ครัวซอง 1 ชิ้น เซลล์ได้กินอะไรบ้าง
ครัวซอง 1 ชิ้น (ขนาด 57 กรัม) ชนิดแบบเนยสด ข้างในนั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้าง ไม่ใช่มองแบบคนทำขนมที่จะต้องรู้ว่าใช้วัตถุดิบอะไรในการทำ แต่มองแบบคนกินที่จะต้องรู้ว่าเมื่อเอาเข้าปากแล้วเซลล์จะได้รับสารอาหารอะไรบ้าง
อาหารเช้า Breakfast | ควรกินอะไร? ไม่ควรกินอะไร?
1 ชิ้น จะมีส่วนที่ให้พลังงานหลัก คือ คาร์โบไฮเดรตและไขมัน โดยที่มีสัดส่วนเท่ากัน คือ 46% และมีโปรตีนอีกนิดหน่อย (8%) ในคาร์โบไฮเดรตนั้นมีน้ำตาล ประมาณ 6.4 กรัม เพราะฉะนั้น 1 ชิ้น ของครัวซองเนยสด จะให้พลังงาน 231 กิโลแคลอรี่
ครัวซองเนยสด 2.5 ชิ้น ให้พลังงานเทียบเท่ากับกระเพราไก่ 1 จาน
ครัวซองทำมาจากแป้งสาลี เนย น้ำตาล เกลือ ยีสต์ และนม ผ่านกระบวนการต่างๆ มากมาย สุดท้ายได้ออกมาเป็นขนมครัวซองที่มีค่าดัชนีน้ำตาล (GI: Glycemic Index) เท่ากับ 55 ซึ่งก็ถือว่ากลางๆ ไม่ต่ำ ไม่สูง และค่าดัชนีน้ำตาลถ่วงน้ำหนัก (GL: Glycemic Load) เท่ากับ 15 ซึ่งก็ถือว่าปานกลาง ไม่ต่ำ ไม่สูง
ครัวซอง 1 ชิ้น ส่งน้ำตาลเข้าเซลล์ความเร็วปานกลาง (Low GI) แต่ถ้ากินเยอะน้ำตาลก็เข้าเซลล์เยอะ (High GL)
น้ำส้มคั้น | นางเอกหรือนางร้าย
ครัวซอง 1 ชิ้น
- มีคลอเรสเตอรอล เท่ากับ 18.8 มิลลิกรัม
- มีกรดไขมันอิ่มตัว เท่ากับ 3.3 กรัม
- มีกรดไขมันโอเมก้า 3 เท่ากับ 82.3 มิลลิกรัม
- มีกรดไขมันโอเมก้า 6 เท่ากับ 233 มิลลิกรัม
- มีกรดไขมันโอเมก้า 9 เท่ากับ 1.5 กรัม
- ส่วนใหญ่ก็จะเป็นไขมันอิ่มตัวและโอเมก้า 9 ซึ่งได้มาจากเนยและนม
ในขั้นตอนการทำก็ต้องมีการอบ ซึ่งใช้อุณหภูมิประมาณ 170-200 องศาเซลเซียส (ขึ้นกับสูตร เทคนิค วิธีการของแต่ละคน) ซึ่งพอเอาไขมันในเนยและนมมาผ่านการอบ อุณหภูมิขนาดนี้จะสูงกว่าจุดเกิดควัน (Smoking Point) ของทั้งคู่ (เนย = 150 องศา นมวัว = 177 – 252 องศา) ทำให้กรดไขมันมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ซึ่งไม่ค่อยดี
ไขมันโอเมก้า 3-6-9 ที่อยู่ในครัวซอง เมื่อผ่านการอบจะทำให้กลายเป็นไขมันที่ไม่ดี
น้ำผลไม้ Fruit Juice | น้ำตาลเพียบ กากใยน้อย กินไม่อิ่ม
ครัวซอง 1 ชิ้น ยังมี…
- วิตามินเอ เท่ากับ 208 หน่วยสากล
- วิตามินอี เท่ากับ 0.2 มิลลิกรัม
- วิตามินเค เท่ากับ 0.5 ไมโครกรัม
- ไทอะมีน เท่ากับ 0.1 มิลลิกรัม
- ไรโบฟลาวิน เท่ากับ 0.1 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน เท่ากับ 0.6 มิลลิกรัม
- กรดแพนโทเธนิค เท่ากับ 0.2 มิลลิกรัม
- แคลเซียม เท่ากับ 10.4 มิลลิกรัม
- เหล็ก เท่ากับ 0.6 มิลลิกรัม
- แมกนีเซียม เท่ากับ 4.5 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส เท่ากับ 29.4 มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม เท่ากับ 33 มิลลิกรัม
- ซิงค์ เท่ากับ 0.2 มิลลิกรัม
- โฟเลต เท่ากับ 24.6 ไมโครกรัม
- โซเดียม เท่ากับ 208 มิลลิกรัม
- เซเลเนียม เท่ากับ 6.4 ไมโครกรัม
- แมงกานีส เท่ากับ 0.1 มิลลิกรัม
- ครัวซอง 1 ชิ้น มีวิตามินและแร่ธาตุนิดหน่อย
ก็เป็นเรื่องปกติที่ขนมเบเกอรี่จะไม่ค่อยมีวิตามินและแร่ธาตุมากนัก สรุปแล้ว ครัวซองเนยสด 1 ชิ้น เซลล์ได้น้ำตาลกลางๆ แต่ไขมันที่ไม่ค่อยดี
ครัวซองเป็นขนมที่อร่อย เป็นที่นิยมของคนส่วนใหญ่มานาน ทั้งในไทยและทั่วโลก เป็นของกินที่อร่อยเป็นรสชาดของชีวิต แต่จะทำยังไงให้เราสามารถมีความสุขในการกินและมีชีวิตอยู่ได้กินนานๆ
“น้ำตาล” ที่ทำลายสุขภาพน้อยที่สุด?
