เมลาโทนิน – Melatonin คือ ฮอร์โมนที่บอกเวลาไม่ใช่ยานอนหลับ

เมลาโทนิน หรือ Melatonin คือ อะไรกันแน่? หลายคนเวลาเจอปัญหาการนอน ไม่ว่าจะเป็น…

  • นอนไม่หลับ อยากจะนอนแทบตายแต่นอนไม่หลับ
  • นอนหลับไม่สนิท หลับๆ ตื่นๆ
  • กว่าจะทำให้นอนหลับก็ยากแล้ว ดันสะดุ้งตื่นง่ายอีก

อาหารเสริมช่วยนอนหลับ | มาจากธรรมชาติสามารถกินได้ทุกวัน

เมลาโทนิน Melatonin คือ ฮอร์โมนที่บอกเวลาไม่ใช่ยานอนหลับ
เมลาโทนิน Melatonin คือ ฮอร์โมนที่บอกเวลาไม่ใช่ยานอนหลับ

พอมีปัญหาเรื่องการนอนในตอนกลางคืนเลยพาลทำให้เวลากลางวันที่ร่างกายต้องตื่นตัวเพื่อพร้อมใช้ชีวิตประจำวัน กลับง่วงหาว อยากนอน อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่มีพลัง สุดท้ายเอาปัญหานี้ไปกูเกิลก็พบแต่โฆษณาอาหารเสริมเมลาโทนินเต็มฟีดไปหมด เลยพาลทำให้คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเมลาโทนิน คือ ยานอนหลับ !!!

เมลาโทนิน ยี่ห้อไหนดี | วิธีเลือกซื้อและวิธีกิน

เมลาโทนิน คือ ฮอร์โมนไม่ใช่ยานอนหลับ

เมลาโทนิน คือ ฮอร์โมนประเภทกระอะมิโน (Amino Acid Delivatives) ทำให้มีคุณสมบัติที่สามารถละลายน้ำได้ ถูกผลิตมาจากต่อมไพเนียล (Pineal Gland) ที่อยู่ในสมอง เมื่อหลั่งออกมาจากสมองแล้ว จะมีผลต่อร่างกาย ดังนี้

  1. กระตุ้นให้รู้สึกอยากนอน
  2. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อและระบบประสาท
  3. เป็นตัวบอกเวลากลางวันและกลางคืน (Circadian Rhythm)
  4. เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สมอง
  5. ยับยั้งการบีบตัวของลำไส้
  6. กระตุ้นให้โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) หลั่ง
  7. กระตุ้นให้ไทรอยด์ฮอร์โมน (Thyroid Hormone) หลั่ง
  8. ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

นอนไม่หลับ | เช็ค 5 ข้อนี้ก่อนกินยานอนหลับ

เมลาโทนิน คือ ฮอร์โมนบอกเวลา

เนื่องจากเมลาโทนินเป็นตัวบอกเวลากลางวัน-กลางคืนให้กับร่างกาย ทำให้เวลากลางวันตอนที่มีแสงแดด มีพลังงานจากดวงอาทิตย์ จะไม่มีการหลั่งออกมา ในขณะที่เวลากลางคืนตอนที่ไม่มีแสงแดด ไม่มีพลังงานความร้อน จะมีการหลั่งออกมา สุดท้ายเลยเป็นวัฏจักรที่คอยบอกเวลาให้กับร่างกายว่าตอนไหนคือเวลากลางวัน ตอนไหนคือเวลากลางคืน

วิธีนอนหลับ 5 ข้อ ทำให้นอนหลับลึกและยาวตลอดคืน

เมลาโทนิน คือ ฮอร์โมนที่หลั่งมากตอนเด็ก

ในตอนเด็กจะหลั่งเมลาโทนินเยอะที่สุด แล้วค่อยๆ ลดลงตามอายุที่มากขึ้น (จะสังเกตว่าเด็กๆ จะนอนเยอะ นอนได้แทบทั้งวัน)

การค่อยๆ ลดลงตามอายุที่มากขึ้นเป็นเรื่องปกติ แต่การลดลงเร็วเกินไป ลดเร็วกว่าอายุที่มากขึ้นมากๆ ทำให้สุดท้ายกลายเป็นภาวะพร่องเมลาโทนินฮอร์โมน (Hormone Deficiency) คือร่างกายต้องการ 100 แต่สมองหลั่งออกมาได้ 80 ก็เลยไม่เพียงพอกับที่ต้องการเพราะขาดไป 20 สาเหตุเกิดจากพฤติกรรมการกินอาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์ และสภาพแวดล้อม ซึ่งสุดท้ายแล้วภาวะพร่องเมลาโทนินจะแสดงออกมาให้เจ้าของร่างกายได้เห็น-ได้รู้สึกกัน

