ลำไส้แปรปรวน | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน

ลำไส้แปรปรวน – โรคลำไส้แปรปรวน – ภาวะลำไส้แปรปรวน ทั้งหมดนี้เป็นคำในภาษาไทยที่มีความหมายในทิศทางเดียวกันหมด โดยภาษาอังกฤษเรียกว่า IBS : Irritable Bowel Syndrome คือ ภาวะการทำงานผิดปกติของลำไส้ โดยหลักๆ จะเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของลำไส้ (Motility) ทำให้เกิดการปวดบริเวณช่องท้องร่วมกับการขับถ่ายผิดปกติ ซึ่งจะแตกต่างกับลำไส้อักเสบ (IBD : Inflammatory Bowel Disease) ซึ่งเกี่ยวกับการอักเสบของลำไส้ทำให้เกิดการบาดเจ็บภายใน

ปี 2018 จากข้อมูลของวิทยาลัยอเมริกันของระบบทางเดินอาหาร (ACG: American College of Gastroenterology) พบว่าประชาชนสหรัฐอเมริกาทุกๆ 20 คน จะมีคนเป็นโรคลำไส้แปรปรวน 1 คน และยังเป็นสาเหตุอันดับ 1 ของการปวดท้องอีกด้วย

ลำไส้อักเสบ | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน

ลำไส้แปรปรวน | อาการ

อาการส่วนใหญ่ที่พบได้ทั่วไปสำหรับโรคลำไส้แปรปรวน คือ

  1. ปวดบริเวณช่องท้อง
  2. ท้องอืด
  3. จุก เสียด แน่นท้อง
  4. มีลมในช่องท้องเยอะ
  5. ท้องผูกหรือท้องเสีย
  6. มีเมือกมูกปนออกมากับอุจจาระ
  7. น้ำหนักลดลง

ถ้ามีอาการเหล่านี้มากกว่า 3 วัน/เดือน ในช่วง 3 เดือน คุณอาจจะมีภาวะลำไส้แปรปรวน

อุจจาระ | สีบอกอะไร แข็งบอกอะไร รูปร่างบอกอะไร

ลำไส้แปรปรวน | สาเหตุ

ในปัจจุบันยังไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัดของลำไส้แปรปรวน แต่อาจจะเกิดจากปัจจัยเหล่านี้รวมๆ กัน ได้แก่

  1. กรรมพันธุ์ ถ้าคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคลำไส้แปรปรวน อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้ถึง 2-3 เท่า
  2. อารมณ์และจิตใจ เนื่องจากสมองและลำไส้มีความสัมพันธ์กัน (Gut-Brain Axis) อารมณ์และความรู้สึกเลยมีผลต่อการทำงานของลำไส้ ความเครียด-วิตกกังวล-ซึมเศร้า คือ หนึ่งในสาเหตุที่มีผลทำให้ลำไส้ทำงานผิดปกติ
  3. การติดเชื้อในทางเดินอาหาร ถ้าระบบทางเดินอาหารมีการติดเชื้อโรคก็มีผลทำให้ลำไส้ทำงานผิดปกติ ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นหลังจากท้องเสียแบบเฉียบพลัน (Acute Diarrhea)
  4. ขาดสารอาหารที่มีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ ลำไส้เองก็มีกล้ามเนื้อข้างในไม่ต่างจากกล้ามเนื้อบริเวณอื่นๆ การขาดสารอาหารบางอย่างมีผลทำให้กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติรวมถึงในลำไส้ด้วย เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม วิตามินดี เป็นต้น
  5. นมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว ต้องยอมรับว่าคนไทยนิยมบริโภคนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัวเป็นจำนวนมาก ซึ่งก็มีคนไทยจำนวนไม่น้อยเลยที่มีปัญหาในการย่อยน้ำตาลแลคโตส (Lactose) ที่อยู่ในนมวัว ทำให้มีผลต่อการทำงานของลำไส้ให้ผิดปกติได้
  6. การไม่ออกกำลังกาย ลำไส้ใหญ่เองมีความยาว ~1.5 เมตร ขดตัวอยู่ในช่องท้องเป็นรูปตัวยูคว่ำ การไม่มีการขยับช่องท้องเลย ไม่มีการออกกำลังกายเลย บางทีก็มีผลต่อการทำงานของลำไส้ทำให้ทำงานผิดปกติได้
  7. ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ไทรอยด์ (Thyroid) เป็นฮอร์โมนที่มีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อทั้งร่างกายรวมถึงกล้ามเนื้อในลำไส้ด้วย ถ้ามีการทำงานผิดปกติก็อาจจะส่งผลต่อการทำงานของลำไส้ให้ผิดปกติด้วย

