น้ำมันปลา – Fish Oil | ช่วยอะไร? มีผลข้างเคียงอะไร?
น้ำมันปลา หรือ Fish Oil คือ ไขมันที่ได้มาจากเนื้อปลาทะเลหลากหลายชนิด เช่น ปลาแฮร์ริ่ง ปลาทูน่า ปลาแอนโชวี่ ปลาเทราท์ ปลาแซลมอน ปลาแมคคอเรล ปลาซาดีน ยิ่งปลาทะเลน้ำลึกยิ่งมีสารอาหารที่ร่างกายต้องการในปริมาณสูง โดยในปี 2023 มูลค่าของตลาดอาหารเสริมน้ำมันปลาทั่วโลกมีสูงถึง 13,000 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
น้ํามันผ่านกรรมวิธี Refined Oil | คืออะไร? ดีหรือไม่ดี?
ประวัติ
ปี 1929 | George and Mildred Burr สามีภรรยานักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองจำกัดประเภทอาหารให้กับหนูทดลองด้วยการไม่ให้อาหารประเภทไขมันกับหนู ต่อมาพบว่าหนูที่ไม่ได้ไขมันเลยมีโรคที่เกี่ยวกับขาดสารอาหาร ซึ่งหนูเหล่านี้จะกลับมาแข็งแรงได้ด้วยการให้กรดไขมันไลโนเลอิก (Linoleic Fatty Acid) สุดท้ายเลยเป็นการค้นพบกรดไขมันที่จำเป็นที่ร่างกายต้องการขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก
ปี 1971 | Jorn Dyerberg และ Hans Olaf Bang นักวิทยาศาสตร์ชาวเดนมาร์กได้เข้าไปศึกษาชาวเอสกิโมในประเทศกรีนแลนด์ โดยตั้งข้อสังเกตว่าทำไมพวกเค้าถึงมีสุขภาพดี มีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบต่ำกว่าชาวอเมริกันถึง 1 ใน 10 ทั้งที่รับประทานแต่อาหารประเภทไขมันสูง เช่น ปลา แมวน้ำ และวาฬ พวกเขาเลยทำการเจาะเลือดชาวเอสกิโมกลับไปวิเคราะห์ซึ่งใช้เวลานานกว่า 2 ปี ถึงจะอธิบายได้ว่าไขมัน EPA และ DHA เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกลับส่งผลทำให้การเกิดโรคหัวใจต่ำ ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการบริโภค 2 ไขมันนี้ ชาวเอสกิโมบริโภคมากกว่า 13 กรัมต่อวัน ชาวอเมริกันบริโภคต่ำกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน
ปี 2004 | Bill Harris นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันได้ตีพิมพ์งานวิจัยในนิตยสาร Preventive Medicine ว่าไขมันโอเมก้าสาม (Omega-3) ที่พบมากในน้ำมันปลาเป็นดัชนีชี้วัดใหม่เพื่อใช้วัดโอกาสในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เกิดการศึกษาเรื่องน้ำมันปลากับการป้องกันและรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดต่อมา
น้ำมันสำหรับทอด | อะไรดีกับสุขภาพ อะไรไม่ดีกับสุขภาพ
ส่วนประกอบ
ในน้ำมันปลา 1 แคปซูล จะมีส่วนประกอบหลัก คือ
- Cholesterol | คอเลสเตอรอล
- Saturated Fat | ไขมันอิ่มตัว
- Unsaturated Fat | ไขมันไม่อิ่มตัว
- Omega-3 | โอเมก้าสาม
- EPA | อีพีเอ
- DHA | ดีเอชเอ
- Omega-6 | โอเมก้าหก
- Omega-9 | โอเมก้าเก้า
- Omega-3 | โอเมก้าสาม
- Vitamin | วิตามิน
- Vitamin-A | วิตามินเอ
- Vitamin-D | วิตามินดี
- Antioxidant | สารต้านอนุมูลอิสระ
น้ำมันปลา VS น้ำมันตับปลา | เหมือนกันยังไง? ต่างกันยังไง? อันไหนดีกว่า?
