นอนไม่หลับ | เช็ค 5 ข้อนี้ก่อนกินยานอนหลับ
นอนไม่หลับ อย่าเพิ่งรีบหายานอนหลับมากินหรือหาอาหารเสริมเมลาโทนินมาใช้ ลองเช็คตัวเอง 5 ข้อนี้ก่อน บางทีตัวคุณเองที่กำลังทำให้ตัวเองนอนไม่หลับอยู่
เมลาโทนิน Melatonin คือ ฮอร์โมนที่บอกเวลาไม่ใช่ยานอนหลับ
นอนไม่หลับ เป็นโรคนึงเลยที่พบมากในปัจจุบัน เมื่อผู้คนเจอปัญหานี้ก็เริ่มที่จะหาทางการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหาอาหารเสริมเมลาโทนินมาใช้หรือหาหมอเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งอาจจะการมีกินยานอนหลับหรือไม่ก็แล้วแต่การพิจารณาของหมอ แต่ที่ไม่ควรทำเลยก็คือการพยายามหายานอนหลับมากินเอง อันนี้อันตรายมาก !!! ไม่ควรทำโดยเด็ดขาดครับ
สิ่งที่แนะนำให้ทำง่ายๆ วันนี้ 5 ข้อ คือการกลับมาทบทวนตัวเองดูว่าพฤติกรรมที่เราทำในทุกวันนี้กำลังส่งเสริมทำให้ตัวเราเองนอนไม่หลับอยู่หรือเปล่า? ลองเช็คตัวเองง่ายๆ กันก่อนเลย
เมลาโทนิน ยี่ห้อไหนดี | วิธีเลือกซื้อและวิธีกิน
1 | ออกกำลังกายหนัก
ชีวิตคนเรามีอยู่แค่ 2 ช่วง คือ นอนกับตื่น ไม่นอนก็ตื่น-ไม่ตื่นก็นอน ซึ่งร่างกายเราก็เป็นปัจจัยนึงที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกับ 2 ช่วงเวลานี้ ช่วงเวลาที่เราตื่น ร่างกายก็ต้องตื่นตัว มีการใช้งาน มีการขยับ มีการใช้พลังงานมากกว่าปกติ มีความร้อน มีของเสียเกิดขึ้นมากกว่าปกติ ก็เปรียบเทียบเหมือนรถยนต์ ตอนที่เราขับรถออกจากบ้านเพื่อไปใช้งาน รถยนต์ก็ต้องร้อน มีพลังงานมากกว่าจอดอยู่บ้าน มีการขยับ และมีควันเสีย
ตรงกันข้ามกันในช่วงเวลาที่เราเอารถกลับมาจอดที่บ้าน แน่นอนว่าช่วงแรก รถยนต์ก็ต้องร้อน ชิ้นส่วนต่างๆ ในรถยนต์มีความร้อนสะสมจากการใช้งาน กว่าที่จะค่อยๆ กระจายความร้อนออกมาจากตัวรถยนต์ก็ต้องใช้เวลาสักพัก ร่างกายก็เหมือนกัน การออกกำลังกายอย่างหนักมีการใช้ออกซิเจนในปริมาณมากกว่าปกติ ทำให้เกิดผลกับร่างกายหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก คือ After Burn หรือภาวะที่ร่างกายยังมีการเผาผลาญพลังงานสูงกว่าปกติแม้จะหยุดออกกำลังกายไปแล้วก็ตาม
ส่วนตัวผมเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้กับตัวเองมาแล้ว เคยไปต่อยมวยหรือออกกำลังกายแบบ Circuit Training HIIT ในช่วงหัวค่ำ ซึ่งมีการขยับ มีการใช้พลังงานอย่างหนักหน่วง เรียกว่าออกกำลังกายอย่างหนักเลยทีเดียว หลังจากนั้นพบว่าพอช่วงเวลาจะนอนตอน 22.00 ร่างกายภายในผมรู้สึกถึงพลังงานความร้อนในกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ทั่วร่างกายมันร้อนออกมาจากภายในจนรู้สึกได้กับตัวเอง ถึงกับต้องถอดเสื้อ เปิดแอร์เย็นๆ แต่ก็ยังร้อนอยู่ พอพลิกตัวออกมาจากที่เดิมที่นอนแล้วเอามือไปจับที่นอนบริเวณนั้นพบว่าที่นอนมีความอุ่นที่เกิดจากการถ่ายเทความร้อนจากร่างกายผมอีก เหตุการณ์นี้ทำให้ผมเข้าใจธรรมชาติของร่างกายแล้วว่าเราจะนอนได้เมื่อร่างกายเย็นลง
ระบบเผาผลาญพัง | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน
2 | กำลังคิดอะไรอยู่
