กินจุกจิก | อ้วน เบาหวาน ความดันสูง

กินจุกจิก กินจุบจิบ กินจุ๊กจิ๊ก กินจุกกินจิก กินจุ๊กกินจิ๊ก กินจุบกินจิบ คือ พฤติกรรมการรับประทานต่อเนื่องแบบไม่มีเวลาหยุด ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ขนม ผลไม้ หรือเครื่องดื่มต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น

  • ดูหนังไป กินขนมไป ดื่มเครื่องดื่มไป
  • ทำงานไปค่อยๆ ดูดเครื่องดื่มไปทีละนิดๆ
  • ในออฟฟิสมีผลไม้วางไว้ หยิบกินไประหว่างทำงาน
  • อาหารวางบนโต๊ะในบ้าน ใครเดินผ่านไปมาก็ตักกิน
  • ขับรถไปหยิบขนมกินไปหรือดื่มเครื่องดื่มไป
  • กินข้าวไปด้วยทำอย่างอื่นไปด้วย ข้าวคำนึงแล้วก็ทำงานอย่างอื่นนิดนึง แล้วก็กลับมากินต่อ

พฤติกรรมที่ทำลายสุขภาพ

กินจุกจิกเป็นพฤติกรรมการรับประทาน (อาหาร-ขนม-เครื่องดื่ม) ที่ส่งเสริมทำให้สุขภาพแย่ลงทีละนิดๆ เสื่อมแก่ลงเรื่อยๆ สุดท้ายกลายเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ทั้งหลาย เพราะพฤติกรรมนี้ทำให้ตับอ่อนหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin Hormone) ออกมาอยู่ตลอดเวลา กินทีก็หลั่งที กินนิดนึงก็หลั่งนิดนึง ทำให้ตับอ่อนก็ทำงานตลอดเวลา น้ำตาลก็เข้าเซลล์ตลอดเวลา มีแต่แก่เร็ว เสื่อมเร็ว ชราเร็ว เป็นโรคเร็ว

กินจุกจิก | อ้วน

โรคอ้วน เกิดจากร่างกายได้รับพลังงานมากเกินกว่าที่ต้องการใช้ในแต่ละวัน ทำให้ต้องเอาพลังงานส่วนที่เกินไปเก็บไว้ในรูปไขมันตามส่วนต่างๆ ในร่างกาย เช่น พุง ท้องแขน ขาหนีบ เหนียง ก้น ปีก

กินจุกจิกทำให้น้ำตาลเติมเข้าเซลล์ตลอดเวลา สะสมกลายเป็นไขมัน สุดท้ายก็อ้วน

กินจุกจิก | เบาหวาน

โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 เกิดจากการทำงานผิดเพี้ยนไปของฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้น้ำตาลไม่สามารถเข้าเซลล์ได้ต้องลอยค้างอยู่ในกระแสเลือด ตับอ่อนก็พยายามทำงานหนักขึ้นเพื่อผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมาแต่ก็ไม่สามารถใช้งานได้เหมือนปกติ สุดท้ายตับอ่อนก็เหนื่อยล้า ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้

กินจุกจิกทำให้ฮอร์โมนอินซูลินหลั่งตลอดเวลา ยิ่งทำงานมากก็ยิ่งเสื่อมเร็ว สุดท้ายก็ทำงานผิดเพี้ยนกลายเป็นเบาหวาน

กินจุกจิก | ความดันสูง

โรคความดันโลหิตสูง เกิดจากการปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมทำให้เกิดแรงดันภายในหลอดเลือดที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดยืดหยุ่นน้อยลง ภายในหลอดเลือดแคบลง ผนังของหลอดเลือดสร้างไนตริกออกไซด์ลดลง สุดท้ายทำให้หัวใจต้องบีบตัวแรงขึ้นเพื่อดันเลือดให้ไปเลี้ยงทั่วร่างกายได้ ความดันเลยสูงขึ้น

กินจุกจิกทำให้ไขมันสะสมเพิ่มขึ้น การอักเสบเพิ่มขึ้น หลอดเลือดตีบลง สุดท้ายก็ความดันสูง

