วิธีเพิ่มความสูง ไม่ใช่แค่กินแคลเซียม
วิธีเพิ่มความสูง … หลายท่านอยากเพิ่มความสูงให้ตัวเองหรือคนที่เรารัก (ไม่ว่าจะเป็นแฟน คนในครอบครัว หรือลูก) แต่พออยากหาข้อมูลก็เจอแต่ขายอาหารเสริมแคลเซียม ทั้งๆ ที่ปัจจัยที่จะทำให้กระดูกยืดยาวขึ้นได้ไม่ได้มีแค่แคลเซียมเท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลทำให้เพิ่มความสูงแบบจริงๆ ไม่ได้มโนเอาเอง เป็นวิทยาศาสตร์ที่มีเหตุมีผล ซึ่งปัจจัยทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเพิ่มความสูง มีดังนี้
ทุกเรื่องเกี่ยวกับ แคลเซียม (Calcium) ที่คนทั่วไปควรรู้
1 | พันธุกรรม
ปัจจัยพื้นฐานอย่างแรกเลยคือเราต้องยอมรับว่าเราเป็นส่วนผสมของพ่อและแม่ หน้าตา-สีผม-รูปร่าง ทั้งหมดก็จะได้มาจากพ่อและแม่ ทุกคนสามารถเพิ่มความสูงได้แต่ก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของพันธุกรรมที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด (Genetic)
2 | โกรทฮอร์โมน
โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) คือ ฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโตไปข้างหน้า มีผลทำให้ร่างกายมีการแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนมากขึ้น ถ้าร่างกายยังไม่ได้เจริญเติบโตเต็มที่…ผลของโกรทฮอร์โมนก็จะทำให้ร่างกายสูงขึ้น-หนาขึ้น-ใหญ่ขึ้น แต่ถ้าร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว…ผลของโกรทฮอร์โมนก็จะทำให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ซึ่งปัจจัยที่มีผลทำให้โกรทฮอร์โมนหลั่ง มี 4 อย่าง ดังนี้
อายุ
ธรรมชาติของโกรทฮอร์โมนจะหลั่งมากที่สุดตอนเด็ก และจะทยอยลดลงเรื่อยๆ ตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นจะสังเกตได้ว่าในวัยเด็กจะมีช่วงอายุนึงที่ตัวยืดสูงขึ้นเร็วมาก แต่หลังจากนั้นแทบจะไม่สูงขึ้นอีกแล้ว นั่นคือผลของโกรทฮอร์โมนที่สั่งให้กระดูกยืดยาวขึ้น ด้วยความรู้เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (Anti-Aging and Regenerative Medicine) ทำให้เรารู้ว่าร่างกายจะเจริญเติบโตสูงสุดช่วงอายุประมาณ 25 ปี พัฒนาการทุกระบบของร่างกายรวมถึงความสูงจะไม่พัฒนาไปมากกว่านี้แล้ว หลังจากอายุ 25 ปี เป็นต้นไปร่างกายจะเริ่มเข้าสู่สภาวะถดถอยอย่างเดียวเท่านั้น
คุณภาพการนอนหลับ
โกรทฮอร์โมนจะหลั่งออกมาหลังจากที่ร่างกายหลับสนิทแล้วเท่านั้น ซึ่งร่างกายจะหลับสนิทได้เป็นผลมาจากเมลาโทนินฮอร์โมน (Melatonin Hormone) เพราะฉะนั้นจะสังเกตได้ว่าเด็กๆ จะนอนเยอะมาก นอนแทบทั้งวัน แล้วร่างกายก็จะโตเร็วมาก ทั้งหมดนั่นเป็นผลมาจากเมลาโทนินฮอร์โมนที่สั่งให้นอนหลับและโกรทฮอร์โมนที่สั่งให้เติบโต เปรียบเทียบเหมือนการวิ่งผลัดที่มีเมลาโทนินฮอร์โมนเป็นไม้แรกแล้วส่งต่อให้โกรทฮอร์โมนเป็นไม้ที่สอง ถ้าอยากสูงขึ้นต้องมีคุณภาพการนอนที่ดี
อาหารมื้อสุดท้ายของวัน