ร่างกายกับจิตใจไปด้วยกันเสมอ กายไปจิตก็ต้องไป จิตไปกายก็ต้องไป เวลาที่เราตื่นก็คือเวลาที่ร่างกายและจิตใจตื่นตัว มีการใช้งานไปกับกิจวัตรประจำวัน ตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคน ซึ่งพอถึงเวลาพักผ่อนหรือการนอนหลับ ร่างกายและจิตใจก็ต้องปลดทุกอย่างออกไปให้หมด
จิตใจที่เคยคิด เคยวางแผน เคยแก้ปัญหา เคยโฟกัส กับเรื่องอะไรต่างๆ ในช่วงเวลาตื่น ก็ต้องปลดเรื่องเหล่านั้นออก ปล่อยเรื่องเหล่านั้นออก เพื่อทำให้พร้อมเข้าสู่การนอนหลับ ต่อให้ร่างกายเย็นลง-นิ่งลง-ช้าลงแล้ว แต่ถ้าภายในจิตใจยังคงทำงานอยู่ก็ไม่สามารถนอนหลับได้ จิตใจก็เหมือนกัน ต่อให้จิตใจสงบลง ว่างลงแล้ว แต่ถ้าร่างกายยังคงทำงานอยู่ก็ไม่สามารถนอนหลับได้เช่นกัน
อาหารเสริมช่วยนอนหลับ | มาจากธรรมชาติสามารถกินได้ทุกวัน
3 | กินอะไรให้ตื่นตัว
เรื่องนี้เป็นเรื่องง่ายๆ แต่ก็หลายคนมองข้ามเหมือนกัน เครื่องดื่มหลายชนิดที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาทให้ตื่นตัว ไม่ว่าจะเป็นชา-กาแฟ-ชาเขียว-โกโก้-เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์-เครื่องดื่มชูกำลัง หลายคนรู้นะแต่มองข้าม เหมือนเส้นผมบังภูเขา บางทีเราเผลอกินเข้าไปมากในระหว่างวัน ซึ่งระยะเวลาในการขับออกให้หมดฤทธิ์ของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน รวมถึงความอ่อนไหวต่อเครื่องดื่มแต่ละอย่างของแต่ละคนด้วย ลองไปสังเกตตัวเองกันดูครับว่ามองข้ามตรงนี้ไปหรือเปล่า วิธีการแก้ไขต้องดื่มน้ำเปล่ามากๆ แล้วรอเวลาให้ร่างกายขับออก มีทางเดียวเท่านั้นคือน้ำเปล่าและรอเวลา
กาแฟ | ข้อดี VS ข้อเสีย
4 | กินหรือดื่มเยอะ
เวลาที่เรากินอาหาร-กินน้ำ เข้าไปในร่างกาย ร่างกายไม่สามารถปล่อยน้ำปล่อยอาหารเหล่านั้นทิ้งอยู่ในกระเพาะอาหารเฉยๆ ได้ ร่างกายต้องทำงาน-ต้องย่อย-ต้องทำการดูดซึม แปรรูปอาหารที่เรากินเข้าไปเหล่านั้น ให้ไปอยู่ในรูปพลังงานสำรอง เอาไปใช้งาน และขับออกจากร่างกาย ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลาและใช้พลังงาน
ก็เหมือนกันรถยนต์ที่เคยเปรียบเทียบไปก่อนหน้านี้แล้วว่าช่วงเวลาตื่นก็เหมือนรถยนต์ที่ออกไปขับเพื่อใช้งาน ก็ย่อมมีพลังงาน มีความร้อนมากกว่าตอนจอดอยู่เฉยๆ การที่เรากินอาหารเข้าไปหนักๆ ช่วงหัวค่ำ ก็เป็นการทำให้ร่างกายมีการใช้พลังงานมาก เกิดความร้อน เกิดการทำงานของกระบวนการย่อยในร่างกาย ซึ่งสุดท้ายก็ไปกระทบการนอนหลับ ทำให้การนอนไม่สามารถเกิดได้เพราะร่างกายยังตื่นอยู่
การดื่มน้ำเยอะช่วงหัวค่ำก็เช่นกัน ใช่ว่าน้ำจะไม่ต้องการการย่อยการดูดซึม น้ำเองก็ต้องการการดูดซึมเพื่อนำไปใช้งานเหมือนกัน การดื่มน้ำเยอะช่วงหัวค่ำนอกจากกระไปกระตุ้นการทำงานของกระบบย่อยอาหารให้มีมากแล้ว บางทีเรานอนหลับไปแล้วแต่น้ำในร่างกายมีเยอะมากเกิน จำเป็นต้องขับออก ร่างกายก็สั่งให้เรารู้สึกปวดฉี่ อยากเข้าห้องน้ำ สุดท้ายก็เป็นการรบกวนการนอนของเราอยู่ดี
บุฟเฟ่ต์ | วิธีกินไม่ให้อ้วน ไม่ปวดท้อง ไม่ท้องเสีย
5 | นอนดึกจนชิน
กิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ในชีวิตมนุษย์ทุกคน ตอนทำครั้งแรกๆ อาจจะไม่ถนัดและผิดพลาดตลอด แต่พอทำไปสักพักความผิดพลาดเหล่านั้นก็ค่อยๆ ลดลง เกิดเป็นทักษะความสามารถ ยิ่งถ้าทำต่อเนื่อง ทำบ่อยๆ จนเกิดความชำนาญ ก็จะแทบจะหลับตาทำได้เลย การนอนหลับก็เหมือนกัน บางทีร่างกายและจิตใจเราชินกันเวลานอนนี้หรือเปล่า บางคนตื่นนอนเวลา 10.00 แล้วนอนตอน 02.00 เป็นแบบนี้ทุกวันมันก็เป็นความเคยชิน บางคนตื่นนอนเวลา 05.00 แล้วนอนตอน 21.00 เป็นแบบนี้ทุกวันมันก็เป็นความเคยชินเหมือนกัน
บางทีตัวเราเองต้องกลับไปสังเกตตัวเองดูว่าพฤติกรรมที่เราทำอยู่ทุกๆ วัน คืออะไร เราตื่นนอนกี่โมง เรานอนกี่โมง ตรงนั้นแหละคือความเคยชินของร่างกายและจิตใจของเรา บางทีไม่จำเป็นต้องตั้งนาฬิกาปลุกเลย ตื่นเองอัตโนมัติ ถึงเวลาปุ๊บง่วงหาว จะนอนทันที การที่จะปรับเปลี่ยนความเคยชินก็เปรียบเสมือนการเริ่มต้นอะไรใหม่ๆ แรกๆ ก็ลำบาก ยากมาก ทำผิดๆ ถูกๆ มั่วไปหมด แต่ถ้ายังฝืนทำต่อไปก็จะเริ่มคล่องขึ้น ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ยิ่งถ้าทำต่อเนื่องบ่อยๆ จนชินชา กลายเป็นนิสัย ถึงเวลานั้นแทบจะไม่ต้องคิด ต้องวางแผนอะไรเลย ทุกอย่างเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
อาหารเช้า Breakfast | ควรกินอะไร? ไม่ควรกินอะไร?
อาหารเสริมเมลาโทนินเกรดการแพทย์
หนังสือที่จะทำให้คุณเข้าใจฮอร์โมนของคุณ
ในหนังสือเล่มนี้จะพาคุณไปเรียนรู้ฮอร์โมนที่มีอยู่ในร่างกายของตัวเอง ว่าทำงานยังไง อะไรบ้างที่ทำให้ฮอร์โมนมากเกินไป อะไรบ้างที่ทำให้ฮอร์โมนน้อยเกินไป และจะทำยังไงให้ฮอร์โมนทำงานสมบูรณ์ ผ่านจากเรียนรู้ทั้งหมด 20 บท คือ
- ความรู้พื้นฐานของระบบฮอร์โมน (Basic Concept of Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการต้านแก่ (Growth Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการนอนหลับ (Melatonin Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการเผาผลาญพลังงานขั้นพื้นฐาน (Thyroid Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการอยู่รอด (Cortisol Hormone)
- แม่ของทุกฮอร์โมนประเภทไขมัน (Pregnenolone Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการควบคุมความดัน (Aldosterone Hormone)
- ฮอร์โมนเพศชายอย่างแรก (DHEA Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งความตกใจ โมโห หดหู่ (Catecholamines Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโตไปข้างหน้า (Insulin Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการลดความอ้วน (Glucagon Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งความสุข (Dopamine-Endorphin-Oxytocin-Serotonin Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการอักเสบ (Prostaglandins Hormone)
- กลุ่มฮอร์โมนแห่งความเป็นเพศชาย (Androgen Group Hormone)
- กลุ่มฮอร์โมนแห่งความเป็นเพศหญิง (Estrogen Group Hormone)
- กลุ่มฮอร์โมนแห่งความแข็งแรงของกระดูก (Parathyroid-Calcitonin Hormone)
- ฮอร์โมนที่เกิดจากไขมันสะสม (Fat Hormone)
- ฮอร์โมนทุกอย่างทำงานร่วมกัน (Hormone Symphony)
- อาการที่ทำให้รู้ว่าฮอร์โมนเพี้ยน (Health Effect to Hormone Dysfunction)
- ทำยังไงให้ฮอร์โมนทำงานสมบูรณ์ (Lifestyle for Optimal Hormone)