เมลาโทนิน – Melatonin คือ ฮอร์โมนที่บอกเวลาไม่ใช่ยานอนหลับ
เมลาโทนิน หรือ Melatonin คือ อะไรกันแน่? หลายคนเวลาเจอปัญหาการนอน ไม่ว่าจะเป็น…
- นอนไม่หลับ อยากจะนอนแทบตายแต่นอนไม่หลับ
- นอนหลับไม่สนิท หลับๆ ตื่นๆ
- กว่าจะทำให้นอนหลับก็ยากแล้ว ดันสะดุ้งตื่นง่ายอีก
อาหารเสริมช่วยนอนหลับ | มาจากธรรมชาติสามารถกินได้ทุกวัน
พอมีปัญหาเรื่องการนอนในตอนกลางคืนเลยพาลทำให้เวลากลางวันที่ร่างกายต้องตื่นตัวเพื่อพร้อมใช้ชีวิตประจำวัน กลับง่วงหาว อยากนอน อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่มีพลัง สุดท้ายเอาปัญหานี้ไปกูเกิลก็พบแต่โฆษณาอาหารเสริมเมลาโทนินเต็มฟีดไปหมด เลยพาลทำให้คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเมลาโทนิน คือ ยานอนหลับ !!!
เมลาโทนิน ยี่ห้อไหนดี | วิธีเลือกซื้อและวิธีกิน
เมลาโทนิน คือ ฮอร์โมนไม่ใช่ยานอนหลับ
เมลาโทนิน คือ ฮอร์โมนประเภทกระอะมิโน (Amino Acid Delivatives) ทำให้มีคุณสมบัติที่สามารถละลายน้ำได้ ถูกผลิตมาจากต่อมไพเนียล (Pineal Gland) ที่อยู่ในสมอง เมื่อหลั่งออกมาจากสมองแล้ว จะมีผลต่อร่างกาย ดังนี้
- กระตุ้นให้รู้สึกอยากนอน
- ผ่อนคลายกล้ามเนื้อและระบบประสาท
- เป็นตัวบอกเวลากลางวันและกลางคืน (Circadian Rhythm)
- เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สมอง
- ยับยั้งการบีบตัวของลำไส้
- กระตุ้นให้โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) หลั่ง
- กระตุ้นให้ไทรอยด์ฮอร์โมน (Thyroid Hormone) หลั่ง
- ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์
นอนไม่หลับ | เช็ค 5 ข้อนี้ก่อนกินยานอนหลับ
เมลาโทนิน คือ ฮอร์โมนบอกเวลา
เนื่องจากเมลาโทนินเป็นตัวบอกเวลากลางวัน-กลางคืนให้กับร่างกาย ทำให้เวลากลางวันตอนที่มีแสงแดด มีพลังงานจากดวงอาทิตย์ จะไม่มีการหลั่งออกมา ในขณะที่เวลากลางคืนตอนที่ไม่มีแสงแดด ไม่มีพลังงานความร้อน จะมีการหลั่งออกมา สุดท้ายเลยเป็นวัฏจักรที่คอยบอกเวลาให้กับร่างกายว่าตอนไหนคือเวลากลางวัน ตอนไหนคือเวลากลางคืน
วิธีนอนหลับ 5 ข้อ ทำให้นอนหลับลึกและยาวตลอดคืน
เมลาโทนิน คือ ฮอร์โมนที่หลั่งมากตอนเด็ก
ในตอนเด็กจะหลั่งเมลาโทนินเยอะที่สุด แล้วค่อยๆ ลดลงตามอายุที่มากขึ้น (จะสังเกตว่าเด็กๆ จะนอนเยอะ นอนได้แทบทั้งวัน)
การค่อยๆ ลดลงตามอายุที่มากขึ้นเป็นเรื่องปกติ แต่การลดลงเร็วเกินไป ลดเร็วกว่าอายุที่มากขึ้นมากๆ ทำให้สุดท้ายกลายเป็นภาวะพร่องเมลาโทนินฮอร์โมน (Hormone Deficiency) คือร่างกายต้องการ 100 แต่สมองหลั่งออกมาได้ 80 ก็เลยไม่เพียงพอกับที่ต้องการเพราะขาดไป 20 สาเหตุเกิดจากพฤติกรรมการกินอาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์ และสภาพแวดล้อม ซึ่งสุดท้ายแล้วภาวะพร่องเมลาโทนินจะแสดงออกมาให้เจ้าของร่างกายได้เห็น-ได้รู้สึกกัน
Anti Aging | ภาษาคนธรรมดาที่ไม่ใช่หมอ
ฮอร์โมนลดลงตามวัย
เมื่อเมลาโทนินฮอร์โมนพร่อง คือ หลั่งออกมาน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ อาการทางร่างกายที่จะแสดงออก คือ