วิธีกินครัวซองแบบชะลอวัย
- พยายามกินครัวซองก่อนเที่ยง อย่างแย่ที่สุดกินก่อนพระอาทิตย์ตก
- กินครั้งละ 1-2 ชิ้น แล้วถ้าอยากกินอีกค่อยกินครั้งถัดไป อย่ากินที่ละมากๆ
- พยายามกินเป็นขนม กินเป็นอย่างสุดท้ายหลังจากกินอาหารอย่างอื่นแล้ว ไม่กินเป็นอาหารหลักตั้งแต่ต้น
- มีช่วงเวลาที่กินและหยุดกินอยู่สม่ำเสมอ โดยที่ช่วงเวลาที่อดจะนานกว่า
- ถ้าครั้งไหนอยากกินเต็มที่ก็กินได้เลย กินทุกไส้ทุกแบบจนอิ่มจุก แล้วหลังจากวันนั้นอดอาหาร 24 ชั่วโมง ไม่กินอะไรเลยนอกจากน้ำเปล่า
อาหารเสริมลดพุง ลดไขมัน | มีกี่แบบ? แบบไหนดี?
หนังสือที่จะทำให้คุณเข้าใจเซลล์ของคุณ
ในหนังสือเล่มนี้จะพาคุณไปเรียนรู้ร่างกายของตัวเอง ว่าทำงานยังไง อะไรบ้างที่ทำให้แก่เร็ว อะไรบ้างที่ทำให้แก่ช้า และสุดท้ายจะทำยังไงให้ชะลอความแก่ชราออกไปให้นานที่สุดเท่าที่เราสามารถทำได้ ผ่านจากเรียนรู้ทั้งหมด 7 บท คือ
- เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (Anti-Aging and Regenerative Medicine)
- ทฤษฎีความชราในอดีต (Aging Theory in The Past)
- ทฤษฎีความชราในปัจจุบัน (Aging Theory in The Present)
- ปัจจัยที่เหนือกว่าพันธุกรรม (Epigenetic)
- ปัจจัยที่เร่งการแก่ชรา (Aging Force)
- ปัจจัยที่ยับยั้งการแก่ชรา (Anti-Aging Force)
- ใช้ชีวิตยังไงให้ชะลอวัย (How to Anti-Aging)
หนังสือที่จะทำให้คุณเข้าใจฮอร์โมนของคุณ
ในหนังสือเล่มนี้จะพาคุณไปเรียนรู้ฮอร์โมนที่มีอยู่ในร่างกายของตัวเอง ว่าทำงานยังไง อะไรบ้างที่ทำให้ฮอร์โมนมากเกินไป อะไรบ้างที่ทำให้ฮอร์โมนน้อยเกินไป และจะทำยังไงให้ฮอร์โมนทำงานสมบูรณ์ ผ่านจากเรียนรู้ทั้งหมด 20 บท คือ
- ความรู้พื้นฐานของระบบฮอร์โมน (Basic Concept of Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการต้านแก่ (Growth Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการนอนหลับ (Melatonin Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการเผาผลาญพลังงานขั้นพื้นฐาน (Thyroid Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการอยู่รอด (Cortisol Hormone)
- แม่ของทุกฮอร์โมนประเภทไขมัน (Pregnenolone Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการควบคุมความดัน (Aldosterone Hormone)
- ฮอร์โมนเพศชายอย่างแรก (DHEA Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งความตกใจ โมโห หดหู่ (Catecholamines Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโตไปข้างหน้า (Insulin Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการลดความอ้วน (Glucagon Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งความสุข (Dopamine-Endorphin-Oxytocin-Serotonin Hormone)
- ฮอร์โมนแห่งการอักเสบ (Prostaglandins Hormone)
- กลุ่มฮอร์โมนแห่งความเป็นเพศชาย (Androgen Group Hormone)
- กลุ่มฮอร์โมนแห่งความเป็นเพศหญิง (Estrogen Group Hormone)
- กลุ่มฮอร์โมนแห่งความแข็งแรงของกระดูก (Parathyroid-Calcitonin Hormone)
- ฮอร์โมนที่เกิดจากไขมันสะสม (Fat Hormone)
- ฮอร์โมนทุกอย่างทำงานร่วมกัน (Hormone Symphony)
- อาการที่ทำให้รู้ว่าฮอร์โมนเพี้ยน (Health Effect to Hormone Dysfunction)
- ทำยังไงให้ฮอร์โมนทำงานสมบูรณ์ (Lifestyle for Optimal Hormone)