เนื่องจากโกรทฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนประเภทโปรตีนและโพลีเพปไทด์ (Protein and Polypeptides) ถ้าอยากให้ตอนนอนหลับร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมาสมบูรณ์อาหารมื้อสุดท้ายของวันนั้นควรมีน้ำตาลต่ำๆ มีไขมันต่ำๆ แต่มีกรดอะมิโนที่สมบูรณ์ เพราะฉะนั้นถ้าอยากสูงขึ้นควรงดอาหารมื้อดึก มื้อเย็นหรือมื้อสุดท้ายควรกินข้าว-แป้ง-น้ำตาลน้อยๆ กินเห็ด-เต้าหู้-ถั่ว-ไข่ มากหน่อย และเน้นกินผักเป็นหลัก-ผลไม้เป็นรอง เพื่อกระตุ้นให้โกรทฮอร์โมนหลั่งออกมาสมบูรณ์
ออกกำลังกาย
การออกกำลังกาย-บริหารร่างกาย-ใช้งานร่างกาย ก็เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมาสมบูรณ์ ถ้าดูแลโภชนาการดี นอนหลับดี แต่ไม่ออกกำลังกายเลย ก็เทียบไม่ได้กับการดูแลโภชนาการดี นอนหลับดี และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะฉะนั้นถ้าอยากสูงขึ้นต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอ หนักบ้าง-ปานกลางบ้าง-เบาบ้าง แบบมีแรงกระแทกบ้าง-ไม่มีแรงกระแทกบ้าง และกระจายการออกกำลังกายไปทั้ง 3 แบบ คือ
- สร้างและบริหารกล้ามเนื้อ (Weight Training)
- บริหารหัวใจ ปอด และระบบไหลเวียนของเหลว (Cardiovascular)
- ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อ (Stretching)
แคลเซียม ยี่ห้อไหนดี | วิธีเลือกซื้อและวิธีกิน
3 | การเป็นหนุ่มเป็นสาว
โกรทฮอร์โมน คือ ฮอร์โมนที่สั่งให้กระดูกยืดยาวขึ้นทำให้ร่างกายสูงขึ้น และฮอร์โมนเพศ (Sex Hormone) คือ ฮอร์โมนที่สั่งให้เด็กผู้หญิงเริ่มมีหน้าอก-มีประจำเดือน เด็กผู้ชายเริ่มเสียงแตกหนุ่ม-มีน้ำอสุจิ และที่สำคัญที่เกี่ยวกับความสูงคือทำให้ปลายกระดูกปิด จะสังเกตได้ว่าเด็กในช่วงวัยที่ยังไม่แสดงความเป็นเพศออกมาจะโตเร็วมาก สูงขึ้น-หนาขึ้น-ใหญ่ขึ้น แต่พอเริ่มแสดงความเป็นเพศออกมา (ไม่ว่าจะเป็นเริ่มมีหน้าอก มีประจำเดือน เสียงแตกหนุ่ม องคชาตแข็งตัว มีน้ำอสุจิ มีอารมณ์ทางเพศ) หลังจากนั้นร่างกายจะโตช้าหรือแทบไม่สูงขึ้นอีกแล้ว เพราะฉะนั้นช่วงเวลาทอง (Golden Period) ของการเพิ่มความสูง คือ ช่วงเด็กที่ยังไม่เป็นหนุ่มเป็นสาว แต่ถ้าหลังจากนั้นโอกาสจะลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งหมดโอกาสที่อายุ 25 ปี เพราะร่างกายเจริญเติบโตสูงสุดแล้ว
4 | แคลเซียมและวิตามิน
ส่วนประกอบของกระดูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ เกลือแร่ (~70% ของกระดูกทั้งหมด) และเนื้อกระดูก (~30% ของกระดูกทั้งหมด) โดยที่เซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกระดูกเพื่อทำให้เพิ่มความสูง คือ ออสติโอบลาสต์ (Osteoblast) จะอยู่ในส่วนของเนื้อกระดูก ถ้าอยากเพิ่มความสูงต้องมีวัตถุดิบในการสร้างกระดูกให้เพียงพอและปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้เกิดการสร้างเนื้อกระดูก ดังนี้
- แคลเซียม (Calcium)
- แมกนีเซียม (Magnesium)
- วิตามินดีสาม (Vitamin D-3)
- วิตามินซี (Vitamin C)
- ภาวะความเป็นด่างของร่างกาย
วิตามินเค Vitamin K | คือ? ช่วยอะไร? อาการเมื่อขาด?