- คุณภาพการนอนไม่ดี นอนหลับไม่ลึก ตื่นกลางคืน หลับๆ ตื่นๆ
- ปวดเมื่อยตัว ตึง-ล้า กล้ามเนื้อ
- ความดันโลหิตสูง
- ดูแก่กว่าวัย
- ชีวิตรวน กลางวันนอน กลางคืนตาสว่าง
อาการทางจิตใจและความรู้สึก คือ
- กังวลใจง่าย
- หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่ค่อยดี
- ไม่มีความสงบเยือกเย็น
- แสดงออกทางอารมณ์มากกว่าปกติ
ซึ่งเมื่อร่างกายมีภาวะพร่องเมลาโทนินฮอร์โมนต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ ทำให้มีโอกาสที่จะเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อม ดังนี้
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจ
- โรคอ้วน
- โรคเบาหวาน
- โรคติดเชื้อ
- โรคอัลไซเมอร์
- โรคพาร์กินสัน
เวชศาสตร์ชะลอวัย | 3 เรื่องที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด
เมื่อฮอร์โมนไม่พอ
อ่านมาถึงตรงนี้อยากให้ผู้อ่านทุกท่านได้เข้าใจว่าเมลาโทนินคืออะไร? หน้าที่และความสำคัญคืออะไร? ผลลัพธ์ที่แสดงออกมาทางร่างกายและความรู้สึกเป็นยังไง เมื่อเมลาโทนินมีระดับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น แต่ไม่ได้สนับสนุนให้อยู่ดีๆ ไปซื้ออาหารเสริมมากิน หรือคิดว่าต้องกินอาหารเสริมเป็นหลัก สิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจคือวิธีธรรมชาติที่จะทำให้เมลาโทนินหลั่งได้เป็นปกติ การใช้อาหารเสริมเมลาโทนินไม่ใช่สิ่งที่ผิดสามารถใช้เสริมเข้าไปในส่วนที่ร่างกายขาดได้ แต่ทัศนคติที่คิดว่าจะต้องพึ่งพาอาหารเสริมอย่างเดียวแบบนี้ไม่ดีแน่
อาหารเสริม ลดความอ้วน | มีกี่แบบ? แบบไหนดี?
ก่อนที่จะไปใช้อาหารเสริม
วิธีธรรมชาติที่จะทำให้เมลาโทนินฮอร์โมนทำงานได้สมบูรณ์สูงสุด
ช่วงเวลากลางวัน
- ได้รับแสงแดดบ้าง ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์บ้าง เพื่อให้สมองรับรู้ว่าเป็นเวลากลางวัน
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่
- ลองสังเกตตัวเองดูว่าอ่อนไหวกับกาแฟหรือชาเขียวหรือไม่ ถ้าอ่อนไหวก็ไม่ควรกินตอนบ่ายหรือตอนเย็น
- หลีกเลี่ยงความเครียดที่มีมากเกินไป
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ ช่วงเย็น
ช่วงเวลากลางคืน
- หลังพระอาทิตย์ตก ผ่อนคลายร่างกายให้เย็นลง ช้าลง เหมือนรถที่ต้องคูลดาวน์ก่อนจอด
- ผ่อนคลายจิตใจให้เย็นลง สงบลง เช่นเดียวกันกับร่างกาย
- หลีกเลี่ยงให้มีอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดในห้องนอน เพราะสามารถส่งพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาได้
- ห้องนอนต้องมืดสนิท ไม่มีแสงใดๆ เลย
- อากาศของห้องนอนเย็นสบาย อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อึดอัด
- ทำบรรยากาศของห้องนอนให้น่านอนตามแบบที่เราชอบ
- ไม่ไปใช้ชีวิตปกติในห้องนอน ทำให้ร่างกายและสมองรับรู้ว่าห้องนอนคือสำหรับนอนเท่านั้น
- เข้านอนก่อน 22.00
ระบบเผาผลาญพัง | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน
ปรับพฤติกรรมให้ดีก่อน
