ท้องอืด – Bloating | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน
ท้องอืด หรือ Bloating หรือ Bloated Stomach คือ ภาวะที่รู้สึกแน่น อึดอัด ไม่สบายท้อง เหมือนมีลูกโป่งอัดลมอยู่ในช่องท้อง บางคนไม่เคยเป็นเลย บางคนเป็นบ้างนานๆ ที เป็นไม่นานก็หายไปเอง บางคนเป็นบ่อย จนรบกวนการใช้ชีวิตปกติ
ปัญหา “ลม” ในระบบทางเดินอาหาร
ท้องอืด – Bloating | อาการ
- แน่น อึดอัด ไม่สบายท้อง
- ท้องบวม ท้องใหญ่กว่าปกติ
- เสียงท้องร้องโครกคราก
- ผายลมบ่อยกว่าปกติ
- เรอบ่อยกว่าปกติ
ตดเหม็น เกิดจากอะไร? แก้ไขยังไง?
ท้องอืด – Bloating | สาเหตุ
- กินอิ่มเกินไป | รับประทานอาหารและเครื่องดื่มมากเกินความจุของกระเพาะอาหาร
- กินเร็วเกินไป | เคี้ยวน้อย รีบกลืน รีบกิน เร่งรีบในการรับประทานอาหารเกินไป
- เครื่องดื่มอัดแก๊ส | น้ำอัดลม เบียร์ โซดา เครื่องดื่มที่อัดแก๊สเพื่อให้ซ่า
- อาหารไม่ย่อย | รับประทานอาหารที่ร่างกายย่อยไม่ได้หรือย่อยยาก
- เครียด | ความเครียดที่มีมากเกินไปทำให้ระบบย่อยอาหารไม่ทำงาน
- ฮอร์โมน | เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนส่งผลต่อการสะสมน้ำและไขมันของอวัยวะในช่องท้อง
- ท้องผูก | อุจจาระขยับออกจากร่างกายลำบาก อาหารก็ขยับจากกระเพาะไปลำไส้ลำบาก
- ลำไส้แปรปรวน | คนที่สุขภาพลำไส้ไม่แข็งแรงก็จะอ่อนไหวต่ออาหารที่รับประทานเข้าไป
- ลำไส้อุดตัน | อุจจาระขยับออกจากร่างกายไม่ได้ อาหารก็ขยับจากกระเพาะไปลำไส้ไม่ได้
- จุลินทรีย์ในลำไส้เสียสมดุล | ถ้าลำไส้ทำงานไม่สมบูรณ์ก็ส่งผลต่อระบบย่อยอาหารทั้งหมด
อาหารไม่ย่อย อาการ มีอะไรบ้าง?
ท้องอืด – Bloating | รักษา
ถ้าท้องอืดไม่ได้รุนแรงหรือเกิดขึ้นบ่อยเป็นประจำ สามารถปรับพฤติกรรมดูแลตัวเองที่บ้านได้ ดังนี้
- เอนไซม์ช่วยย่อย | รับประทานยาช่วยย่อยหรืออาหารเสริมเอนไซม์ช่วยย่อย
- อย่านอนราบ | นั่งให้ตัวตรงหรือเดินเบาๆ เพื่อให้ระบบย่อยอาหารอยู่ในตำแหน่งที่ดี
- อย่าดื่มน้ำเยอะ | งดดื่มเครื่องดื่มทุกชนิดก่อน เพื่อทำให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดี
- ลดปวด | รับประทานยาหรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยผ่อนคลายกระเพาะ ลดการบีบเกร็ง ลดกรด
- หายแล้วหาสาเหตุ | ถ้าหายท้องอืดแล้วให้หาสาเหตุว่าเกิดจากอะไรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ
เอนไซม์ย่อยอาหาร – Digestive Enzyme | คืออะไร? มีอะไรบ้าง?
ท้องอืด – Bloating | ป้องกัน
- กินพอดีอิ่ม | รับประทานอาหารและเครื่องดื่มให้พอดี อิ่มแล้วก็พอ ไม่ต้องยัด ไม่ต้องเสียดาย
- อย่ารีบกิน | เคี้ยวช้าๆ ค่อยๆ กลืน ค่อยๆ กิน ใช้เวลาในการรับประทานอาหารให้เหมาะสม
- เครื่องดื่มอัดแก๊ส | ลด-ละ-เลิก เครื่องดื่มที่อัดลม
- อย่าดื่มน้ำเยอะระหว่างมื้ออาหาร | พฤติกรรมกินข้าวคำกินน้ำคำทำให้อาหารย่อยลำบาก
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ | บริหารร่างกายอยู่เป็นประจำและหลากหลาย
- ดูแลสุขภาพลำไส้ | รับประทานไฟเบอร์ พรีไบโอติก โพรไบโอติก โพสไบโอติก เป็นประจำสม่ำเสมอ
ลําไส้ สมองที่สอง | The Second Brain
อาหารเสริมช่วยระบบย่อยอาหารเกรดการแพทย์
Digest | อาหารเสริมเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารเกรดการแพทย์ มีส่วนประกอบ ดังนี้
- Amylase = 7,200U
- Protease = 1,800U
- Lactase = 1,200U
- Lipase = 300U
- Cellulase = 60U
- Bromelain = 120GDU
- Pepsin 1:3000 NF = 50mg
- Trypsin = 12,500IU
Good Gut คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG : Partially Hydrolyze Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ
ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้
- FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
- Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
- GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
- Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
- VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
- HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
- KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว
มีงานวิจัยเฉพาะของ PHGG ทั้งในหลอดทดลอง ในสิ่งมีชีวิต และในมนุษย์ ว่ามีคุณประโยชน์ต่างๆ ดังนี้
- มีส่วนช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
- มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรง
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วน
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องผูก
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องเสีย
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน (IBS: Irritable Bowel Sysdrome)
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD: Inflammatory Bowel Disease)
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
- มีส่วนช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
- มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ
- มีส่วนช่วยเพิ่มกรดไขมันสายสั้น (SCFAs) ในลำไส้
- มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด
- มีส่วนช่วยลดค่าดัชนีน้ำตาล (GI: Glycemic Index)
- มีส่วนช่วยลดความโหยหลังจากมื้ออาหาร
- มีส่วนช่วยลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย
- มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C: Hemoglobin A1C)
ละลายน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ดื่มวันละ 1 ซอง