สรุป
วิธีเพิ่มความสูง ไม่ใช่แค่กินอาหารเสริมแคลเซียมเท่านั้น !!!
แคลเซียม คือ วัตถุดิบหลักในการสร้างกระดูก แต่ก็ยังต้องการวิตามินและเกลือแร่อื่นๆ ที่จะสนับสนุนให้แคลเซียมเข้าไปอยู่ในกระดูกและฟัน ไม่ใช่ในหลอดเลือด
โกรทฮอร์โมน คือ คำสั่งที่สั่งให้กระดูกยืดยาวขึ้น จะหลั่งมากที่สุดตอนที่เป็นเด็กและตอนหลับสนิทเท่านั้น
ฮอร์โมนเพศ คือ คำสั่งที่สั่งให้ปลายกระดูกปิด ช่วงเวลาที่ร่างกายจะยืด-จะเพิ่มความสูง ได้ดีที่สุดคือตอนเด็กก่อนจะเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์
ภาวะความเป็นด่างของร่างกาย คือ ภาวะที่สนับสนุนให้เกิดการสร้างเนื้อกระดูก ไม่ว่าจะเป็นการกินพืช ผัก ผลไม้ ธัญพืช และถั่ว หลีกเลี่ยงนมวัว น้ำอัดลม กาแฟ ความเครียด และอาหารดัดแปลงอุตสาหกรรม
ยาลดความอ้วน อันตรายอย่ากินเลย มีวิธีที่ดีกว่า
อาหารเสริมโกรทฮอร์โมน
GH Enhance คือ อาหารเสริมที่เป็นทั้งวัตถุดิบและปัจจัยสนับสนุนทำให้ร่างกายสร้างโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ได้อย่างสมบูรณ์
- L-Glutamine | เป็นวัตถุดิบทำให้ร่างกายสร้างโกรทฮอร์โมน
- L-Arginine | เป็นวัตถุดิบทำให้ร่างกายสร้างโกรทฮอร์โมน
- L-Lysine | เป็นวัตถุดิบทำให้ร่างกายสร้างโกรทฮอร์โมน
- GABA | ช่วยทำให้ร่างกายและสมองผ่อนคลาย
- Alpha Lipoic Acid | ช่วยทำให้ระบบประสาททำงานสมบูรณ์
- Zinc Amino Acid Complex | ช่วยกระตุ้นทำให้โกรทฮอร์โมนหลั่งและช่วยทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายเป็นปกติ
โกรทฮอร์โมนเป็นคำสั่งที่ทำให้กระดูกยืดยาว ความสูงเลยเพิ่มขึ้นนั่นเอง
อาหารเสริมแคลเซียมเกรดการแพทย์
BeCal คือ อาหารเสริมแคลเซียมที่ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต (Calcium L-Threonate) คือ รูปแบบของแคลเซียมที่สกัดมาจากข้าวโพด ทำให้สามารถดูดซึมได้ดีกว่าแคลเซียมแบบทั่วๆ ไป มากถึง 9 เท่า นอกจากนั้นแล้วยังมีส่วนผสมอื่นๆ ที่ช่วยทำให้แคลเซียมเข้าไปที่กระดูกและฟัน ดังนี้
- แมกนีเซียม (Magnesium) | ช่วยพาแคลเซียมเข้ากระดูกและฟัน ช่วยทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย-ลดตะคริว
- วิตามินดีสาม (Vitamin D-3) | ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในกระเพาะอาหาร ช่วยลดความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุ
- วิตามินเคสอง (Vitamin K-2) | ช่วยพาแคลเซียมที่เกาะหลอดเลือดเข้าสู่กระดูก ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน
- วิตามินซี (Vitamin C) | ช่วยเพิ่มการสร้างคอลลาเจน ช่วยยับยั้งการสลายของกระดูก
- แมงกานีส (Manganese) | ช่วยทำให้กระดูกพัฒนาและแข็งแรง
- วิตามินบี (Vitamin B) | ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง ลดความเสี่ยงในการเกิดกระดูกพรุน
- โบรอน (Boron) | ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน
สามารถทานเวลาไหนก็ได้ เพราะไม่อึดท้อง ไม่ท้องผูก ไม่จำเป็นต้องใช้กรดในกระเพาะอาหาร