ประโยชน์
- หัวใจและหลอดเลือด | ช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง ช่วยทำให้หลอดเลือดยืดหยุ่น
- จิตใจและอารมณ์ | ช่วยบรรเทาอาการวิตกกังวล อารมณ์นิ่งสงบ
- สมอง | ช่วยพัฒนาความจำ สมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ การตัดสินใจ
- ภูมิต้านทาน | ช่วยลดการอักเสบ ช่วยบำรุงระบบภูมิต้านทานของร่างกายให้แข็งแรง
- รูปร่าง | ช่วยทำให้ระบบเผาผลาญทำงานสมบูรณ์ ควบคุมน้ำหนักให้สมส่วน
- ดวงตา | ช่วยทำให้การมองเห็นชัดเจน ปกป้องดวงตาจากความเสื่อม
- ผิวหนัง | ช่วยทำให้ผิวพรรณเรียบเนียน นุ่ม ลื่น
- เส้นผม | ช่วยกระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผม ทำให้เส้นผมเงางาม หนังศรีษะไม่แห้ง
- โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง | ช่วยลดการอักเสบของร่างกาย ลดโอกาสเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ
น้ำมันปลา ยี่ห้อไหนดี | วิธีเลือกซื้อและวิธีกิน
ผลข้างเคียง
- กลิ่นเหม็นคาว ลมหายใจมีกลิ่นทะเล
- เลือดหยุดไหลช้าถ้าเป็นแผล
- คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
- เพิ่มความเสี่ยงเลือดออกในสมองและโรคหลอดเลือดสมอง (ถ้ารับประทานมากเกินไป)
- เพิ่มความเสี่ยงได้รับสารปรอทและ PCBs (ถ้ายี่ห้อนั้นมีสารพิษโลหะหนักปนเปื้อน)
น้ำมันปลา กินตอนไหน กินวันละเท่าไหร่
วิธีเก็บรักษา
“ความร้อน อากาศ ความชื้น” เป็นตัวแปรที่ทำให้ทุกอย่างเสื่อมสภาพเร็ว รวมถึงน้ำมันปลาด้วย
- ถ้าเปิดรับประทานแล้ว ปิดฝาให้สนิท อย่าให้อากาศเข้าไป
- ถ้าเปิดรับประทานแล้ว เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา
- ถ้ายังไม่เปิดรับประทาน เก็บในช่องฟรีซ
Astaxanthin | สารต้านอนุมูลอิสระที่แรงกว่า วิตามินซี 6,000 เท่า
อาหารเสริมน้ำมันปลาเกรดการแพทย์
Bio Active Lipids | อาหารเสริมน้ำมันปลาเกรดการแพทย์ มีส่วนประกอบ ดังนี้
- Concentrated fish-omega3 triglycerides = 1000mg
- equiv. Eicosapentaenoic acid (EPA) = 360mg
- equiv. Docosahexaenoic acid (DHA) = 240mg
Good Gut คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG : Partially Hydrolyzed Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ
ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้
- FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
- Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
- GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
- Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
- VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
- HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
- KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว
มีงานวิจัยเฉพาะของ PHGG (Partially Hydrolyzed Guar Gum) ทั้งในหลอดทดลอง ในสิ่งมีชีวิต และในมนุษย์ ว่ามีคุณประโยชน์ต่างๆ ดังนี้
- มีส่วนช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
- มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรง
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วน
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องผูก
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องเสีย
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน (IBS: Irritable Bowel Sysdrome)
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD: Inflammatory Bowel Disease)
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
- มีส่วนช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
- มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ
- มีส่วนช่วยเพิ่มกรดไขมันสายสั้น (SCFAs: Short-Chain Fatty Acids) ในลำไส้
- มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด
- มีส่วนช่วยลดค่าดัชนีน้ำตาล (GI: Glycemic Index)
- มีส่วนช่วยลดความโหยหลังจากมื้ออาหาร
- มีส่วนช่วยลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย
- มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C: Hemoglobin A1C)
ละลายน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ดื่มวันละ 1 ซอง