ถ้าเราไปโฟกัส ไปสนใจเฉพาะแค่การใช้อาหารเสริม ไปโดนคนขายอาหารเสริมหลอกล่อ พยายามชักจูงเพื่อปิดการขายอย่างเดียว แต่ไม่ได้ดูแลปัจจัยพื้นฐานที่สนับสนุนให้เมลาโทนินฮอร์โมนหลั่งได้สมบูรณ์ตามธรรมชาติ สุดท้ายแล้วอาหารเสริมที่กินเข้าไปก็ไม่ได้แสดงผลลัพธ์ได้มีประสิทธิภาพเพราะยังไงธรรมชาติก็อยู่เหนือทุกส่ิงทุกอย่างในโลก รวมถึงมนุษย์ด้วย
ทางที่ดีที่สุดคือควรต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจว่าเมลาโทนินฮอร์โมนทำงานยังไง ปัจจัยอะไรบ้างที่สนับสนุนให้ทำงานได้ดีขึ้น ปัจจัยอะไรบ้างที่ยับยั้งให้ทำงานได้แย่ลง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตคืออะไร ไม่อย่างนั้นการกินอาหารเสริมเมลาโทนินก็เหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ เพราะสิ่งที่ได้กับสิ่งที่ลงทุนไปเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วขาดทุน ถ้าลงทุนไป 100 ได้ผลลัพธ์มา 100 ก็เสมอตัว ถ้าลงทุนไป 100 ได้ผลลัพธ์มา 1,000 ก็กำไร ถ้าลงทุนไป 100 ได้ผลลัพธ์มา 10 ก็ขาดทุน
อย่าเสียเงินเปล่าไปกับการโฟกัสการใช้อาหารเสริมเพียงอย่างเดียว
เวชศาสตร์ชะลอวัย หลอกลวง จริงหรือเปล่า?
อาหารเสริมเมลาโทนินเกรดการแพทย์
หนังสือที่จะทำให้คุณเข้าใจฮอร์โมนของคุณ
ในหนังสือเล่มนี้จะพาคุณไปเรียนรู้ฮอร์โมนที่มีอยู่ในร่างกายของตัวเอง ว่าทำงานยังไง อะไรบ้างที่ทำให้ฮอร์โมนมากเกินไป อะไรบ้างที่ทำให้ฮอร์โมนน้อยเกินไป และจะทำยังไงให้ฮอร์โมนทำงานสมบูรณ์ ผ่านจากเรียนรู้ทั้งหมด 20 บท คือ
- ความรู้พื้นฐานของระบบฮอร์โมน (Basic Concept of Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการต้านแก่ (Growth Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการนอนหลับ (Melatonin Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการเผาผลาญพลังงานขั้นพื้นฐาน (Thyroid Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการอยู่รอด (Cortisol Hormone)
- แม่ของทุกฮอร์โมนประเภทไขมัน (Pregnenolone Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการควบคุมความดัน (Aldosterone Hormone)
- ฮอร์โมนเพศชายอย่างแรก (DHEA Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งความตกใจ โมโห หดหู่ (Catecholamines Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโตไปข้างหน้า (Insulin Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการลดความอ้วน (Glucagon Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งความสุข (Dopamine-Endorphin-Oxytocin-Serotonin Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการอักเสบ (Prostaglandins Hormone)
- กลุ่มฮอร์โมนแห่งความเป็นเพศชาย (Androgen Group Hormone)
- กลุ่มฮอร์โมนแห่งความเป็นเพศหญิง (Estrogen Group Hormone)
- กลุ่มฮอร์โมนแห่งความแข็งแรงของกระดูก (Parathyroid-Calcitonin Hormone)
- ฮอร์โมนที่เกิดจากไขมันสะสม (Fat Hormone)
- ฮอร์โมนทุกอย่างทำงานร่วมกัน (Hormone Symphony)
- อาการที่ทำให้รู้ว่าฮอร์โมนเพี้ยน (Health Effect to Hormone Dysfunction)
- ทำยังไงให้ฮอร์โมนทำงานสมบูรณ์ (Lifestyle for Optimal Hormone)