ท้องผูก ปวดหลัง เกิดจากอะไร? แก้ไขยังไง?

ท้องผูก ปวดหลัง คือ ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดตามมาหลังจากมีปัญหาท้องผูก เนื่องจากลำไส้ไม่สามารถขับเคลื่อนอุจจาระให้ออกไปจากร่างกายได้อย่างสะดวก ทำให้ต้องออกแรงเบ่งอุจจาระมากกว่าปกติ รวมถึงอุจจาระที่แข็งค้างอยู่ในลำไส้ ทำให้เกิดอาการปวดหลังขึ้น ถ้าอยากรักษาอาการปวดหลังต้องรักษาที่ต้นเหตุก่อนคือท้องผูก แล้วค่อยรักษาหลัง ถึงจะเห็นผลในระยะยาว

อุจจาระ | สีบอกอะไร แข็งบอกอะไร รูปร่างบอกอะไร

ท้องผูก ปวดหลัง | สาเหตุ

สาเหตุของท้องผูกมีมากมายหลายทาง ไม่ว่าจะเป็น จากโรคทางร่างกาย จากยาที่รับประทานเป็นประจำแล้วทำให้เกิดผลข้างเคียงกับระบบขับถ่าย จากการอุดกั้นของลำไส้ และจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่ายผิดปกติ ซึ่งสามารถสรุปเป็นข้อๆ ได้ ดังนี้

  1. รับประทานอาหารที่มีกากใยไม่เพียงพอ
  2. ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
  3. ไม่ออกกำลังกายเลย หรือออกกำลังกายไม่เพียงพอ
  4. เครียดมากเกินไป
  5. รับประทานอาหารที่ย่อยยากมากเกินไป เช่น นมวัว ชีส เนื้อสัตว์สีแดง เป็นต้น
  6. มีภาวะลำไส้แปรปรวนหรือลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  7. โรคทางกายบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ต่ำ โรคพาร์กินสัน โรคปลอกประสาทตาเสื่อม ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง เป็นต้น
  8. ยาที่รับประทานเป็นประจำ เช่น ยาที่รักษาอาการซึมเศร้า ยาลดการบีบเกร็งของลำไส้ ยากันชัก ยาลดความดันโลหิต ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของมอร์ฟีน ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ยาบำรุงเลือด ยาแคลเซียม เป็นต้น

กินแคลเซียม แล้วท้องผูก แก้ไขยังไงดี

ท้องผูก ปวดหลัง เกิดจากอะไร? แก้ไขยังไง?
ท้องผูก ปวดหลัง เกิดจากอะไร? แก้ไขยังไง?

ท้องผูก ปวดหลัง | รักษา

ถ้าท้องผูกไม่ได้รุนแรงมากหรือเรื้อรังมานาน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตัวเองที่บ้าน ดังนี้

  1. ดื่มน้ำเปล่าในปริมาณมากกว่าปกติ 2-4 แก้ว/วัน
  2. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ทำให้ร่างกายขาดน้ำ
    • กาแฟ
    • ชา
    • เหล้า
    • เบียร์
    • ไวน์
  3. รับประทานอาหารที่มีกากใยสูงเพิ่มมากขึ้น
    1. ผัก
      • ดอกสะเดา
      • ใบเหลียง
      • ดอกแค
      • ขี้เหล็ก
      • กระเฉด
      • กระเจี๊ยบเขียว
    2. ผลไม้
      • ลูกพรุน
      • ราสเบอร์รี่
      • อะโวคาโด
      • ฝรั่ง
      • เสาวรส
    3. ธัญพืช
      • เมล็ดเจีย
      • อัลมอนต์
      • ข้าวโอ๊ต
      • ควินัว
      • กราโนล่า
    4. ถั่ว
      • ถั่วลันเตาเหลือง
      • ถั่วเลนทิล
      • ถั่วดำ
      • ถั่วชิกพี
    5. เห็ด
      • เข็มทอง
      • หอม
      • นางฟ้า
      • ออรินจิ
  4. หลีกเลี่ยงอาหารที่ร่างกายย่อยยาก
    • เนื้อสัตว์สีแดง
    • นมวัว
    • ชีส
    • อาหารที่มีไขมันสูง (น้ำมันเยิ้มๆ)
  5. ปรับท่าทางการนั่งขับถ่ายอุจจาระให้ตำแหน่งของก้นอยู่ต่ำกว่าหัวเข่า (นั่งยองๆ)
  6. ไม่เล่นมือถือ แท็บเล็ต หรืออ่านหนังสือ ระหว่างอุจจาระ
  7. รับประทานอาหารเสริมเพิ่มมากขึ้น เช่น
    • พรีไบโอติก (Prebiotic)
    • โพรไบโอติก (Probiotic)
    • กากใยอาหาร (Dietary Fiber)

พรีไบโอติก Prebiotic | คืออะไร? มีประโยชน์อะไร?

อาหารเสริมแก้ปัญหาท้องผูก

Wellness Hub – Good Gut

Good Gut คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG : Partially Hydrolyzed Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ

ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้

  • FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
  • Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
  • GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
  • Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
  • VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
  • HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
  • KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว

มีงานวิจัยเฉพาะของ PHGG (Partially Hydrolyzed Guar Gum) ทั้งในหลอดทดลอง ในสิ่งมีชีวิต และในมนุษย์ ว่ามีคุณประโยชน์ต่างๆ ดังนี้

  1. มีส่วนช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
  2. มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรง
  3. มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วน
  4. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องผูก
  5. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องเสีย
  6. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน (IBS: Irritable Bowel Sysdrome)
  7. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD: Inflammatory Bowel Disease)
  8. มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
  9. มีส่วนช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
  10. มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ
  11. มีส่วนช่วยเพิ่มกรดไขมันสายสั้น (SCFAs: Short-Chain Fatty Acids) ในลำไส้
  12. มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด
  13. มีส่วนช่วยลดค่าดัชนีน้ำตาล (GI: Glycemic Index)
  14. มีส่วนช่วยลดความโหยหลังจากมื้ออาหาร
  15. มีส่วนช่วยลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย
  16. มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C: Hemoglobin A1C)

ละลายน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ดื่มวันละ 1 ซอง

Similar Posts