กินจุกจิก | อ้วน เบาหวาน ความดันสูง
พฤติกรรมการกินที่ทำลายสุขภาพ

กินจุกจิก | วิธีแก้ไข

  1. กินเป็นมื้อ | ใช้เวลากินไม่เกิน 30 นาทีต่อมื้อ แล้วหยุดกินทุกอย่างจนกว่าจะเริ่มกินในมื้อถัดไป
  2. กินพอดีอิ่ม | ฝึกนิสัยการกินให้พอดีอิ่ม อย่ากินอิ่มจุกจนเป็นนิสัย กินเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ
  3. หยุดกินให้นานกว่ากิน | IF (Intermittent Fasting) ให้เหมาะสมกับตัวเอง หยุดกินให้นานกว่ากิน
  4. หลีกเลี่ยงน้ำตาล | เลือกกินคาร์โบโฮเดรตที่มีค่า Glycemic Index และค่า Glycemic Load ที่ต่ำ
  5. เพิ่มกากใยอาหาร | แต่ละมื้ออาหารให้มีไฟเบอร์จากผักเป็นหลัก ผลไม้เป็นรอง
  6. เรียงลำดับการกิน | กินผักก่อนเสมอ ขนม-ของหวาน-ผลไม้ เป็นอย่างสุดท้าย
  7. บริหารความเครียดให้เหมาะสม | เครียดมากเกินไปหิวกระหาย กินกระจาย ซดโฮกไม่มีวันอิ่ม

บุฟเฟ่ต์ | วิธีกินไม่ให้อ้วน ไม่ปวดท้อง ไม่ท้องเสีย

อาหารเสริมช่วยลดกินจุกจิก

Wellness Hub – Good Gut

Good Gut คือ อาหารเสริมใยอาหารประเภทละลายน้ำ (Water Soluble Dietary Fiber) ชนิดพาร์เชียลลี ไฮโดรไลซ์ กัวร์กัม (PHGG : Partially Hydrolyzed Guar Gum) ที่สกัดมาจากเมล็ดกัวร์ (Guar Bean) ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานกว่า 35 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติ ปราศจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสังเคราะห์ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ

ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านอาหาร ดังนี้

  • FDA | องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
  • Low – FODMAP | อาหารย่อยง่าย ไม่ท้องอืด ไม่ท้องผูก ไม่ท้องเฟ้อ ไม่ท้องเสีย ไม่ปวดท้อง
  • GMO Free | ไม่มีพืชดัดแปลงพันธุกรรม
  • Allergen Free | ไม่ทำให้เกิดการแพ้
  • VEGAN | มาตรฐานอาหารเจ – มังสวิรัติ – วีแกน
  • HALAL | มาตรฐานอาหารอิสลาม
  • KOSHER | มาตรฐานอาหารยิว

มีงานวิจัยเฉพาะของ PHGG (Partially Hydrolyzed Guar Gum) ทั้งในหลอดทดลอง ในสิ่งมีชีวิต และในมนุษย์ ว่ามีคุณประโยชน์ต่างๆ ดังนี้

  1. มีส่วนช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
  2. มีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรง
  3. มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วน
  4. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องผูก
  5. มีส่วนช่วยป้องกันโรคท้องเสีย
  6. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน (IBS: Irritable Bowel Sysdrome)
  7. มีส่วนช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD: Inflammatory Bowel Disease)
  8. มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
  9. มีส่วนช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
  10. มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ
  11. มีส่วนช่วยเพิ่มกรดไขมันสายสั้น (SCFAs: Short-Chain Fatty Acids) ในลำไส้
  12. มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด
  13. มีส่วนช่วยลดค่าดัชนีน้ำตาล (GI: Glycemic Index)
  14. มีส่วนช่วยลดความโหยหลังจากมื้ออาหาร
  15. มีส่วนช่วยลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย
  16. มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C: Hemoglobin A1C)

ละลายน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ดื่มวันละ 1 ซอง

Similar Posts