เอนไซม์ – Enzyme | คืออะไร? หน้าที่อะไร? มีอะไรบ้าง?
เอนไซม์ หรือ Enzyme คือ โปรตีนที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาทางเคมีในร่างกาย โดยเอนไซม์จะเข้าไปสลายสารบางอย่าง (Substrates) แล้วเกิดเป็นสารบางอย่างขึ้นมาใหม่ (Products) เอนไซม์แต่ละตัวจะออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจง ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและบริเวณที่ทำงานของโมเลกุลเอนไซม์ ปกติแล้วร่างกายจะผลิตเอนไซม์ขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ก็สามารถพบได้ในอาหารด้วยเช่นกัน
ปี 1833 Anselme Payen นักเคมีชาวฝรั่งเศสเป็นคนค้นพบเอนไซม์ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ปัจจุบันคาดว่าในร่างกายมนุษย์มีเอนไซม์ทั้งหมด ~75,000 ชนิด โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท แต่ละตัวจะถูกตั้งชื่อโดยการเติมส่วนต่อท้ายว่า “เอส” หรือ “ase” เข้ากับชื่อของสารตั้งต้นที่เอนไซม์นั้นจะเข้าไปทำปฏิกิริยา เช่น เอนไซม์อะไมเลส (Amylase) ควบคุมการสลายอะมิโลส (Amylose)
เอนไซม์จากธรรมชาติ มีอยู่ในอะไรบ้าง?
เอนไซม์ – Enzyme | หน้าที่
เอนไซม์มีอยู่รอบตัวทั้งในมนุษย์ พืช แบคทีเรีย และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยสิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการเอนไซม์เพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
- การเจริญเติบโต
- การแข็งตัวของเลือด
- การรักษาโรค
- การหายใจ
- การย่อยอาหาร
- การสืบพันธุ์
- การผลิตพลังงาน
เอนไซม์ – Enzyme | ปัจจัยที่จะทำงานได้ดี
เอนไซม์จำเป็นต้องมีสภาวะที่เหมาะสมในการทำงาน ถ้าสภาวะไม่ดีไม่เหมาะสมเอนไซม์จะเปลี่ยนรูปร่างทำให้ไม่พอดีกับสารตั้งต้นจึงทำงานไม่ได้ ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ปัจจัยหลักที่ทำให้เอนไซม์ทำงานสมบูรณ์ คือ
- อุณหภูมิ หรือ Temperature | เอนไซม์จะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะปกติหรืออุณหภูมิ ประมาณ 37°C เมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ปฏิกิริยาของเอนไซม์จะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไป เอนไซม์จะหยุดทำงาน นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมไข้สูงเกินไปสามารถรบกวนการทำงานของร่างกายได้
- ความเป็นกรดด่าง หรือ pH | เอนไซม์มีความไวต่อความเป็นกรดหรือด่าง พวกมันทำงานไม่ถูกต้องถ้าสภาพแวดล้อมมีความเป็นกรดหรือความเป็นด่างเกินไป ตัวอย่างเช่น เอนไซม์เปปซิน (Pepsin) ในกระเพาะอาหารจะทำหน้าที่สลายโปรตีน ถ้ากระเพาะอาหารของคุณเป็นกรดไม่เพียงพอ เปปซินจะไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
ไข้ ทำยังไงให้หายไว
เอนไซม์ – Enzyme | มากไป น้อยไป ไม่มี
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนต้องการความพอดี อะไรที่มันมากเกินไปก็ไม่ดี อะไรที่มันน้อยเกินไปก็ไม่ดี
มากเกินไป | เอนไซม์เป็นศูนย์กลางของทุกกระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นในร่างกาย โดยจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาแต่ถ้าเร่งมากเกินไปก็ไม่ดี ส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น Alanine Aminotransferase, Aspartate Aminotransferase, Creatine Phosphokinase
น้อยเกินไป | ถ้าร่างกายมีภาวะพร่องหรือผลิตเอนไซม์บางชนิดไม่เพียงพอกับความต้องการก็สามารถทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกายได้ เช่น Crohn’s Disease, Exocrine Pancreatic Insufficiency, Lactose Intolerance
ไม่มีเลย | พ่อแม่สามารถถ่ายทอดความผิดปกติของการขาดเอนไซม์ที่ส่งผลต่อระบบเผาผลาญร่างกายผ่านพันธุกรรมสู่ลูกได้ เช่น Fabry Disease, Krabbe Disease, Maple Syrup Urine Disease
เอนไซม์ย่อยอาหาร – Digestive Enzyme | คืออะไร? มีอะไรบ้าง?
อาหารเสริมเอนไซม์ช่วยย่อยเกรดการแพทย์
Digest | อาหารเสริมเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารเกรดการแพทย์ มีส่วนประกอบ ดังนี้
- Amylase = 7,200U
- Protease = 1,800U
- Lactase = 1,200U
- Lipase = 300U
- Cellulase = 60U
- Bromelain = 120GDU
- Pepsin 1:3000 NF = 50mg
- Trypsin = 12,500IU
Good Gut คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG : Partially Hydrolyze Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ
ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้
- FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
- Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
- GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
- Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
- VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
- HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
- KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว
มีงานวิจัยเฉพาะของ PHGG ทั้งในหลอดทดลอง ในสิ่งมีชีวิต และในมนุษย์ ว่ามีคุณประโยชน์ต่างๆ ดังนี้
- มีส่วนช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
- มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรง
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วน
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องผูก
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องเสีย
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน (IBS: Irritable Bowel Sysdrome)
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD: Inflammatory Bowel Disease)
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
- มีส่วนช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
- มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ
- มีส่วนช่วยเพิ่มกรดไขมันสายสั้น (SCFAs) ในลำไส้
- มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด
- มีส่วนช่วยลดค่าดัชนีน้ำตาล (GI: Glycemic Index)
- มีส่วนช่วยลดความโหยหลังจากมื้ออาหาร
- มีส่วนช่วยลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย
- มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C: Hemoglobin A1C)
ละลายน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ดื่มวันละ 1 ซอง