ลำไส้อักเสบ | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน
ลำไส้อักเสบ – โรคลำไส้อักเสบ หรือ ลำไส้อักเสบเรื้อรัง – โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ทั้งหมดนี้เป็นคำในภาษาไทยที่มีความหมายในทิศทางเดียวกันหมด โดยภาษาอังกฤษเรียกว่า IBD : Inflammatory Bowel Disease คือ ภาวะการอักเสบของลำไส้ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่ยอมจบยอมสิ้น หรือที่เรียกว่าการอักเสบเรื้อรังนั่นเอง จนทำให้เกิดการบาดเจ็บในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มโรค ได้ดังนี้
- โรคโครห์น (CD : Crohn’s Disease) คือ การอักเสบของระบบทางเดินอาหารส่วนใดก็ได้ ตั้งแต่ตั้งแต่ปากจนถึงทวารหนัก แต่ส่วนใหญ่จะเกิดที่บริเวณลำไส้เล็กก่อนถึงลำไส้ใหญ่
- โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ (UC : Ulcerative Colitis) คือ การอักเสบของระบบทางเดินอาหารบริเวณลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
ปี 2020 พบว่าทั่วโลกมีคนเป็นโรคลำไส้อักเสบ 396 คน ต่อประชากร 100,000 คน ต่อปี และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ลำไส้รั่ว Leaky Gut | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน
ลำไส้อักเสบ | อาการ
อาการส่วนใหญ่ที่พบได้ทั่วไปสำหรับโรคลำไส้อักเสบ คือ
- ท้องเสียเรื้อรัง
- ปวดบริเวณช่องท้อง
- อุจจาระมีเลือดปนออกมา
- รูทวารหนักมีเลือดออก
- น้ำหนักลดลง
- อ่อนล้า อ่อนแรง ไม่มีพลัง
อุจจาระ | สีบอกอะไร แข็งบอกอะไร รูปร่างบอกอะไร
ลำไส้อักเสบ | สาเหตุ
ในปัจจุบันยังไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัดของลำไส้อักเสบ แต่อาจจะเกิดจากปัจจัยเหล่านี้รวมๆ กัน ได้แก่
- กรรมพันธุ์ ถ้าคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคลำไส้อักเสบ อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้มากกว่าคนอื่นๆ รวมถึงคนผิวขาวอาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้สูงกว่าเชื้อชาติอื่นๆ ด้วย
- สภาพแวดล้อม คนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมหรือสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ อาจมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สะอาด นอกจากนี้ยังพบว่าคนที่สูบบุหรี่มีโอกาสในการเกิดโรคลำไส้อักเสบมากกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า
- ยาที่รับประทานเป็นประจำ ยาแก้อักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแนค นาพรอกเซน รวมถึงยาอื่น ๆ ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เป็นต้น อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ รวมถึงอาจส่งผลให้อาการของโรครุนแรงขึ้น
ลำไส้แปรปรวน | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน
ลำไส้อักเสบ | รักษา
เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่รู้ว่าอะไรคือสาเหตุของการเกิดลำไส้อักเสบ ทำให้การรักษาโรคก็ยังไม่สามารถทำให้หายขาดได้ เพราะฉะนั้นเป้าหมายของการรักษา คือ การบรรเทาอาการ การยับยั้งไม่ให้กลับมาเกิดซ้ำ รวมถึงการป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลักๆ ก็จะมี ดังนี้
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไข้ เช่น งดอาหารที่แพ้หรือก่อให้เกิดการแพ้ งดนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน งดบุหรี่ งดอาหารรสจัด เคี้ยวอาหารให้ละเอียด กินอาหารมื้อเล็กลง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ดื่มน้ำเปล่าที่สะอาดและมีแร่ธาตุ นอนหลับให้มีคุณภาพ รวมถึงควบคุมความเครียดทั้งจากทางร่างกายและทางจิตใจให้เหมาะสม
- การรับประทานยา เป็นหน้าที่ของแพทย์เฉพาะทางในการประเมินอาการของแต่ละคนไข้รวมถึงความรุนแรงของโรคเพื่อวางแผนการจ่ายยา แต่ก็จะหนีไม่พ้นยาแก้อักเสบ ยากดภูมิคุ้มกัน ยาปฎิชีวนะ เป็นต้น นอกจากนี้อาจจะมียาที่รักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ปวด วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่อาจจะต้องเสริมเนื่องจากการขับถ่ายอุจจาระมากกว่าปกติ