Anti Aging | ภาษาคนธรรมดาที่ไม่ใช่หมอ

ฮอร์โมนลดลงตามวัย

เมื่อเมลาโทนินฮอร์โมนพร่อง คือ หลั่งออกมาน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ อาการทางร่างกายที่จะแสดงออก คือ

  1. คุณภาพการนอนไม่ดี นอนหลับไม่ลึก ตื่นกลางคืน หลับๆ ตื่นๆ
  2. ปวดเมื่อยตัว ตึง-ล้า กล้ามเนื้อ
  3. ความดันโลหิตสูง
  4. ดูแก่กว่าวัย
  5. ชีวิตรวน กลางวันนอน กลางคืนตาสว่าง

อาการทางจิตใจและความรู้สึก คือ

  1. กังวลใจง่าย
  2. หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่ค่อยดี
  3. ไม่มีความสงบเยือกเย็น
  4. แสดงออกทางอารมณ์มากกว่าปกติ

ซึ่งเมื่อร่างกายมีภาวะพร่องเมลาโทนินฮอร์โมนต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ ทำให้มีโอกาสที่จะเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อม ดังนี้

  1. โรคความดันโลหิตสูง
  2. โรคหัวใจ
  3. โรคอ้วน
  4. โรคเบาหวาน
  5. โรคติดเชื้อ
  6. โรคอัลไซเมอร์
  7. โรคพาร์กินสัน

เวชศาสตร์ชะลอวัย | 3 เรื่องที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด

เมื่อฮอร์โมนไม่พอ

อ่านมาถึงตรงนี้อยากให้ผู้อ่านทุกท่านได้เข้าใจว่าเมลาโทนินคืออะไร? หน้าที่และความสำคัญคืออะไร? ผลลัพธ์ที่แสดงออกมาทางร่างกายและความรู้สึกเป็นยังไง เมื่อเมลาโทนินมีระดับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น แต่ไม่ได้สนับสนุนให้อยู่ดีๆ ไปซื้ออาหารเสริมมากิน หรือคิดว่าต้องกินอาหารเสริมเป็นหลัก สิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจคือวิธีธรรมชาติที่จะทำให้เมลาโทนินหลั่งได้เป็นปกติ การใช้อาหารเสริมเมลาโทนินไม่ใช่สิ่งที่ผิดสามารถใช้เสริมเข้าไปในส่วนที่ร่างกายขาดได้ แต่ทัศนคติที่คิดว่าจะต้องพึ่งพาอาหารเสริมอย่างเดียวแบบนี้ไม่ดีแน่

อาหารเสริม ลดความอ้วน | มีกี่แบบ? แบบไหนดี?

ก่อนที่จะไปใช้อาหารเสริม

วิธีธรรมชาติที่จะทำให้เมลาโทนินฮอร์โมนทำงานได้สมบูรณ์สูงสุด

ช่วงเวลากลางวัน

  1. ได้รับแสงแดดบ้าง ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์บ้าง เพื่อให้สมองรับรู้ว่าเป็นเวลากลางวัน
  2. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่
  3. ลองสังเกตตัวเองดูว่าอ่อนไหวกับกาแฟหรือชาเขียวหรือไม่ ถ้าอ่อนไหวก็ไม่ควรกินตอนบ่ายหรือตอนเย็น
  4. หลีกเลี่ยงความเครียดที่มีมากเกินไป
  5. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ ช่วงเย็น

ช่วงเวลากลางคืน

  1. หลังพระอาทิตย์ตก ผ่อนคลายร่างกายให้เย็นลง ช้าลง เหมือนรถที่ต้องคูลดาวน์ก่อนจอด
  2. ผ่อนคลายจิตใจให้เย็นลง สงบลง เช่นเดียวกันกับร่างกาย
  3. หลีกเลี่ยงให้มีอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดในห้องนอน เพราะสามารถส่งพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาได้
  4. ห้องนอนต้องมืดสนิท ไม่มีแสงใดๆ เลย
  5. อากาศของห้องนอนเย็นสบาย อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อึดอัด
  6. ทำบรรยากาศของห้องนอนให้น่านอนตามแบบที่เราชอบ
  7. ไม่ไปใช้ชีวิตปกติในห้องนอน ทำให้ร่างกายและสมองรับรู้ว่าห้องนอนคือสำหรับนอนเท่านั้น
  8. เข้านอนก่อน 22.00

