประทานถึงจะมีแรง วันไหนได้รับจะสดชื่น วันไหนไม่ได้รับจะอยู่ไม่ได้ ต้องหามารับประทานถึงจะรู้สึกดี
  4. ต่อมหมวกไตล้า | กระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) มากกว่าเดิม ทำให้ต่อมหมวกไตต้องทำงานหนักมากขึ้น เพิ่มโอกาสในการเปิดภาวะต่อมหมวกไตล้า (Adrenal Fatique)
  5. หัวใจเต้นเร็วขึ้น | กระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนอิพิเนฟริน (Epinephrine) ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น
  6. ความดันสูงขึ้น | กระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนอะดรีนาลีน (Adrenaline) ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
  7. นอนไม่หลับ | ยับยั้งตัวรับอะดีโนซีน (Adenosine Receptor) ทำให้คุณภาพการนอนหลับลดลง ทั้งเวลาในการนอนหลับ ความลึกในการนอนหลับ ความต่อเนื่องในการนอนหลับ
  8. ขาดน้ำ | คาเฟอีนต้องขับออกทางไต ทำให้เพิ่มการขับน้ำออกจากร่างกายผ่านปัสสาวะ
คาเฟอีน Caffeine | คืออะไร? ไม่ควรเกินวันละเท่าไหร่?
คืออะไร? พบได้ในอะไร? มีประโยชน์อะไร? มีโทษอะไร?

คาเฟอีน | ไม่ควรเกินวันละเท่าไหร่?

องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA : Food and Drug Administration) แนะนำว่าไม่ควรรับประทานคาเฟอีนเกิน 400 มิลลิกรัม ต่อวัน

สมาคมสูตินรีแพทย์ของสหรัฐอเมริกา (ACOG : The American College of Obstetricians and Gynecologists) แนะนำว่าสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานคาเฟอีนเกิน 200 มิลลิกรัม ต่อวัน

สมาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (AAP : American Academy of Pediatrics) แนะนำว่าเด็กอายุ 12-18 ปี ไม่ควรรับประทานคาเฟอีนเกิน 100 มิลลิกรัม ต่อวัน

เด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี ควรหลีกเลี่ยง

คาเฟอีน | วิธีรับประทานให้ได้รับผลเสียน้อย

  1. ไม่ควรรับประทานตอนเช้า | ตอนเช้าร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงที่สุด ไม่ควรรับประทานตอนเช้า ควรรับประทานตอนสายหรือตอนบ่าย หรือรับประทานอาหารเช้าให้เสร็จเรียบร้อยก่อน
  2. ดื่มน้ำเปล่าที่มีแร่ธาตุ | คาเฟอีน 1 แก้ว ควรดื่มน้ำเปล่าที่มีแร่ธาตุ 2 แก้ว เพื่อเข้าไปชดเชยส่วนที่ผลเสียจากการขับน้ำออกจากร่างกาย
  3. รับประทานอาหารด่าง | รับประทานอาหารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว เห็ด เพื่อชดเชยส่วนที่เป็นผลเสียจากการเป็นกรดของร่างกาย
  4. รสชาติของชีวิต | อย่าคาดหวังว่าจะได้รับแต่ประโยชน์ที่มาจากข้อดีเท่านั้น ยังมีข้อเสียที่ต้องได้รับเหมือนกัน ไม่รับประทานมากเกินไป ไม่รับประทานก่อนนอน และพยายามหลีกเลี่ยง
  5. รับประทานข้อดีจากอย่างอื่น | หาแหล่งอื่นที่เป็นข้อดีของคาเฟอีน แต่ไม่มีข้อเสียมากนัก
    • เพิ่มการเผาผลาญ | ออกกำลังกาย เพิ่มกล้ามเนื้อ ลดไขมัน ก็เพิ่มการเผาผลาญได้เช่นกัน
    • บำรุงสมอง | น้ำมันปลา วิตามินบี ลูทีน วิตามินดี ก็บำรุงสมองได้เช่นกัน
    • กระตุ้นขับถ่าย | ดื่มน้ำเปล่าเป็นอย่างแรกหลังตื่นนอนก็สามารถกระตุ้นการขับถ่ายได้เช่นกัน
    • บำรุงหัวใจ | น้ำมันปลา น้ำมันมะกอก โคเอ็นไซม์ คิวเท็น ก็บำรุงหัวใจได้เช่นกัน
    • ร่างกายตื่นตัว | นอนหลับ 15 นาที หลังเที่ยงช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลได้เช่นกัน
    • เพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกาย | เอชเอ็มบีก็เพิ่มประสิทธิภาพออกกำลังกายได้เช่นกัน
    • ลดความหิว | เพิ่มการรับประทานไฟเบอร์และลดการรับประทานอาหารดัชนีน้ำตาลต่ำ
  6. ร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน | การตอบสนองต่อคาเฟอีนแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่คล้ายกัน ให้สังเกตร่างกายตัวเองว่าเป็นยังไง แล้วปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวเอง

อาหารเสริมชดเชยส่วนไม่ดีของคาเฟอีน

I-Yezz – Sparking Lime Powder

I-Yezz | เครื่องดื่มชะลอไตเสื่อมเกรดการแพทย์ มีส่วนประกอบ ดังนี้

  1. Crystallized Lime = 40.24%
  2. Sodium Bicarbonate = 27.75%
  3. Potassium Bicarbonat = 6.94%
  4. Fiber = 13.89%
  5. Sucralose = 0.08%
  6. Flavor = 11.10%

ประโยชน์

  1. มีส่วนช่วยขับกรดยูริกออกจากร่างกาย
  2. มีส่วนช่วยชะลอการเสื่อมของไต
  3. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคไต
  4. มีส่วนช่วยทำให้อาการเสียดท้องดีขึ้น
  5. มีส่วนช่วยทำให้อาการท้องเปรี้ยวดีขึ้น
  6. มีส่วนช่วยปรับสมดุลของกรดในกระเพาะอาหารที่มีมากเกินไป
Wellness Hub – Good Gut

Good Gut คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG : Partially Hydrolyzed Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ

ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้

  • FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
  • Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
  • GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
  • Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
  • VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
  • HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
  • KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว

Similar Posts