Gut-Brain Axis | ลำไส้เชื่อมกับสมอง

ลำไส้แปรปรวน | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน
ลำไส้แปรปรวน (IBS : Irritable Bowel Syndrome)

ลำไส้แปรปรวน | รักษา

เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่รู้ว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริงของลำไส้แปรปรวน ทำให้การรักษาโรคก็ยังไม่สามารถทำให้หายขาดได้ เพราะฉะนั้นเป้าหมายของการรักษา คือ การบรรเทาอาการ การยับยั้งไม่ให้กลับมาเกิดซ้ำ รวมถึงการป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลักๆ ก็จะมี ดังนี้

รักษาโดยไม่ใช้ยา

  • รับประทานอาหารที่มีกากใย
  • หลีกเลี่ยงอาหารกลุ่ม FODMAPs (Fermentable Oligosaccharides Disaccharides and Monosaccharides and Polyols)
  • รับประทานพรีไบโอติกและโพรไบโอติก
  • ดื่มน้ำเปล่าที่มีแร่ธาตุ
  • บริหารอารมณ์และจิตใจให้นิ่งสงบ
  • ออกกำลังกายนวดช่องท้อง
  • นอนหลับให้มีคุณภาพ

รักษาโดยใช้ยา

  • ยาต้านการบีบเกร็ง
  • ยาต้านอาการซึมเศร้า
  • ยาลดอาการปวดท้อง

    FODMAPs คือ | ตาราง Low – High FODMAPs Diet

    ลำไส้แปรปรวน | ป้องกัน

    1. หลีกเลี่ยงไม่ทำให้ลำไส้ทำงานผิดปกติ
      • หลีกเลี่ยงอาหารที่ร่างกายแพ้และก่อให้เกิดการแพ้
      • หลีกเลี่ยงการรับประทานนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว
      • หลีกเลี่ยงการรับประทานยาเป็นประจำ ควรรับประทานชั่วครั้งชั่วคราวเพื่อรักษาโรคให้หายขาดเท่านั้น ไม่ควรต้องกินยาอะไรก็ตามเป็นประจำทุกวัน
      • รับประทานอาหารพอดีอิ่ม ไม่อิ่มจุกบ่อยๆ
      • รับประทานอาหารเป็นเวลา
    2. ทำให้ร่างกายแข็งแรงอยู่ตลอดเวลา
      • รับประทานกากใยอาหาร เช่น ผักและผลไม้ ในทุกๆ วัน
      • รับประทานอาหารหลักให้ครบตามที่ร่างกายต้องการในทุกๆ วัน
      • รับประทานพรีไบโอติกเป็นประจำ
      • รับประทานโพรไบโอติกเป็นประจำ
      • ขับถ่ายอุจจาระทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
      • นอนหลับให้มีคุณภาพ
      • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
      • บริหารความเครียดให้เหมาะสม
    3. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ นอกเหนือจากการดูแลตัวเองในทุกๆ วันแล้ว การหมั่นตรวจเช็คสุขภาพร่างกายโดยผู้เชี่ยวชาญ ก็เป็นอีกปัจจัยนึงที่ช่วยป้องกันโรคด้วย

    ท้องผูก | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน

    อาหารเสริมพรีไบโอติก (Prebiotic)

    Wellness Hub – Good Gut

    Good Gut คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG : Partially Hydrolyzed Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ

    ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้

    • FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
    • Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
    • GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
    • Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
    • VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
    • HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
    • KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว

    มีงานวิจัยเฉพาะของ PHGG (Partially Hydrolyzed Guar Gum) ทั้งในหลอดทดลอง ในสิ่งมีชีวิต และในมนุษย์ ว่ามีคุณประโยชน์ต่างๆ ดังนี้

    1. มีส่วนช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
    2. มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรง
    3. มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วน
    4. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องผูก
    5. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องเสีย
    6. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน (IBS: Irritable Bowel Sysdrome)
    7. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD: Inflammatory Bowel Disease)
    8. มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
    9. มีส่วนช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
    10. มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ
    11. มีส่วนช่วยเพิ่มกรดไขมันสายสั้น (SCFAs: Short-Chain Fatty Acids) ในลำไส้
    12. มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด
    13. มีส่วนช่วยลดค่าดัชนีน้ำตาล (GI: Glycemic Index)
    14. มีส่วนช่วยลดความโหยหลังจากมื้ออาหาร
    15. มีส่วนช่วยลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย
    16. มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C: Hemoglobin A1C)

    ละลายน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ดื่มวันละ 1 ซอง

    Youtube : ลำไส้แปรปรวน | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน

    Similar Posts