- การให้อาหารผ่านทางหลอดเลือด แพทย์เฉพาะทางอาจพิจารณาการให้อาหารชนิดพิเศษผ่านทางหลอดเลือดดำแทนที่จะให้คนไข้กินอาหารตามปกติ เพื่อลดการทำงานของระบบย่อยอาหารและลำไส้ แต่อย่างไรก็ตามวิธีนี้ก็ทำได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น อาจจะช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ในระยะเวลาสั้น
- การผ่าตัด แพทย์เฉพาะทางอาจจะพิจารณาตัดลำไส้ส่วนที่อักเสบมากๆ ออกไปเพื่อทำให้โดยรวมของระบบย่อยอาหารของคนไข้ดีขึ้น แต่ก็เป็นทางเลือกสุดท้ายของการรักษา
เพราะฉะนั้นคำถามที่คนเป็นโรคลำไส้อักเสบส่วนใหญ่สงสัยว่า “ลำไส้อักเสบ กี่วันหาย ?” ก็ไม่สามารถบอกได้ ขึ้นกับความรุนแรงของแต่ละคน ขึ้นกับสภาพร่างกายของแต่ละคน รวมถึงขึ้นกับการดูแลตัวเองของแต่ละคนด้วย
นมวัว | ข้อดี VS ข้อเสีย
ลำไส้อักเสบ | ป้องกัน
- ลดการอักเสบของลำไส้และของร่างกาย
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ร่างกายแพ้และก่อให้เกิดการแพ้
- หลีกเลี่ยงการรับประทานนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว
- หลีกเลี่ยงการรับประทานยาเป็นประจำ ควรรับประทานชั่วครั้งชั่วคราวเพื่อรักษาโรคให้หายขาดเท่านั้น ไม่ควรต้องกินยาอะไรก็ตามเป็นประจำทุกวัน
- ลดการรับประทานกรดไขมันโอเมก้า-6 เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด เนื้อสัตว์สีแดง
- เพิ่มการรับประทานกรดไขมันโอเมก้า-3 เช่น น้ำมันปลา น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ น้ำมันงาขี้ม้อน
- ทำให้ร่างกายแข็งแรงอยู่ตลอดเวลา
- รับประทานกากใยอาหาร เช่น ผักและผลไม้ ในทุกๆ วัน
- รับประทานพรีไบโอติกเป็นประจำ
- รับประทานโพรไบโอติกเป็นประจำ
- ขับถ่ายอุจจาระทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
- นอนหลับให้มีคุณภาพ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- บริหารความเครียดให้เหมาะสม
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำ นอกเหนือจากการดูแลตัวเองในทุกๆ วันแล้ว การหมั่นตรวจเช็คสุขภาพร่างกายโดยผู้เชี่ยวชาญ ก็เป็นอีกปัจจัยนึงที่ช่วยป้องกันโรคด้วย
พรีไบโอติก Prebiotic | คืออะไร? มีประโยชน์อะไร?
อาหารเสริมพรีไบโอติก (Prebiotic)
Good Gut คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG : Partially Hydrolyzed Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ
ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้
- FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
- Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
- GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
- Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
- VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
- HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
- KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว
มีงานวิจัยเฉพาะของ PHGG (Partially Hydrolyzed Guar Gum) ทั้งในหลอดทดลอง ในสิ่งมีชีวิต และในมนุษย์ ว่ามีคุณประโยชน์ต่างๆ ดังนี้
- มีส่วนช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
- มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรง
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วน
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องผูก
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องเสีย
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน (IBS: Irritable Bowel Sysdrome)
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD: Inflammatory Bowel Disease)
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
- มีส่วนช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
- มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ
- มีส่วนช่วยเพิ่มกรดไขมันสายสั้น (SCFAs: Short-Chain Fatty Acids) ในลำไส้
- มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด
- มีส่วนช่วยลดค่าดัชนีน้ำตาล (GI: Glycemic Index)
- มีส่วนช่วยลดความโหยหลังจากมื้ออาหาร
- มีส่วนช่วยลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย
- มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C: Hemoglobin A1C)
ละลายน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ดื่มวันละ 1 ซอง