กระดูกหัก | ควรกินอะไร ห้ามกินอะไร รักษากี่เดือน

กระดูกหัก | อาการที่ทำให้รู้ว่ากระดูกหัก – สาเหตุของกระดูกหัก – วิธีการรักษากระดูกหักและการดูแลตัวเองยังไงให้หายเร็วๆ – การป้องกันและลดความเสี่ยงกระดูกหัก

กระดูก (Bone) คือ แกนหลักของร่างกาย ทำหน้าที่เป็นเสาหลักให้ร่างกายตั้งขึ้นมาเป็นโครงได้ เปรียบเหมือนกับเสาหลักของบ้าน ถ้าไม่มีก็ขึ้นโครงบ้านทั้งหลังไม่ได้ นอกจากนี้กระดูกยังทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดและสะสมแร่ธาตุอีกด้วย

นายแพทย์ปาลพัทธ อนันต์พิพัฒน์กิจ | ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ จะมาไขข้อสงสัยในทุกๆ มิติของภาวะกระดูกหักที่คนส่วนใหญ่อยากรู้และควรที่จะต้องรู้

ทุกเรื่องเกี่ยวกับ แคลเซียม (Calcium) ที่คนทั่วไปควรรู้

กระดูกหัก | ควรกินอะไร ห้ามกินอะไร รักษากี่เดือน
นพ. ปาลพัทธ อนันต์พิพัฒน์กิจ | ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์

กระดูกหัก | อาการ

เมื่อเกิดการหักขึ้นในกระดูกไม่ว่าจะส่วนไหนในร่างกาย มักจะมีอาการแสดงออกมาให้เห็น ดังนี้

  1. อาการปวด โดยความปวดนั้นจะสัมพันธ์กับการขยับอวัยวะนั้นๆ ทำให้คนไข้พยายามจะไม่ขยับร่างกายบริเวณที่กระดูกหัก เพื่อป้องกันไม่ให้ปวดมากขึ้น
  2. อาการบวม เมื่อเกิดภาวะกระดูกหักจะมีเลือดออกมามากขึ้น ทำให้เกิดอาการบวมขึ้นมา
  3. อาการผิดรูป ถ้ากระดูกหักแล้วเคลื่อนที่จากเดิมไปมากๆ สามารถเห็นการผิดรูปได้ด้วยตาเปล่า

แต่สุดท้ายแล้วจะยืนยันภาวะกระดูกหักจากการฉายภาพรังสีเอกซเรย์

แคลเซียม ยี่ห้อไหนดี | วิธีเลือกซื้อและวิธีกิน

กระดูกหัก | สาเหตุ

สาเหตุของภาวะกระดูกหักมีหลากหลายมาก แต่ถ้าจะแบ่งเป็นกลุ่มง่ายๆ ตามความแข็งแรงของกระดูกกับแรงที่มากระทำ สามารถแบ่งออกได้ 2 สาเหตุ คือ

  1. ความแข็งแรงของกระดูกเท่าเดิม กระดูกของคนไข้มีความแข็งแรงปกติเหมือนเดิม แต่มีแรงที่ไปกระทำมากเกินความแข็งแรงของกระดูกจะรับไหว เช่น อุบัติเหตุจราจร พลัดตกจากที่สูง
  2. ความแข็งแรงของกระดูกลดลง คนไข้มีโรคบางอย่างหรือมีพฤติกรรมที่ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกมันลดลง แต่โดนแรงกระทำเพียงเล็กน้อยก็เกิดการหัก เช่น โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกบาง โรคกระดูกเสื่อม

โรคกระดูกพรุน | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน

กระดูกหัก | ควรกินอะไร ห้ามกินอะไร รักษากี่เดือน
กระดูกหัก | อาการ – สาเหตุ – รักษา – ป้องกัน

กระดูกหัก | รักษา

การรักษาภาวะกระดูกหักเป็นหน้าที่ของหมอเฉพาะทางในการวางแผนการรักษา โดยจะพิจารณาจากสาเหตุของกระดูกหัก ความรุนแรง การบาดเจ็บ อวัยวะข้างเคียง รวมถึงเงื่อนไขเฉพาะตัวของคนไข้แต่ละราย โดยการรักษาจะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ

  1. การรักษาแบบผ่าตัด
  2. การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

แต่สุดท้ายต้องอาศัยร่างกายของคนไข้เอง ในการสมานกระดูกที่หักให้กลับมาเชื่อมติดกันเหมือนเดิม ไม่ว่าจะรักษาแบบไหนจะสังเกตได้ว่าจะไปจบที่ร่างกายของคนไข้เอง เพราะฉะนั้นการดูแลตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยสามารถแบ่งออกมาให้เห็นภาพง่ายๆ คือ

สิ่งที่จะทำให้หายเร็วขึ้น

  1. โปรตีน เป็นสารอาหารที่ใช้ในการสร้างเสริมส่วนที่สึกหรอ รวมถึงสร้างคอลลาเจนในกระดูก
  2. แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของกระดูก
  3. วิตามินดี เป็นวิตามินที่ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมเพื่อเสริมสร้างการสร้างกระดูก