ระบบเผาผลาญพัง | อาการ-สาเหตุ-รักษา-ป้องกัน

ปรับพฤติกรรมให้ดีก่อน

ถ้าเราไปโฟกัส ไปสนใจเฉพาะแค่การใช้อาหารเสริม ไปโดนคนขายอาหารเสริมหลอกล่อ พยายามชักจูงเพื่อปิดการขายอย่างเดียว แต่ไม่ได้ดูแลปัจจัยพื้นฐานที่สนับสนุนให้เมลาโทนินฮอร์โมนหลั่งได้สมบูรณ์ตามธรรมชาติ สุดท้ายแล้วอาหารเสริมที่กินเข้าไปก็ไม่ได้แสดงผลลัพธ์ได้มีประสิทธิภาพเพราะยังไงธรรมชาติก็อยู่เหนือทุกส่ิงทุกอย่างในโลก รวมถึงมนุษย์ด้วย

ทางที่ดีที่สุดคือควรต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจว่าเมลาโทนินฮอร์โมนทำงานยังไง ปัจจัยอะไรบ้างที่สนับสนุนให้ทำงานได้ดีขึ้น ปัจจัยอะไรบ้างที่ยับยั้งให้ทำงานได้แย่ลง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตคืออะไร ไม่อย่างนั้นการกินอาหารเสริมเมลาโทนินก็เหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ เพราะสิ่งที่ได้กับสิ่งที่ลงทุนไปเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วขาดทุน ถ้าลงทุนไป 100 ได้ผลลัพธ์มา 100 ก็เสมอตัว ถ้าลงทุนไป 100 ได้ผลลัพธ์มา 1,000 ก็กำไร ถ้าลงทุนไป 100 ได้ผลลัพธ์มา 10 ก็ขาดทุน

อย่าเสียเงินเปล่าไปกับการโฟกัสการใช้อาหารเสริมเพียงอย่างเดียว

เวชศาสตร์ชะลอวัย หลอกลวง จริงหรือเปล่า?

อาหารเสริมเมลาโทนินเกรดการแพทย์

Wellness Hub – Melatonin

หนังสือที่จะทำให้คุณเข้าใจฮอร์โมนของคุณ

E-Book | ฮอร์โมนเพื่อชะลอวัย (Hormone for Anti-Aging)

ในหนังสือเล่มนี้จะพาคุณไปเรียนรู้ฮอร์โมนที่มีอยู่ในร่างกายของตัวเอง ว่าทำงานยังไง อะไรบ้างที่ทำให้ฮอร์โมนมากเกินไป อะไรบ้างที่ทำให้ฮอร์โมนน้อยเกินไป และจะทำยังไงให้ฮอร์โมนทำงานสมบูรณ์ ผ่านจากเรียนรู้ทั้งหมด 20 บท คือ

  1. ความรู้พื้นฐานของระบบฮอร์โมน (Basic Concept of Hormone)
  2. ฮอร์โมนแห่งการต้านแก่ (Growth Hormone)
  3. ฮอร์โมนแห่งการนอนหลับ (Melatonin Hormone)
  4. ฮอร์โมนแห่งการเผาผลาญพลังงานขั้นพื้นฐาน (Thyroid Hormone)
  5. ฮอร์โมนแห่งการอยู่รอด (Cortisol Hormone)
  6. แม่ของทุกฮอร์โมนประเภทไขมัน (Pregnenolone Hormone)
  7. ฮอร์โมนแห่งการควบคุมความดัน (Aldosterone Hormone)
  8. ฮอร์โมนเพศชายอย่างแรก (DHEA Hormone)
  9. ฮอร์โมนแห่งความตกใจ โมโห หดหู่ (Catecholamines Hormone)
  10. ฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโตไปข้างหน้า (Insulin Hormone)
  11. ฮอร์โมนแห่งการลดความอ้วน (Glucagon Hormone)
  12. ฮอร์โมนแห่งความสุข (Dopamine-Endorphin-Oxytocin-Serotonin Hormone)
  13. ฮอร์โมนแห่งการอักเสบ (Prostaglandins Hormone)
  14. กลุ่มฮอร์โมนแห่งความเป็นเพศชาย (Androgen Group Hormone)
  15. กลุ่มฮอร์โมนแห่งความเป็นเพศหญิง (Estrogen Group Hormone)
  16. กลุ่มฮอร์โมนแห่งความแข็งแรงของกระดูก (Parathyroid-Calcitonin Hormone)
  17. ฮอร์โมนที่เกิดจากไขมันสะสม (Fat Hormone)
  18. ฮอร์โมนทุกอย่างทำงานร่วมกัน (Hormone Symphony)
  19. อาการที่ทำให้รู้ว่าฮอร์โมนเพี้ยน (Health Effect to Hormone Dysfunction)
  20. ทำยังไงให้ฮอร์โมนทำงานสมบูรณ์ (Lifestyle for Optimal Hormone)
Youtube : เมลาโทนิน Melatonin คือ ฮอร์โมนที่บอกเวลาไม่ใช่ยานอนหลับ

Similar Posts