สิ่งที่จะทำให้หายช้าลง

  1. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เหล้า-เบียร์-ไวน์ ทำให้การสมานของกระดูกช้าลง
  2. เครื่องดื่มที่ทำให้ร่างกายเป็นกรด น้ำอัดลม ชา กาแฟ ทำให้การสมานของกระดูกช้าลง
  3. อาหารรสเค็มเกินไป ทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ไม่ดีหรือเพิ่มการขับแคลเซียมออกจากร่างกาย
  4. บุหรี่ การสูบบุหรี่มีผลมากต่อการติดของกระดูกที่หัก หรือบางครั้งอาจจะทำให้กระดูกไม่ติดกันเลย
  5. โรคประจำตัว ถ้าคนไข้มีโรคประจำตัวควรรักษาโรคประจำตัวให้เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการสมานของกระดูก

โดยที่ระยะเวลาที่กระดูกจะสมานตัวกลับมาใช้งานได้เป็นปกติ ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่หักและความรุนแรงของการหัก แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 3-6 เดือน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะเป็นหน้าที่ของหมอเฉพาะทางตรวจดูอาการ ซักประวัติ และสุดท้ายยืนยันด้วยการฉายรังสีเอกซเรย์เพื่อยืนยันว่ากระดูกได้สมานกันจนกลับมาเป็นปกติแล้ว

หน้าที่ของหมอไม่ได้ทำให้กระดูกสมานเชื่อมติดกัน หมอช่วยทำให้กระดูกกลับมาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม นอกนั้นแล้วจะเป็นหน้าที่ของคนไข้เองที่จะต้องดูแลตัวเอง ปฎิบัติตัวตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อทำให้ร่างกายสร้างกระดูกใหม่ขึ้นมาสมานเชื่อมติดกันในส่วนที่หัก

แคลเซียม กินตอนไหน? กินวันละเท่าไหร่?

กระดูกหัก | ป้องกัน

การลดความเสี่ยงและการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะกระดูกหัก สามารถทำได้โดยไปเริ่มต้นที่สาเหตุของการเกิดกระดูกหัก โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 แนวทางหลัก คือ

  1. ความแข็งแรงของกระดูกเท่าเดิม พยายามระมัดระวังกิจกรรมทางกาย การกีฬา การออกกำลังกาย รวมถึงอุบัติเหตุจราจร
  2. ความแข็งแรงของกระดูกลดลง พยายามดูแลตัวเองให้กระดูกแข็งแรงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะกระดูกเสื่อม กระดูกบาง กระดูกพรุน ดังนี้
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างให้กระดูกและกล้ามเนื้อมีความแข็งแรงตลอดเวลา
    • รับประทานอาหารให้ได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ ตามที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน โดยเฉพาะแร่ธาตุแคลเซียม
    • พยายามรักษาโรคประจำตัวให้หายขาด ดีที่สุดคืออย่าให้ร่างกายต้องมีโรคประจำตัวอะไรเลย แต่ถ้ามีแล้วก็พยายามดูแลให้มีความรุนแรงน้อยที่สุด
    • ลดความเสี่ยงจากชีวิตประจำวันอื่นๆ เช่น ไม่ให้พื้นห้องน้ำลื่น เก็บกวาดของในบ้านให้เป็นระเบียบไม่เกะกะทางเดิน รองเท้าที่มีความกระชับปลอดภัย พื้นไม่แข็งเกินไปและไม่ลื่นเกินไป มีความเกาะติดได้พอดี

HMB คืออะไร? มีประโยชน์อะไร?

BeCal – บีแคล

อาหารเสริมแคลเซียมอย่างดี

BeCal คือ อาหารเสริมแคลเซียมที่ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ

แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต (Calcium L-Threonate) คือ รูปแบบของแคลเซียมที่สกัดมาจากข้าวโพด ทำให้สามารถดูดซึมได้ดีกว่าแคลเซียมแบบทั่วๆ ไป มากถึง 9 เท่า นอกจากนั้นแล้วยังมีส่วนผสมอื่นๆ ที่ช่วยทำให้แคลเซียมเข้าไปที่กระดูกและฟัน ดังนี้

  • แมกนีเซียม (Magnesium) | ช่วยพาแคลเซียมเข้ากระดูกและฟัน ช่วยทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย-ลดตะคริว
  • วิตามินดีสาม (Vitamin D-3) | ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในกระเพาะอาหาร ช่วยลดความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุ
  • วิตามินเคสอง (Vitamin K-2) | ช่วยพาแคลเซียมที่เกาะหลอดเลือดเข้าสู่กระดูก ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน
  • วิตามินซี (Vitamin C) | ช่วยเพิ่มการสร้างคอลลาเจน ช่วยยับยั้งการสลายของกระดูก
  • แมงกานีส (Manganese) | ช่วยทำให้กระดูกพัฒนาและแข็งแรง
  • วิตามินบี (Vitamin B) | ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง ลดความเสี่ยงในการเกิดกระดูกพรุน
  • โบรอน (Boron) | ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน

สามารถทานเวลาไหนก็ได้ เพราะไม่อึดท้อง ไม่ท้องผูก ไม่จำเป็นต้องใช้กรดในกระเพาะอาหาร

Youtube : กระดูก หัก | ควรกินอะไร-ห้ามกินอะไร-รักษากี่เดือน

Similar Posts